หลังจากที่สำนักงานสำรวจอวกาศประเทศญี่ปุ่นปล่อยยาน Hayabusa 2 ขึ้นสำรวจดาวเคราะห์น้อย 1999 JU3 หรือ 162173 Ryugu สำเร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นก็ได้เก็บตัวอย่างฝุ่นควันและดินจากพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยมาเป็นที่เรียบร้อย และในคราวนี้ก็ถึงเวลาเก็บตัวอย่างในขั้นถัดไป

Hayabusa 2 ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Small Carry-on Impactor (SCI) มันคือ ภาชนะที่ทำจากทองแดง ภายในบรรจุพลาสติกระเบิดที่มีน้ำหนักรวม 14 กิโลกรัม ทิ้งใส่ดาวเคราะห์ Ryugu ใช่แล้วละ! ทีมจากญี่ปุ่นต้องการระเบิดดวงดาวให้เกิดเป็นหลุมเพื่อเก็บตัวอย่างดินชั้นลึกมาศึกษา

BBC รายงานว่า Hayabusa 2 จะถูกนำขึ้นจากพื้นผิวดวงดาวประมาณ 500 เมตร ก่อนจะทิ้ง SCI สู่ผิวดาวด้วยความเร็ว 2 กิโลเมตร/วินาที (4,474 ไมล์/ชั่วโมง) นักวิทยาศาสตร์คาดว่าผลกระทบจากการระเบิดครั้งนี้จะสามารถสร้างหลุมที่มีขนาดกว้างถึง 10 เมตร ได้อย่างง่ายดาย

หลังจากนั้นยานจะบินไปให้ห่างจากระยะระเบิดประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจได้รับจากเศษการระเบิด หน่วยงานอวกาศ Jaxa ของญี่ปุ่นจะตรวจเช็คการทำงานทุกอย่างของ Hayabusa 2 ผ่านกล้องที่ติดอยู่กับตัวยาน ก่อนจะลงไปเก็บตัวอย่างดิน และ หินกลับมาศึกษาอีกครั้ง

นักวิทยาศาสตร์กล่าวเสริมอีกว่า การเก็บดินที่อยู่ลึกลงไปจากพื้นผิวดาวจะสามารถทำให้เราศึกษาสภาพที่แท้จริงของดาวดาวได้ เพราะชั้นดิน ชั้นหินภายในจะไม่ถูกสภาพแวดล้อมภายนอกกระทบ การศึกษาในครั้งนี้อาจทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจถึงสถาพเพิ่มเติมในการเกิดระบบสุริยะและจักรวาลมากยิ่งขึ้น

Play video

อ้างอิง