Clean Air Asia (CAA) เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ทำหน้าที่จัดการและช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ในเอเซีย ให้มีสภาวะอากาศที่ดีและสุขภาพอนามัยของประชาชนที่ดีขึ้น องค์กรนี้มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ในขณะที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวเรื่องสภาพอากาศที่เลวร้ายลง โดยเฉพาะปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่หลาย ๆ ประเทศกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ และพยายามแก้ไขปัญหากันอย่างขมักเขม้น CAA ที่คอยช่วยสนับสนุนก็มีรายงานออกมาว่า เมื่อปี 2022 ที่ผ่านมานั้น ประเทศจีน สามารถลดความหนาแน่นของปริมาณฝุ่น PM 2.5 และ ซัลเฟอร์ไดออกไซค์ได้สำเร็จอย่างน่าพอใจ สามารถลงลงมาได้จาก 56% ในปี 2013 ลงมาเป็น 78% ในปี 2021 ด้วยดรรชนีนี้จึงทำให้ จีน เป็นประเทศที่ยกระดับคุณภาพอากาศได้เร็วที่สุดในโลก

การประกาศผลนี้ เป็นส่วนหนึ่งในรายงานที่ CAA จัดทำขึ้นโดยการประเมินคุณภาพอากาศใน 20 ประเทศ ซึ่งรวมไปถึง รวมถึงสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเยอรมนี และอีก 17 ประเทศในเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มองโกเลีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย และปากีสถาน ตามรายงานดังกล่าว CAA พอกล่าวสรุปได้ว่า ในทศวรรษที่ผ่านมานั้น คุณภาพอากาศในเมืองใหญ่ทั่วโลกล้วนดีขึ้น โดยเฉพาะในเอเซียตะวันออก นับตั้งแต่ปี 2018 มาจนถึง 2021 มี 8 เมืองใหญ่ที่ความหนาแน่นของฝุ่น PM 2.5 ลดลงเกิน 10% ซึ่งในจำนวนนี้มี 6 เมืองอยู่ในประเทศจีน

ประเทศจีนเริ่มให้ความสำคัญกับคุณภาพอากาศมาตั้งแต่ปี 2012 ด้วยการออกระเบียบจัดการ “มาตรฐานคุณภาพอากาศ” (Ambient Air Quality Standard) เพื่อมุ่งป้องกันและควบคุมมลพิษในอากาศ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ จีนกลายเป็นประเทศที่มีการปรับปรุงคุณภาพอากาศเร็วที่สุดในโลก และมีมาตรฐานการควบคุมการปล่อยมลพิษ ที่เข้มงวดและรัดกุมจนอยู่ในระดับสูงของโลกแล้ว กระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมของจีน แถลงเมื่อเดือนพฤษภาคม 2022 ว่า ในปี 2021 มี 218 เขตปกครองระดับจังหวัด จากทั้งหมด 339 เขต มีคุณภาพอากาศที่สูงกว่าระดับมาตรฐาน ซึ่งเพิ่มขึ้น 3.5% นับจากปี 2020 โดยดรรชนีดังกล่าวนี้อิงจากมาตรฐานคุณภาพอากาศทั่วโลกขององค์กรอนามัยโลก (WHO) และจีนจะยกระดับมาตรการลดความหนาแน่นของ PM 2.5 ต่อไป เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของประชาชน

นอกเหนือไปจากนั้น CAA ยังเก็บข้อมูลการปล่อยมลพิษทางอากาศ การสร้างภาวะก๊าซเรือนกระจกของจีน การใช้พลังงาน และตัวชี้วัดอุตสาหกรรมการขนส่่งของจีน นำมาเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ อีกด้วย พบว่าการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)และ ไนโตรเจน ออกไซด์ (NOx) ของจีนต่อปริมาณ GDP ลดลงประมาณ 88% ในปี 2011 และ 70% ในปี 2019 ซึ่งเป็นการลดลงที่ชัดเจนที่สุด ใน สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร และ สิงคโปร์ ที่นับว่าเป็นประเทศที่มีการปล่อย SO2 และ NOx สูงเมื่อเทียบกับปริมาณ GDP ก็ลดลงมากกว่า 40%

ในด้านการขนส่ง จีนเป็นตลาดรถยนต์นั่งไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่ปี 2015 โดยคิดเป็นครึ่งหนึ่งของตลาดโลก จากปี 2011 ถึง 2021 อัตราการเติบโตต่อปีของภาครถยนต์นั่งไฟฟ้าของจีนสูงถึง 91.3% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก แต่ความเข้มข้นในการปล่อยคาร์บอนของจีนกลับลดลงได้สูงถึง 34.4% ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญกล่าวชื่นชมว่า การที่จีนบรรลุเป้าหมายในการลด Carbon Peak* และ carbon neutrality* ได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เช่นนี้ นั่นหมายถึงทางหน่วยงานต่าง ๆ ของจีนต่างต้องทำงานกันอย่างหนักมาก จีนตั้งเป้าไว้ว่าจะบรรลุเป้าหมาย Carbon Peak ให้ได้ภายในปี 2030 และบรรลุเป้าหมาย carbon neutrality ให้ได้ภายในปี 2060

*Carbon Peak หมาย ถึงช่วงเวลาที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึงค่าสูงสุดแล้วค่อย ๆ ลดลง

*carbon neutrality หมายถึง การชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกที่สร้างขึ้นด้วยตัวเองผ่านการตัดไม้ทําลายป่าการประหยัดพลังงานและการลดการปล่อยมลพิษ ฯลฯ เพื่อให้ได้การชดเชยในเชิงบวกและเชิงลบและบรรลุการปล่อยมลพิษที่ค่อนข้างเป็นศูนย์

ที่มา : globaltimes.cn th.rena-ceramtec