จบไปหมาดๆสำหรับผลการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz 2 ใบอนุญาต ซึ่งผู้ชนะการประมูลก็คือ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TRUE) และ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวอร์ค จำกัด (AIS) ซึ่งจากการพูดคุยกับบุตคลทั่วไป พบว่ายังมีข้อสงสัยกันเยอะเกี่ยวกับการประมูล 4G ในครั้งนี้ เลยมาแก้ข้อสงสัยหลักๆให้ทุกคนได้ทราบกันครับ

ผู้ชนะได้ทำ 4G ?

จริงๆแล้วครั้งนี้เป็นการประมูลคลื่น 1800 MHz 2 ใบอนุญาต ไม่ใช่การประมูลเทคโนโลยี 4G นะครับ (ถึงชื่อจะชวนเข้าใจผิดหน่อยๆก็เถอะ =_=”) เพราะฉะนั้นผู้ที่ชนะการประมูลจะนำคลื่นนี้ไปทำเทคโนโลยีอื่นนอกจาก 4G ก็ได้ เช่น 3G หรือ 5G ในอนาคต (แต่ตอนนี้คงจะเอาไปทำ 4G น่ะแหละ) ส่วนผู้ที่แพ้การประมูลก็สามารถทำ 4G ได้ เช่น DTAC ที่สามารถทำ 4G บนคลื่น 1800 MHz ที่ตนเองมีอยู่ หรือผู้ที่มีคลื่นความถี่อื่น เช่น 2100 MHz, 900 MHz ก็สามารถนำคลื่นความถี่นั้นมาทำ 4G ได้เช่นเดียวกัน

4G-band

ใช้เงินประมูลไปเยอะ ค่าบริการจะแพงขึ้นไหม ?

ข้อนี้กสทช.ได้กำหนดไว้ในเงื่อนไขของการประมูลตั้งแต่ต้นว่า อัตราค่าบริการ 4G จะต้องถูกกว่าอัตราค่าบริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2100 MHz ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน แล้วแต่ละบริษัทที่ประมูลได้เขาก็เตรียมเงินจ่ายค่าประมูลไว้แล้วครับ จึงไม่ต้องกลัวว่าเขาจะขึ้นค่าบริการ แต่!!! เราอาจจะเสียค่าบริการเพิ่มขึ้นจากตัวเราเอง เพราะถ้ามี 4G แรงๆใครก็อยากใช้ อาจจะทำให้เรายอมอัพเกรดโปรโมชั่นอีกหน่อย เพื่อใช้อินเตอร์เน็ตเร็วๆได้นานขึ้น

4G-01

ต้องลงทุนเพิ่มกันอีกเยอะ รอกันอีกนาน ?

ต้องลงทุนเพิ่มครับ แต่คงไม่เยอะเหมือนตอนทำ 3G แล้ว เพราะสามารถใช้เสาเดิมบางส่วนที่ทำ 3G อยู่แล้วทำ 4G ได้ ซึ่งก็มีผู้ประกอบการบางเจ้าที่ออกมาประกาศแล้วว่าพร้อมจะให้บริการ 4G โดยเร็ว เราไม่น่าจะต้องรอนานครับ

ทำไมใบที่ 2 แพงกว่า ?

เป็นเพราะคลื่น 1800 MHz ใบที่สองอยู่ติดกับคลื่น 1800 MHz ของ Dtac ที่จะหมดสัญญาในปี 2561 ครับ ซึ่งถ้าผู้ชนะการประมูลคลื่น 1800 MHz ใบที่สอง (AIS) ชนะการประมูลคลื่นเดิมของ Dtac ในปี 2561 อีก จะได้คลื่น 1800 MHz สองใบที่อยู่ติดกัน ทำให้ขยายสัญญาณได้ง่ายกว่า