‘อนาคตที่ AI ทำอะไรคุณไม่ได้’ หนังสือที่ตีแผ่ความจริงถึงอนาคตที่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือหุ่นยนต์อัจฉริยะจะเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์มากขึ้น จะเป็นอย่างไร… หากความสามารถที่มีอาจไร้ความหมาย โลกที่หมุนต่อได้โดยไม่ต้องมีคุณ ซึ่งเล่มนี้ให้คำตอบทึ่สงสัยว่าทักษะอะไรที่เรามีแล้วเอไอยังทดแทนไม่ได้ พร้อมวิธีรับมือกับอีกหลายงานที่ไม่คาดคิด

พวกเราทุกคนล้วนรู้ว่า AI จะมาแย่งงาน แต่ไม่มีใครพูดถึงวิธีการรับมือกับพวกมันเลย

ความรู้สึกแรกตั้งแต่หยิบเล่มนี้ รู้เลยจากจากชื่อหนังสือที่บอกเป็นนัยยะ ประมาณว่าอาจจะมีการต่อสู้ระหว่างมนุษย์ vs AI หรือ AI จะเข้ามาเเทนที่เราในโลกต่อจากนี้เเน่ ๆ ดังนั้นเเล้วคำถามถัดมาคงเป็น AI ทำอะไรได้บ้าง? การมาถึงของพวกมันน่ากลัวขนาดนั้นเลยหรือเปล่า? อะไรคือจุดเเข็งและจุดอ่อนของ AI?

ทักษะสำคัญในยุค AI

โดยผู้เขียนจะเน้นเรื่อง “พัฒนาทักษะ” เป็น keyword สำคัญในหนังสือ เเต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือ ทักษะอะไรที่สำคัญ เเละทักษะนั้นเป็นสิ่งที่ Ai สู้มนุษย์อย่างเราไม่ได้ โดยใน 5 ทักษะที่เป็นที่ต้องการของตลาดเเรงงาน

  1. ทักษะพื้นฐาน อาทิ การจดจ่อ มุ่งมั่นทุ่มเท มีความอดทน ถึกทนกับงาน (มนุษย์เเพ้ AI)​
  2. ทักษะวิชาการ เกี่ยวกับการคิดเเบบเป็นเหตุเป็นผลหรือการเรียนรู้ด้วยตัวเอง (มนุษย์เเพ้ AI)
  3. ทักษะวิชาชีพ คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาเนิ่นนาน เเละลงมือทำจากความรู้จนเกิดเป็นภูมิปัญญา
  4. ทักษะการสื่อสาร ต้องสามารถสื่อสารด้วยภาษากาย เเละการมีอารมณ์​ร่วมกับคู่สนทนา ราวกับการเอาใจเขามาใส่ใจเรา
  5. ทักษะองค์กร คือการมีทักษะการบริหารจัดการ แสดงความเป็นผู้นำ เมื่อมีโอกาสต้องนำผู้คน

ทว่า AI กลับเชี่ยวชาญใน 2 ทักษะเเรกมากกว่าพวกเราเสียอีก เพราะมันมีจุดเด่นในเรื่องการจดจ่อที่ไร้ขีดจำกัด, การคิดประมวลที่รวดเร็วยิ่งกว่า, ความจำเเละการสืบค้นที่ทรงประสิทธิภาพ เเล้วยังมีต้นทุนที่ถูกกว่าเเรงงานอีกด้วย และกลับกันสิ่งที่ AI ทำเเทนเราไม่ได้ ต้องเป็นงานที่มีคิดสร้างสรรค์ ซึ่งอยู่ในทักษะวิชาชีพ หรือการแสดงไมตรีจิต ซึ่งอยู่ในทักษะการสื่อสาร และการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งอยู่ในทักษะองค์ คำถามต่อมาคือ เราจะพัฒนา​ 3ทักษะนี้อย่างไร?

Upskill และ Reskill ทักษะมนุษย์ชนะ AI

อันดับแรกเริ่มจาก ‘ทักษะวิชาชีพ‘ ที่ประกอบด้วยความสามารถต่างๆ เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการเจรจาต่อรอง การขยายขีดความสามารถ และพัฒนาตัวเองได้โดย

  • เเยกเเยะระหว่างภูมิปัญญา(ความรู้จากประสบการณ์)​ เเละความรู้(ความรู้จากหนังสือ)​
  • ควรฝึกฝนเทคนิคทางจิตใจควบคู่ไปกับการลงมือปฏิบัติ
  • สำรวจเเละทบทวนประสบการณ์ของตัวเอง เพื่อหาจุดอ่อนเเละปัญหา มองตัวเองในหลายมุมมอง
  • เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ เเละส่งมอบภูมิปัญญาให้ผู้อื่น

ทักษะการสื่อสาร‘ มีความสำคัญในการโน้นน้าวคนซึ่งฝึกได้ดังนี้

  • เรียนรู้ทำความเข้าใจการสื่อสารด้วยภาษากายทั้งของตนเองเเละผู้อื่น
  • แสดงอารมณ์ร่วมในสถานการณ์เเบบ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ด้วยการฟังให้สุด
  • มองว่าความลำบากคือโอกาสในการเติบโต
  • รู้จักให้กำลังใจผู้อื่น

‘ทักษะองค์กร’ ผู้เขียนเเบ่งทักษะนี้เป็น 2 ส่วนซึ่งมีความสัมพันธ์​กัน ส่วนแรกเกี่ยวกับ การบริหารจัดการที่เน้นบริหารจิตใจ คอยสร้างสามัคคี แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ทำให้​ทุกคนรู้สึกถึงคุณค่าของงาน รู้คุณค่าในตัวเอง และกระตุ้นการเติบโต

อีกส่วนคือ แสดงความเป็นผู้นำอย่างมีวิสัยทัศน์ มองให้กว้างไกล เเละความมุ่งมั่นไม่หยุดเติบโต ความเชื่อมั่นในเพื่อนร่วมงาน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเล่มนี้

“เราควรตระหนักถึงวิกฤติในเวลาที่ควรตระหนัก” เพื่อหาหนทางเอาชีวิตรอด รับมือกับการเปลี่ยนเเปลง อีกทั้งยังทำให้มองเห็นภาพกว้างของทักษะที่จำเป็นในอนาคต เเละลงมือสร้างพัฒนาทักษะ​ตั้งเเต่วันนี้เพราะคนที่จะช่วยเราได้จึงมีเเต่ตัวเราเท่านั้น

ในท้ายที่สุดเราไม่ควรมองว่ายุค AI น่าหดหู่ และทำให้มนุษย์กลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไร้ประโยชน์ อย่างไรก็ตามเราต้องมองว่าเป็นยุคที่มีคนเข้ามาช่วยปลดเอกมนุษย์ออกจากการทำงานที่จำเจ หรืองานไม่จำเป็นที่ต้องใช้ทักษะความสามารถใดใด แต่การมาของ AI นำเราเข้าสู่ยุคที่เปิดโอกาสให้มนุษย์ได้พัฒนาศักยภาพตัวเองอย่างเต็มที่มากยิ่งขึ้นไปอีกขั้น


ชื่อหนังสือ: อนาคตที่ AI ทำอะไรคุณไม่ได้
แปลจาก: 能力を磨く AI時代に活躍する人材「3つの能力」
ผู้เขียน: ทาซากะ ฮิโรชิ
ผู้แปล: ปาวัน การสมใจ
สำนักพิมพ์: วีเลิร์น (WeLearn)
ราคา: 200 บาท