หนุ่ย พงศ์สุข พูดคุยเปิดประสบการณ์ผู้ป่วยโควิด – 19 ที่หายแล้วทั้ง 2 ท่านคือ คุณ ธเรศ คีรี (เจ้าของร้านหนังสือดวงกมลสมัย หรือ DK TODAY) และคุณ วุฒิศักดิ์ ม่วงไหมทอง (พนักงานต้อนรับสนามมวยลุมพินีและราชดำเนิน) แบบเจาะลึกความเป็นมาตั้งแต่ต้น

สัมภาษณ์ คุณ ธเรศ คีรี

ทำไมถึงกลายเป็นผู้ติดเชื้อ COVID-19?

คุณธเรศปกติก็เดินทางบ่อย ซึ่งบังเอิญในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ต้องเดินทางไปในหลายที่ ซึ่งได้ไปหลายที่ทั้งพม่า และวิ่งฮาล์ฟมาราธอนที่ลาว และช่วง 9 มีนาคมจำเป็นต้องไปที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งจริง ๆ พอไปถึงก็ไม่ได้เข้มงวดอะไร ซึ่งระหว่างการเดินทางตัวเขาก็มีการป้องกันตัวตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นบนรถไฟก็ใส่หน้ากาก และไปที่ร้านเพื่อนซึ่งเป็นร้านที่มีคนเยอะมาก ก็พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับมือคนอื่น

โดยระหว่างอยู่ที่ลอนดอนพยายามไม่ไปไหน และเดินทางไปที่ Oxford ซึ่งมีเหตการณ์ที่เกิดขึ้น บังเอิญไปเจอกลุ่มคนวิ่งกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นคนเอเชีย เผลอเข้าไปพูดคุย ไม่ได้ใกล้ชิดมากนัก และหลังจากนั้นบังเอิญไปนั่งทานข้าวกับเพื่อนฝรั่ง ซึ่งเขาก็ได้เผลอทานเหล้า หลังจากทานเหล้าก็เผลอขาดสติ ยกมือ จับมือ พูดคุยกันกับคนที่พบกับคนที่พบปะกันในอังกฤษ และเผลอเอามือมาจับหน้า ซึ่งหลังจากนั้นก็เกิดอาการป่วยโรค COVID-19 ขึ้นมา ซึ่งอาการเกิดขึ้นหลังจากที่ได้เดินทางกลับมาถึงบ้าน 4 วัน ซึ่งระหว่างนั้นตัวเขาก็ได้กักตัวเองแยกออกมาจากครอบครัว

อาการเริ่มต้นเป็นอย่างไร?

ซึ่งอาการเกิดขึ้นในวันที่ 4 ซึ่งมีอาการเจ็บคอ ไอ และเป็นไข้ ซึ่งตอนแรกคิดว่าเป็นหวัดก็กินฟ้าทลายโจร แต่ไม่หาย ทางบ้านจึงแนะนำให้ไปตรวจ COVID-19 และปรากฎว่าเป็น Positive ซึ่งพอเป็นแล้วก็พยายามไม่ได้ประกาศให้คนอื่น ๆ ไกลตัวทราบ เพราะรู้ว่าทุก ๆ คนอยู่ในอาการตื่นตระหนก ถ้าเราบอกไปว่าเป็น COVID-19 ผ่านช่องทางโซเชียลก็จะทำให้คนรู้จักตื่นตระหนก

วิธีดูแลตัวเอง

วิธีการดูแลตัวเองคือเราพยายามที่จะต้องมองในแง่บวก และอย่าตื่นตระหนกถ้าเกิดติดขึ้นมา เพราะทุก ๆ คนที่ติดไม่มีใครทำผิดพลาด ทุกคนไม่อยากติดกันทั้งนั้น

วิธีรักษาจากโรงพยาบาล

สำหรับวิธีการรักษาของโรงพยาบาลคือ ตั้งแต่ที่รถโรงพยาบาลมารับ ก็จะมาพร้อมกับเบาะที่ไม่แกะพลาสติกออก และไม่เปิดแอร์ เพื่อป้องกันไวรัสกักตัวอยู่ภายในรถ โดยเดินทางไปที่สถาบันการแพทย์ที่บางพลี พอถึงแล้วเขาก็จะมีการวัดไข้และตรวจสุขภาพก่อน ซึ่งค่าทุกอย่างจะอยู่ค่อนข้างปกติในช่วงแรก ๆ และระหว่างการปฎิบัติงานของโรงพยาบาลก็จะมีการ Keep Distance ตลอดเวลา โดยพยาบาลจะใส่ชุด PPE เข้ามา และส่งปรอทวัดไข้มาให้ รวมไปถึงการวัดความดันก็จะพยายามเลี่ยงให้มีคนสัมผัสติดต่อกันมากที่สุด เช็ดทำความสะอาดตลอดเวลา

ซึ่งการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ จะเน้นการคุยผ่าน VIDEO Call เพียงอย่างเดียว

โดยระหว่างที่อยู่โรงพยาบาลจะมีอาการคือ มีไข้อยู่ 3-4 วันแล้วจะหายไป ซึ่งอาการจะกลับมาช่วงวันที่ 6 – 7 จะเริ่มรุนแรงมากขึ้น ไข้ขึ้นถึง 38 องศา ซึ่งหมอจะเข้ามาเจาะเลือดและเอ็กซเรย์ปอด เพื่อตรวจอาการ และให้ยาต้านไวรัสถึง 4 ขนาน ซึ่งมีอาการคือ ตาพร่า ถ่ายเหลว และมียาแก้อาเจียนกินไว้ป้องกันก่อน รวมไปถึงต้องกินยานอนหลับ ไม่งั้นจะหลับไม่ลง และต้องใส่ท่อออกซิเจน เพราะค่าปอดลดจาก 97 มาอยู่ที่ 95 ถือว่าเริ่มเสี่ยง โดยเขาต้องอยู่โรงพยาบาลนานกว่า 15 วัน ถึงจะได้ออกจากโรงพยาบาลได้

ซึ่งเขาก็ได้พูดคุยกับผู้ติดเชื้อด้วยกัน มีหลายคนที่มีอาการที่หนักกว่า คือต้องใช้ออกซิเจนถังตลอดเวลา มีอาการหอบเมื่อขยับตัวไปมา ซึ่งถือว่าเป็นเคสค่อนข้างหนัก

โดยการตรวจครั้งสุดท้ายของผลเอ็กซเรย์ปอดรวมทั้ง 6 ครั้งคือ มีอาการปอดเริ่มแฟ่บ และมีอาการปอดบวม ซึ่งหลังจากหาย COVID-19 แล้ว ปอดก็เริ่มรักษาตัวเองขึ้นมา แต่ก็มีแผลอยู่เล็กน้อย โดยหมอแนะนำให้บริหารปอด และทำการวิ่งเพื่อช่วยให้การบริหารปอดดียิ่งขึ้น

คิดว่าทำไม COVID-19 ถึงเกิดขึ้นมา?

คุณ ธเรศคิดว่า COVID-19 เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์รุกรานธรรมชาติมากเกินไป จนเกิดเหตการณ์ที่พันธุกรรมเปลี่ยนแปลงไป จนกลายเป็นไวรัสพิเศษนี้ ต้องขอขอบคุณบุคลากรที่ทำงานหนักทั่วประเทศตอนนี้ ซึ่งประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่บริหารจัดการได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงการ lock down ทั่วประเทศนั้นถือว่าเป็นการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ เพราะผู้ป่วย COVID-19 นี้มีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่ประเทศไทยเราก็สามารถรับรักษาทุกคน ไม่เหมือนกับต่างประเทศที่ปัจจุบันเริ่มมีการปล่อยให้ทุกคนอยู่บ้าน ดูแลตัวเอง จนทำให้เกิดเหตการณ์เสียชีวิตเป็นจำนวนมากแล้ว แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยเรายังไม่ทิ้งกัน และช่วยรักษาทุก ๆ คนจนหายดี

สัมภาษณ์คุณ วุฒิศักดิ์ ม่วงไหมทอง

คุณวุฒิศักดิ์หรือคุณโต้งเป็นผู้ที่ทำงานเป็นผู้ดูแลชาวต่างชาติในสนามมวย และพาไปถ่ายรูปกับนักมวย อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับนักท่องเที่ยว โดยเขาได้อธิบายลักษณะของสนามมวยว่า เปรียบเสมือนสนามกีฬาใหญ่ ๆ มีเก้าอี้นั่งรอบ ๆ และมีหลาย ๆ ชั้น บนอัฒจันทร์ ซึ่งแต่ละชั้นจะมีกลุ่มนักเชียร์ที่นั่งใกล้ ๆ กัน ซึ่งพวกเขาจะค่อนข้างสนิทกัน มีการแชร์อาหาร ขนม เครื่องดื่มเป็นประจำ ทำให้เกิดการแพร่เชื้อง่ายดายอย่างมาก และยิ่งมีผู้เข้ามารับชมมาก ทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดที่สูง จนทำให้เกิดเหตการณ์ที่ติดกันแบบ Super Spreader ภายในสนามมวยนั่นเอง

และเขาเชื่อว่า COVID-19 ที่เกิดภายในสนามมวยนั้น มีพาหะคือนักท่องเที่ยวมากกว่าคนไทย เพราะมีคนแพร่หลายคน ในหลายชั้น ซึ่งเขาเองก็คาดว่าติดมาจากคนต่างชาติ เพราะโดยปกติตัวเขาแทบไม่เคยไปพูดคุยกับคนไทยภายในสนามมวยแต่อย่างใด

อาการหลังจากที่ติด COVID-19 เป็นอย่างไร?

ที่เกิดคือ เมื่อยเนื้อเมี่อยตัว ไข้ขึ้น กลับบ้านมานอน กินยา และลางานในวันรุ่งขึ้น ซึ่งหลังจากทานยาก็มีอาการลดลง ซึ่งเขาได้รู้ว่าตัวเองเป็น COVID-19 เกิดจากจากการไปตรวจที่โรงพยาบาลสิริราช เพราะเริ่มรู้สึกว่าตัวเองน่าจะเป็น

หลังจากตรวจเสร็จสิ้นก็ต้องรอผลตรวจกว่า 8 ชั่วโมง ซึ่งหลังจากรู้ว่าเป็น เจ้าหน้าที่จะมาพร้อมชุด PPE เต็มยศ และพาไปเข้าห้องพอได้รับผลตรวจจึงได้รู้ว่าเป็น COVID-19

รู้แล้วทำอย่างไร?

ตัวเขาพอรู้ว่าเป็นปุ๊ป ก็โพสต์ Facebook ทันทีเพื่อเตือนเพื่อน ๆ ว่าตัวเองเป็น COVID-19 ให้ระวังตัวและป้องกันตัวเอง โดยเฉพาะคนที่เคยมาพูดคุยสัมผัสใกล้ ๆ ก็แนะนำให้กักตัวเพื่อดูอาการ

รับการรักษาอย่างไรบ้าง?

โดยทั่วไปจะเป็นการรักษา โดยใช้ยาต้านไวรัสตามอาการที่เกิดขึ้น และจะเน้นการติดต่อระหว่างแพทย์ผ่าน Line ซึ่งเขาต้องอยู่ดูอาการถึง 28 วัน และเขาก็เป็นผู้ติดก่อน 100 คนแรก และได้รับการรักษาตั้งแต่ช่วงก่อน 100 คนแรกของประเทศไทย

โดยเขาได้รับยาต้านไวรัส ซึ่งมีผลข้างเคียงหลายอย่าง เพราะปัจจุบันยังไม่มียาต้าน COVID-19 แต่อย่างใด ซึ่งอาการที่เกิดคือ ท้องเสียตลอดเวลา เวียนหัว มึนหัวตลอดเวลา ซึ่งเป็นอาการไม่ได้เกี่ยวข้องกับ COVID-19 โดยทางโรงพยาบาลให้อยู่ดูอาการ 14 วันที่โรงพยาบาล และกลับไปดูแลตัวเองอีก 14 วัน ซึ่งแพทย์ได้ให้ข้อมูลว่าเชื้อส่วนใหญ่จะตายภายใน 14 วันถึง 98% และแนะนำให้กักตัวเองก่อนเพื่อป้องกันทั้งตัวเองและครอบครัวอีก 2 สัปดาห์

วิธีดูแลตัวเอง

เราควรทำความเข้าใจกับมัน และวางแผนอยู่กับมันให้ได้ ซึ่งก็อยากให้กำลังใจกับแพทย์และพยาบาล พวกเขาทำงานหนักมาก และมีมืออาชีพสูงมาก มีความรับผิดชอบในหน้าที่สูงมาก อย่างคนขับรถพยาบาล ก็ต้องขับเร็วเพื่อกลับมา Standby เพื่อรอเหตุฉุกเฉิน จึงอยากให้เข้าใจว่าพวกเขาไม่ได้ตั้งใจขับเร็ว แต่มีความจำเป็นจริง ๆ อยากให้ทุกคนเข้าใจและให้อภัยเจ้าหน้าที่ทุก ๆ คน

 

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส