ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมานี้ น่าจะได้ยินกับพวกคำว่า Cloud Gaming และคำว่า Google Stadia กันพอสมควร แต่เอ๊ะ! มันคืออะไร ใกล้ตัวเราแค่ไหน ?

Cloud Gaming ก็คือตามชื่อมันนั่นแหละ การเล่นเกมผ่าน Cloud โดยเราไม่ต้องใช้ฮาร์ดแวร์ หรือเครื่องใด ๆ ในการประมวลผลตัวเกม เพราะมันประมวลผลอยู่ที่เซิร์ฟเวอร์ที่ไกลออกไป เราทำหน้าที่รับการสตรีม และเล่นมันเท่านั้น

แล้วการมาของ Google Stadia จะทำให้วงการ Gaming ก้าวไปอีกหนึ่งระดับได้หรือไม่ ? และก่อนที่ Google Stadia จะเปิดให้บริการในไทย มีบริการอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกไหม ?

ก่อนอื่นอยากจะพูดถึงประวัติที่ของ Cloud Gaming กันก่อนสัก โดยสำหรับคำว่า “Cloud Gaming” หลายคนน่าจะได้ยินกันมาสักพักแล้ว ซึ่งความจริงนั้น บริการนี้มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบที่เป็นการ streaming จากเครื่องของตัวเอง และแบบเช่าเครื่องเป็น cloud เต็มรูปแบบ (ซึ่งบริการบางเจ้าก็รองรับทั้ง 2 แบบเลย เช่น Parsec) แต่หากจะพูดถึงครั้งแรกที่มันปรากฏออกมาคงต้องย้อนกลับไปสมัยปี 2000 เลย

ในงาน E3 ปี 2000 G-Cluster Global ได้โชว์เทคโนโลยี “Cloud Gaming” ออกมาเป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถสตรีมเกมผ่าน WiFi มายังเครื่อง handheld ที่รองรับระบบ G Screen ได้ และนั่นเป็นครั้งแรกที่ทั้งโลกได้รู้จักกับ Cloud Gaming (หรือ Gaming On Demand ณ ขณะนั้น) และต่อมาในปี 2005 ทาง Crytek ผู้พัฒนาเกมระดับตำนานอย่าง Crysis ก็เริ่มทำการวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยี Cloud Gaming สำหรับที่จะใช้งานกับเกม Crysis แต่สุดท้ายก็ได้หยุดการพัฒนาไปในปี 2007 เพราะระบบอินเตอร์เน็ตยังไม่พร้อมสำหรับเทคโนโลยีนี้ในขณะนั้น

เอาเป็นว่ามันปรากฏครั้งแรกในเวอร์ชันที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ก็ปาไปนู่น ตอนปี 2010 กับ “OnLive” บริการ cloud streaming ที่ให้ผู้ใช้งานเช่า Subscription เพื่อนำเกมที่รองรับในระบบของ OnLive มาเล่นบนเครื่องได้ โดยใช้เพียงแค่อินเmอร์เน็ตและไม่ต้องใช้สเปกแรง ๆ ในการเล่น (แต่ต้องใช้เน็ตที่แรงมากในสมัยนั้น) โดยเปิดให้สามารถใช้งานได้ทั้งบน PC, Android, เครื่อง OnLive Microconsole และ Smart TV บางตัว และเปิดให้บริการในบางประเทศเท่านั้น โดยท้ายที่สุดก็ถูก Sony ซื้อกิจการไปในปี 2015 (เปิดให้บริการมาประมาณ 5 ปี ด้วยกัน)

ในช่วงปีหลัง ๆ หลายคนคงเคยได้ยินบริการที่ชื่อ PlayStation NOW ซึ่งเป็นบริการสตรีมมิงของทาง Sony โดยคาดว่าเป็นโพรเจกต์ต่อยอดมาจากการที่ Sony เข้าซื้อ Gaikai ในปี 2012 และเข้าซื้อ OnLive ในปี 2015 โดย PlayStation Now ได้เปิดบริการครั้งแรกในอเมริกาในปี 2014 และออกมาทั่วโลกใน อังกฤษ ยุโรป และญี่ปุ่น ในปี 2015 โดยน่าจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ Sony เข้าซื้อ OnLive เพื่อจะได้นำเทคโนโลยีของทาง OnLive มาปรับปรุงประสิทธิภาพของ PlayStation NOW

และภายในปีหน้า ดูเหมือนตลาดของ Cloud Gaming จะมีอะไรให้น่าตื่นเต้นเป็นอย่างมาก เพราะค่ายชั้นนำทั่วโลกต่างดันเซอร์วิสของตัวเองกันออกมายกใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Microsoft XCloud, Geforce NOW, Google Stadia และไหนจะเป็นช่วงเริ่มต้นของบรอดแบรนด์ 5G อีก ซึ่งอาจจจะเป็นส่วนช่วยให้ Cloud Gaming ยิ่งมีประสิทธิภาพจากการใช้งานเครือข่ายแบบ low latency หรือไร้ความหน่วง

ส่วนตอนนี้ใครที่อยากสัมผัสบริการ Cloud Gaming ในรูปแบบต่าง ๆ เรามีมาแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจก่อนครับ

Cloud Gaming ตอบโจทย์ใคร ?

ก่อนอื่นอยากให้ทุกท่านทราบก่อนว่า บริการ Cloud Gaming นี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้บริการคนกลุ่มไหน ?

การให้บริการแบบ Cloud Services หรือการให้บริการแบบ Cloud เต็มรูปแบบ อาจจะเหมาะสำหรับผู้ที่มีเครื่อง PC สเปกที่ไม่แรงมาก แต่อยากเล่นเกมที่ออกใหม่ และไม่ต้องการจ่ายเงินหนัก ๆ ในครั้งเดียวเพื่ออัปเกรดฮาร์ดแวร์ของตัวเอง หรือกลุ่มคนที่รักการเล่นเกมแบบพกพา แต่อยากได้เกมแบบพกพาในคุณภาพระดับสูง

แนะนำบริการ Cloud Gaming

เป็นบริการเช่าเครื่อง cloud รายเดือนที่มีความคล้ายกับ Google Stadia อย่างมาก โดยผู้ใช้งานจะสามารถเล่นเกมที่ถูก optimized ให้รองรับกับระบบแล้วเท่านั้น ซึ่งก็คือต้องรอจนกว่าตัวเกมจะใช้งานได้ดีบนระบบ และบางเกมต้องเป็นเจ้าของก่อนแล้ว ถึงนำมาเล่นบน Vortex ได้ (ต้องลอกอิน Steam)

Vortex ต้องเสียค่าบริการรายเดือนประมาณ 300 บาท / เดือน โดยรองรับทั้ง Windows, Android และ macOS

เดิมทีเป็นบริการที่ ให้ผู้ใช้งานสตรีมเกมของตัวเองเป็น local server เพื่อให้เพื่อนของเราเข้ามาเล่นเกมที่รองรับระบบ local multiplayer และต่อมาได้เพิ่มความสามารถในการเช่าเครื่อง cloud มาเล่นได้ในภายหลัง โดยผู้ให้บริการจะมีหลากหลาย เราสามารถเลือกสเปกของคอมพิวเตอร์ของเราได้ ซึ่งผู้ให้บริการแต่ระบบ ไม่ใช่แค่ออกแบบมาให้เพื่อเล่นเกมเท่านั้น แต่ออกแบบมาเพื่อสำหรับการทำงานแบบต่าง ๆ อีกด้วย

โดยต้องเสียค่าบริการรายชั่วโมง ตั้งแต่หลักไม่กี่สิบบาท จนถึงหลักร้อยเลยทีเดียว

แล้วทำไมคนถึงตื่นเต้นกับการมาของ Google Stadia ?

หลายคนอาจจะได้ยินกันมาก่อนว่า “Google Stadia เนี่ยจะเป็นเหมือน Netflix ของเกมเมอร์เลยก็ว่าได้” แต่เอาเข้าจริงแล้ว มันแทบจะแตกต่างโดยสิ้นเชิง เพราะ Netflix เราเหมาจ่ายทีเดียวแล้ว เราสามารถเลือกดูเรื่องอะไรก็ได้ แต่สำหรับ Google Stadia เนี่ย ดูจะเป็นเหมือนการเช่าเครื่อง Stadia เสียมากกว่า เพราะตัวเกมเรายังคงต้องเสียเงินซื้อแยกเองอีกต่างหาก

แต่ทำไมทุกคนถึงดูตื่นเต้นกับมันมาก ๆ กันนะ ?

อย่างแรก ก็เพราะมันคือ Google นั่นแหละ ต้องยอมรับว่าทุกการเคลื่อนไหวของ Google ปกติจะเป็นที่จับตามองอยู่แล้ว แต่สาเหตุอื่นมันก็มีอยู่บ้าง เช่น ตลาด Cloud Gaming ไม่เคยบูมขึ้นมาจริง ๆ จัง ๆ สักที และยังไม่เคยขนาดที่ประสบความสำเร็จจนติดเทรนด์ได้ ปัจจุบันเป็นเหมือนแค่ทางเลือกทางหนึ่งในการเล่นเกมสำหรับผู้ที่ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์แรง ๆ เท่านั้น แต่ Stadia เองตั้งใจจะทำให้ตัวเองเป็นเครื่อง Console ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ พาไปที่ไหนก็ได้ มันเลยกลายเป็นอีก topic นึงไปเลย ที่ Google Stadia ต้องการจะเป็น

แนะนำ Applications สำหรับ การยิงสตรีมเกมจากเครื่องคอมพิวเตอร์ และ Console สำหรับผู้ที่ต้องการนำเกมโปรดของท่านไปเล่นนอกบ้าน

  • PS4 Remote Play

PS4 Remote Play เป็นบริการที่ให้ผู้ที่ครอบครองเครื่อง PS4 อยู่แล้วนั้นสามารถสตรีมเกมจากเครื่องของตัวเองมายังเครื่องที่รองรับแอป Remote Play ได้ผ่าน WiFi ที่ใดก็ได้บนโลก (เฉพาะ Android และ iOS เท่านั้น ส่วนบน PC ต้อง network เดียวกัน) สำหรับผู้ที่สนใจสามารถดูวิธีการเร่ิมต้นใช้งานได้ ที่นี่

Play video

  • Steam Link

Steam Link จริง ๆ แล้วเป็นเครื่องสำหรับสตรีมเกมจากคอมพิวเตอร์มายังเครื่อง Steam Link ในชื่อเดียวกัน และต่อมาทาง Valve ได้พัฒนาแอปนี้ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่คล้ายกันกับตัวเครื่อง Steam Link ที่อนุญาติให้ผู้ใช้งานสตรีมตัวเกมจากเครื่องพีซีของเรามาเล่นยังบนสมาร์ตโฟนได้ (iOS และ Android)

Moonlight เป็นโปรแกรม Open Source ที่จำลองการทำงานของเครื่อง NVIDIA Shield (Android TV boxset) ที่สามารถสตรีมเกมจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้การ์ดจอของ NVIDIA ผ่านโปรแกรม Geforce Experience โดยสามารถใช้งานได้ทั้งบนแอป Android และบนหน้าเบราว์เซอร์ (ผ่าน Extension ของ Google Chrome)

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับแนวทางอื่น ๆ ที่แนะนำให้ เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่อดใจรอ Google Stadia ไม่ไหว หวังว่าจะถูกใจทุกคนกันนะครับ แต่อย่างไรก็ตามชาวไทยคงยังต้องรอต่อไปว่า Google Stadia จะถูกเปิดให้บริการในไทยหรือไม่ แต่เราก็มีทางเลือกอื่นในการเล่นเกมคุณภาพดี ๆ นอกบ้าน ที่เยอะพอควรอยู่แล้ว

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส