ด้วยเทคโนโลยีมันก้าวกระโดดไปไกลมาก ไม่ว่าการทำงานหรือการศึกษาก็ต้องตามให้ทัน วันนี้ผมอยู่ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มาดูการเรียนการสอนแบบใหม่จะเป็นอย่างไร ผมจะพาไป #beartai กันครับ

ในโลกการทำงานยุคใหม่ตอนนี้ บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกหลายแห่งเริ่มปรับรูปแบบการทำงานเป็นแบบไฮบริดเวิร์คกิ้ง หรือการทำงานแบบคู่ขนาน อย่างกูเกิล ก็ปรับให้ทำงานที่ออฟฟิศ 3 วัน อีก 2 วันก็ทำงานออนไลน์ เป็นต้น

เช่นเดียวกับการเรียนของนักศึกษา ซึ่งเรียกว่า Blended Learning คือ การเรียนแบบผสมผสานทั้งออนไลน์ และห้องเรียน มีการออกแบบรูปแบบการเรียน ช่องทางในการสื่อสาร ให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับเพื่อนที่เรียนวิชาเดียวกันและอาจารย์ผู้สอนในแต่ละวิชา

ซึ่งการเรียนแบบ Blended Learning เป็นรูปแบบที่หลายประเทศชั้นนำของโลกใช้ อย่างเช่น Harvard University , UPenn, Columbia University ก็ได้มีการศึกษาวิจัยเรื่อง Blended Learning มาแล้วหลายปี

ข้อดีของ Blended Learning คือ เนื้อหาแต่ละแบบมีวิธีการเรียนที่เหมาะสมต่างกัน ตัวอย่างเช่น วิชาเรียนออนไลน์ ทำให้เราเรียนรู้เนื้อหาที่ต้องใช้สมาธิหรือต้องการทบทวนย้อนหลังได้ อีกทั้งสามารถอัปเดตข้อมูลจากทุกมุมโลก ส่วนการเรียนในสถานที่จริง ก็เหมาะกับเนื้อหาที่ต้องการฝึกปฏิบัติ มีการใช้อุปกรณ์ หรือต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดีกว่า ทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ซึ่ง Blended Learning จะเป็นยุคใหม่ของการศึกษาที่เกิดขึ้นในอนาคต แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 กลายตัวเร่งในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนเป็นแบบนี้ ทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการปรับตัวเข้ากับการสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่เสมอ และยังเปิดกว้างให้นักศึกษาได้ทดลองและเรียนรู้สิ่งชื่นชอบ ตามสโลแกน The Creative University “มหาวิทยาลัยสร้างสรรค์”

ซึ่งหลักสูตรของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบนี้แล้ว ที่จะผสมผสานระหว่างออนไลน์และสถานที่ ผนวกกับการเรียนรู้แบบ Active Learning หรือกิจกรรมตามหลักสูตร ทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เรียกว่า “BU Blended” และเขาก็ทำก่อนที่จะเกิดสถานการณ์โควิด-19 อีกด้วย

และผู้ที่จะมาขยายความเข้าใจเกี่ยวกับ BU Blended ได้ดี เราไปพูดคุยกับอาจารย์จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพกันครับ (สัมภาษณ์ ผศ.สรรเสริญ มิลินทสูต รองอธิการบดีอาวุโสด้านวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ)

ความโดดเด่นของ “BU Blended” ทำให้ผู้เรียนของม.กรุงเทพ เพิ่มศักยภาพอย่างไร?

การออกแบบเนื้อหารายวิชา จะมีความยืดหยุ่นและไร้ข้อจำกัด นักศึกษาสามารถเรียนข้ามศาสตร์ข้ามสาขาได้อย่างเสรี เพราะมีการปรับเปลี่ยนวิธีเรียน จากการเรียนตามรายวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตรในคณะหรือสาขาวิชานั้น ๆ เท่านั้น ก็เปลี่ยนมาเป็นการเรียนโดยจัดกลุ่มรายวิชาเป็นโมดูล ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความรู้ ทักษะอาชีพและการทำงานได้ตรงตามเป้าหมายที่นักศึกษามุ่งหวังแม้รายวิชาในกลุ่มโมดูลนั้นจะเป็นการเรียนข้ามสาขาคณะวิชาก็ตาม เช่น คณะไอทีสาขาเกม นักศึกษาควรต้องมีทักษะการเล่าเรื่องที่ดีเพื่อการสร้างสรรค์เกมใหม่ ๆ กลุ่มรายวิชาในโมดูลก็จะมีองค์ความรู้เกี่ยวกับ Storytelling ซึ่งเป็นรายวิชาของคณะนิเทศศาสตร์ผสมผสานรวมอยู่ด้วย เป็นต้น วิธีออกแบบเนื้อหาการเรียนรู้แบบโมดูลเช่นนี้ช่วยให้ผู้เรียนได้รู้รอบด้านและสนุกกับการเรียนมากขึ้น

การเรียนในรูปแบบ BU blended ของเราจะต่างจาก Blended Learning ของที่อื่น สามารถแบ่งเป็น 5 ด้านด้วยกัน ซึ่งในส่วนของการเรียนออนไซต์ ของเราจะเปิดกว้างและมีความหลากหลายมาก และ 5 ด้านที่ว่าก็คือ

  • Online Lecture ที่ปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนในห้องเรียนที่อาจมีข้อจำกัดทั้งเรื่องสถานที่และเวลา มาเป็นการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนที่ไหนก็ได้ตามที่ผู้เรียนสะดวก สามารถทบทวนบทเรียนย้อนหลังกี่ครั้งก็ได้ ทำให้ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจและเก็บเกี่ยวความรู้ได้อย่างเต็มที่
  • Online Tutorial การให้คำแนะนำระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนผ่านระบบออนไลน์ สำหรับผู้เรียนที่อาจจะยังไม่เข้าใจบทเรียนอย่างถ่องแท้ หรือต้องการความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติม ด้วยการจัดให้คำแนะนำโดยอาจารย์ผู้สอน โค้ช ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งแบบกลุ่มย่อย (Small Group Tutorial) และแบบรายบุคคล (One-on-one Tutorial)
  • Home Studio ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้โดยไม่จำกัดว่าจะต้องอยู่ภายในห้องเรียนเท่านั้น เพราะไม่ว่าจะเป็นภายในบ้านของตนเองหรือที่ใดก็ตามที่ผู้เรียนสะดวก ก็ล้วนเป็นสถานที่ในการสร้างสรรค์ผลงานได้ home studio ก็ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนออนไซต์โดยสถานที่เรียนไม่ใช่ในมหาวิทยาลัย นักศึกษาสามารถพรีเซ้นต์ผลงานผ่านออนไลน์ให้อาจารย์ได้แบบเป็นรายบุคคลหรือแบบกลุ่มก็ได้
  • Onsite Experience ทางมหาวิทยาลัยยังจะจัดให้ผู้เรียนได้ออกไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์เพิ่มเติมจากสถานที่ต่าง ๆ เช่น บริษัทและองค์กรที่เป็นพันธมิตร หรือแม้แต่สถานที่ใดก็ตามที่ผู้เรียนและผู้สอนมีความเห็นตรงกันว่า เป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการเข้าไปหาประสบการณ์ที่จำเป็นต่อการเรียน
  • MasterClass มหาวิทยาลัยจะสรรหาผู้เชี่ยวชาญทั้งในระดับประเทศและระดับโลกมาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในรูปแบบการบรรยายออนไลน์ โดยจะคัดสรรมาจากทั้งมหาวิทยาลัย บริษัท และองค์กรที่เป็นพันธมิตรกับ ม.กรุงเทพ รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ ที่มหาวิทยาลัยเห็นเหมาะสม

ส่วนนี้น่าสนใจมาก MasterClass ที่ร่วมมือกับบุคลากรภายนอก ในที่นี้จะมีเพียงในประเทศอย่างเดียวรึเปล่าครับ?

ไม่มีข้อจำกัดเลย มหาวิทยาลัยกรุงเทพเรามีพันธมิตรชั้นนำในสาขาวิชาชีพตัวจริงทั้งในประเทศและต่างประเทศ การเชิญมาร่วม MasterClass ทำได้ไม่ยากและได้รับความร่วมมือที่ดี MasterClass แบบออนไลน์เป็นอีเวนต์ที่พันธมิตรของเราก็สะดวกเพราะไม่ต้องเดินทาง นักศึกษาในคลาสก็ชอบเพราะเรียนแบบแอ็กทีฟ พูดคุยซักถาม ให้โจทย์ ทำงานส่งงานกันในคลาสได้ มันเปิดโลกกว้างด้านการเรียนรู้ได้มาก

BU Blended คือสิ่งที่จะเข้ามาปรับรูปแบบการเรียนสอนของ ม.กรุงเทพ และในอนาคต ได้วางแนวทางอย่างไรครับ?

การปรับเปลี่ยนเป็น BU Blended เป็นการบริหารจัดการด้านวิชาการที่ต้องปรับตัวอยู่ตลอด เราตั้งเป้าหมายเป็นเฟสเพื่อให้บรรลุผล เพราะการปรับเปลี่ยนต้องทำไปพร้อม ๆ กันหลายเรื่อง ทั้งการพัฒนาหลักสูตรที่วัดผลลัพธ์ในรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่เรื่องของคะแนน แต่เป็น out put ที่แสดงให้เห็นศักยภาพของผู้เรียนในด้านนั้น ๆ เราต้องปรับ mind set ของคณาจารย์และบุคลากรในมหาวิทยาลัยด้วย ปรับวิธีการทำงาน วิธีการโค้ช การให้คำแนะนำปรึกษา รวมทั้งให้เวลานักศึกษาใหม่ได้ปรับตัวและทำความเข้าใจรูปแบบการเรียน BU Blended ว่านี่คือ Next Normal ของการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา ที่จะทำให้พวกเขาเป็นบัณฑิตคุณภาพสำหรับโลกการทำงานยุคใหม่

เรียนที่นี่ส่วนใหญ่อาจารย์ให้โจทย์ให้โปรเจกต์ทำงานกันเลย ให้เรียนรู้จากการลงมือทำ ทั้งงานกลุ่ม งานเดี่ยว มีครบ เรียนทั้งแบบออนไลน์ ออนไซต์ในมหาลัยวิทยาลัยบ้าง ออนไซต์ในสถานที่อื่น ๆ บ้าง แล้วแต่โปรเจกต์ของเรา รวม ๆ ก็คิดว่าเป็นวิธีเรียนที่ยืดหยุ่นเรื่องเวลา ทำให้เรารู้จักจัดการเวลาแต่ละวัน ทำให้เราค้นหาข้อมูลเก่งขึ้น รู้แหล่งข้อมูลที่จะเอามาใช้เรียนเพิ่มเติมจากมีอยู่แล้วในหลักสูตร บางวิชาเราก็ต้องเรียนกับต่างคณะด้วย

หลัก ๆ ที่นี่เรียนแบบ project based อาจารย์จะให้ทำงาน ให้ทุกคนลงมือทำเองเลยตั้งแต่มาเรียนปีแรก ๆ ก็เป็นแบบนี้ ปีนี้จะเป็นปีสุดท้าย การเรียนออนไซต์ก็จะเป็นการได้ไปทำงานจริง ๆ กับองค์กรนอกมหาลัย เป็นการฝึกงานแบบทำงานร่วมกับมืออาชีพจริง ๆ การเรียนออนไลน์ก็ยังมีอยู่ เวลามีอาจารย์พิเศษมาสอน ซึ่งมาบ่อยมาก คิดว่าวิธีเรียนแบบนี้มันเหมาะกับตอนนี้พอดีด้วย เหมาะกับเราด้วย มันทำให้เรากระตือรือร้นกับข้อมูลใหม่ ๆ ได้รู้ความรู้ใหม่ ๆ จากแหล่งความรู้ทั่วโลก การสอบการวัดผลมันก็ต่างไปจากเดิม คะแนนไม่ใช่ผลลัพธ์ แต่เป็นการวัดความรู้ความเชี่ยวชาญของเราในงานที่เราทำ อันนี้ก็เป็นวิธีประเมินใหม่ของอาจารย์ ซึ่งคิดว่าดี เพราะการเรียนมันไม่ใช่เรื่องของคะแนน

ข้อสังเกต

สำหรับ BU Blended จะเห็นได้ว่าเป็นการผสมผสานระหว่างการเรียนออนไลน์ และ ออนไซต์ ซึ่งในส่วนการทดลองหรือการปฎิบัติงานในสถานที่จริง อาจจะยังมีข้อจำกัดในเรื่องมาตรการรักษาระยะห่าง (Social Distancing) ดังนั้นบางกิจกรรมที่ต้องรวมคนเป็นจำนวนมาก จึงมีข้อจำกัดอยู่ครับ

ทั้งนี้ในแต่ละคณะมีเป้าหมาย และกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนกัน แต่ทั้งหมดจะถูกออกแบบอยู่ภายใต้ BU Blended ทั้ง 5 ด้านที่กล่าวไว้ครับ

และนี่คือรูปแบบการเรียนการสอนแบบ BU Blended การเรียนรู้ในแบบผสมผสานที่ทำให้ผู้เรียนได้ปล่อยศักยภาพที่มีอยู่ในตัวออกมาได้ ซึ่งเป็นความตั้งใจของมหาวิทยาลัยที่จะพัฒนาการเรียนการสอนให้ทันยุค เพื่อพัฒนาบัณฑิตใหม่สู่โลกการทำงานจริงที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและอย่างรวดเร็ว ให้สมกับ “มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยสร้างสรรค์“

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส