“I Believe In the Power of The Voice of Women”

มาลาลา ยูซาฟไซ

นักต่อสู้เพื่อสิทธิการเรียนของเด็กผู้หญิงชาวปากีสถาน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2014

 

ทุกวันที่ 8 มีนาคมของทุก ๆ ปีคือ “วันสตรีสากล” หรือที่แต่เดิมเรียกว่า “วันสตรีแรงงานสากล” ซึ่งเป็นวันที่เกิดการลุกขึ้นต่อสู้ของกรรมกรสตรีโรงงานทอผ้าในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบกดขี่ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้าง ที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน เริ่มต้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1857 และต่อสู้สืบเนื่องกันมากว่า 10 ปีจนถึงปี 1910 จึงได้มีการประกาศให้วันที่ 8 มีนาคมนี้เป็น “วันสตรีแรงงานสากล”  และกลายเป็น “วันสตรีสากล” ในปัจจุบัน

ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา “เสียงของสตรี” เหมือนเป็นอะไรที่เบากว่าเสียงอื่น ๆ แม้กระทั่งเสียงนกกาอาจดังกว่าเสียด้วยซ้ำ พวกเธอมักถูกมองข้าม กดขี่ เอาเปรียบ ขูดรีดทั้งกายและใจ จากบุรุษเพศทั้งหลาย  “เสียงของสตรี” นั้นไม่ได้เป็นเสียงที่ไม่มี “พลัง” หากในทางตรงกันข้ามมันเมีพลังมากล้นจนน่ากลัวเสียด้วยซ้ำ และนั่นก็อาจเป็นเหตุผลที่สังคมแห่งบุรุษเพศเลือกที่จะ “มองข้าม” หรือให้ถูกคือแกล้งทำบอดใบ้ ทำ “หูหนวก” “หูทวนลม” ไม่ได้ยินไปก็เท่านั้น

มีสิ่งหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นเสียงสะท้อนของพวกเธอมาโดยตลอดนั่นคือ “บทเพลง” ที่ถูกเรียงร้อยมาจากจิตใจของศิลปินสาวต่างยุคต่างสมัย ไม่ว่าเราจะย้อนกลับไปนานเท่าไหร่ หรือ ว่าเราจะเริ่มต้นจากบทเพลงในยุคนี้ มันก็ยังจะมีบทเพลงที่สะท้อนเสียงของสตรีให้เราได้ฟังอยู่เสมอ ลองฟังเสียงจากบทเพลงเหล่านี้ดูสิ แล้วเราจะเข้าใจว่า “เสียงของสตรี” นั้นเป็นอย่างไร เปี่ยมไปด้วยความรู้สึกแบบไหน และมีเรื่องอะไรที่ผู้ชายทั้งหลายยังไม่เข้าใจพวกเธอบ้าง

 


“Respect” – Aretha Franklin

 

Play video

บทเพลงคลาสสิกตลอดกาลของนักร้องหญิงที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ราชินีแห่งเพลงโซล”  อารีทา แฟรงคลิน  บทเพลงนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ A Feminist Anthem” หรือ “เพลงชาติแห่งสิทธิสตรี” “Respect” ถูกบันทึกเสียงครั้งแรกโดย Otis Redding ผู้ซึ่งเป็นเสมือนอีกหนึ่งไอคอนของวงการเพลงโซล ในปี 1965 เนื้อเพลงกล่าวถึงข้อเรียกร้องของชายหนุ่มที่มีต่อหญิงคนรัก  “All I’m asking is for a little respect when I come home.” (ผมขอแค่เพียงความเคารพจากใจเล็ก ๆ น้อย ๆ จากคุณในยามที่ผมกลับบ้านมา) แฟรงคลินเรียบเรียงเพลงนี้ขึ้นใหม่ในปี 1967 2 ปีให้หลังจากเวอร์ชันต้นฉบับ เธอได้เปลี่ยนบางส่วนของบทเพลงให้เป็นมุมมองของเธอ ในท่อนที่ เรดดิ้งร้องว่า “What you want, honey you got it,” (เธอเรียกร้องสิ่งใด เธอจะได้สิ่งนั้นสมใจ) แฟรงคลินจะร้องว่า “ What you want , baby I got it.” (เธอเรียกร้องสิ่งใดโอ้ที่รัก ฉันมีให้เธอพร้อมทุกสิ่ง) และในท่อนที่เรดดิ้งเรียกร้องความเคารพเมื่อกลับบ้านมานั้น “All I’m asking is for a little respect when I come home.” การเรียกร้องของแฟรงคลินกลับเป็นการร้องขอ “a little respect when you get home.” (ความเคารพเล็ก ๆ เมื่อคุณกลับบ้านมา) กล่าวโดยสรุปก็คือ บทเพลง “Respect” ในเวอร์ชันของแฟรงคลินนั้นเป็นเสียงเรียกร้องจากผู้หญิงที่ต้องการจะบอกให้ผู้ชายได้รู้ในสิ่งที่เธอมอบให้กับเขามาโดยตลอด

ในปี 1967 ที่เพลงนี้ถูกปล่อยออกมา เป็นช่วงเวลาที่เปลวไฟแห่งการเคลื่อนไหวทางสิทธิพลเมืองและสิทธิสตรีกำลังคุกรุ่น ดังนั้นบทเพลง “Respect”  ของแฟรงคลินจึงเหมือนกับเป็นอีกหนึ่งเชื้อเพลิงแห่งการปฏิวัตินี้ ซึ่งมาได้ถูกที่ถูกเวลา

แฟรงคลินได้เคยกล่าวว่า “ผู้คนมากมายรู้สึกเชื่อมโยงกับถ้อยความใน ‘Respect’ มันเป็นความจำเป็นของประชาชาติ ของผู้ชายและผู้หญิง ของคนเดินดิน ของนักธุรกิจ ของมารดา ของนักดับเพลิง ของครูอาจารย์ และของทุก ๆ คน เพราะทุกคนต้องการ “ความเคารพ” บทเพลงนี้คือหนึ่งในเสียงเพรียกแห่งสิทธิ อันเป็นหมุดหมายที่สำคัญ”

และในปีนี้เราคงจะได้ชมภาพยนตร์เรื่อง “Respect”  ภาพยนตร์ชีวประวัติของ อาเรทา แฟลงคลิน ราชินีแห่งดนตรีโซลคนนี้ที่รับบทโดย  Jennifer Hudson  ไว้รอดูกันได้เลยจ้าา

Play video


“9 to 5” by Dolly Parton

 

Play video

มาที่บทเพลงสุดคลาสสิกเพลงนี้ผลงานจากในปี 1980 ของ Dolly Parton ซึ่งเป็นเพลงธีมของหนังในชื่อเดียวกันคือ “Nine to Five” ที่ Parton แสดงร่วมกับ Jane Fonda และ  Lily Tomlin ซึ่งทั้งหนังและเพลงต่างสะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมกันทางเพศในที่ทำงาน ทำให้เราได้รับรู้ความรู้สึกและเข้าใจหัวอกของสตรีที่ทำงานหาเช้ากินค่ำ 9 โมงเช้ายัน 5 โมงเย็น ภายใต้ระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ที่ชวนปวดใจยิ่ง ไม่ว่าจะทำดีแค่ไหนเขาก็ไม่ได้ยกย่องเชิดชู แถมเอารัดเอาเปรียบ เอาความดีความชอบไปเองอีกต่างหาก

 

Working 9 to 5

What a way to make a living

Barely gettin’ by

It’s all taking

And no giving

They just use your mind

And they never give you credit

It’s enough to drive you

Crazy if you let it

 


“Just a Girl” – No Doubt

 

Play video

 

หนึ่งในเพลงที่ได้รับการยกย่องของ No Doubt ที่เล่าเรื่องจากมุมมองของ “สาวน้อย” ที่ต้องได้รับการ “ปกป้อง” ตลอดเวลา ด้วยท่าทีแกมเหน็บเจ็บแสบ แรกเริ่มเดิมที เกว็น สเตฟานีเขียนเพลงนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการต่อต้านพ่อของเธอที่เฮี้ยบกับเธอจนเกินไปและดุด่าว่าเธอหลังจากที่เธอไปหาโทนี่ (มือเบสของวง) ที่บ้านและขับรถกลับบ้านมาดึก ๆ ทั้ง ๆ ที่เธอก็ 30 แล้วยังดุด่าว่าเธอเหมือนเป็น “เด็กน้อย” ไปได้ !

 

‘Cause I’m just a girl, oh, little old me

Well, don’t let me out of your sight

Oh, I’m just a girl, all pretty and petite

So don’t let me have any rights

 

เพลงนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในเพลงพลังหญิงของทศวรรษที่ 90s และมันยังคงได้รับความนิยมและถูกพูดถึงอยู่เสมอ อย่างล่าสุดก็ถูกนำมาใช้ในภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโรพลังหญิง “Captain Marvel” ซึ่งมีเรื่องราวอยู่ในยุค 90s ด้วย


“Independent Women” – Destiny’s Child

 

Play video

 

บทเพลงสุดสตรองจากสามสาว “Destiny’s Child”  Beyoncé Knowles, Kelly Rowland, และ Michelle Williams เพลงนี้แรกเริ่มเดิมทีถูกใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง นางฟ้าชาลี “Charlie’s Angels” เวอร์ชันปี 2000 เนื้อหาของเพลงทั้งเฉียบ ทั้งสตรอง เอาแบบผู้ชายฟังแล้วอึ้งไปเลย พวกเธอต้องการที่จะบอกว่าผู้หญิงนั้นดูแลตัวเองได้ หาเงินใช้จ่ายซื้อของที่อยากได้ด้วยตัวเองไม่จำเป็นที่ต้องพึ่งพาพึ่งพิงผู้ชายตลอดเวลา และความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงนั้นเป็นความสัมพันธ์แบบ “ฉันไม่พึ่งเธอและเธอก็ไม่ต้องพึ่งฉัน” เราต่างยืนบนลำแข้งของกันและกัน เราเท่าเทียมกัน ทำอะไรก็ “50-50 โอเค๊ ?”

 

Question, tell me what you think about me

I buy my own diamonds and I buy my own rings

Only ring your celly when I’m feelin lonely

When it’s all over, please get up and leave

Question, tell me how you feel about this

Try to control me, boy, you get dismissed

Pay my own fun, oh, and I pay my own bills

Always 50-50 in relationships

 


“Don’t Touch My Hair” – Solange feat. Sampha

 

Play video

 

ในบริบททางวัฒนธรรมของคนผิวดำ เส้นผมของสตรีนั้นเปรียบได้ดั่ง “จิตวิญญาณหรืออวัยวะสำคัญที่ยื่นออกมาจากร่างกาย” เป็นศักดิ์ศรีและความภาคภูมิใจของอิสตรี การที่พวกเธอต้องอยู่ในวัฒนธรรมของชายผิวขาวเป็นใหญ่ ทำให้เธอถูกละเมิดเกียรติที่พึงมี  Solange จึงเขียนเพลงนี้ขึ้นมาเพื่อประกาศกร้าวให้ชายทั้งหลายได้เข้าใจความรู้สึกอันอัดอั้นของพวกเธอ และเพื่อเป็นการคงไว้ซึ่งจิตวิญญาณ จิตใจ และตัวตนของพวกเธอทั้งหลาย

 

Don’t touch my hair

When it’s the feelings I wear

Don’t touch my soul

When it’s the rhythm I know

Don’t touch my crown

They say the vision I’ve found

Don’t touch what’s there

When it’s the feelings I wear

 


“Pynk” – Janelle Monáe

 

Play video

บทเพลงนี้มาจากอัลบั้มชุดที่ 4 “Dirty Computer” ในปี 2018 งานเพลงที่เธอตั้งใจเชิดชู “อิสรภาพทางเพศ” เพลงนี้ได้นักร้องสาว Grimes มาโปรดิวซ์ให้ด้วย  Monáe ใช้ “สีชมพู” ที่มักจะเป็นสีแรกที่เรานึกถึงเวลากล่าวถึงผู้หญิงในการเปรียบเปรยว่าสีชมพูนั้นมักปรากฏอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอยู่ในที่ที่มีความสำคัญซึ่งผู้หญิงก็เป็นแบบนั้นเช่นกัน

 

Pynk, like the inside of your… baby

Pynk behind all of the doors… crazy

Pynk, like the tongue that goes down… maybe

Pynk, like the paradise found

Pynk when you’re blushing inside… baby

Pynk is the truth you can’t hide… maybe

Pynk, like the folds of your brain… crazy

Pynk as we all go insane

 

แต่อะไรก็คงไม่พีคเท่าชุด “จิมิ” ที่เธอใส่ใน MV นั่นล่ะ คือที่สุดของความครีเอตแล้ว !

 


“Juice”- Lizzo

 

Play video

ไม่สวย ไม่ใส ไม่เป็นไร ไม่รักไม่หลงฉันก็ไม่เป็นไร “Juice” คือบทเพลงสร้างพลังใจให้เพื่อนสาวทั้งหลายได้รู้ว่าตนเองนั้นมีค่า คุณค่านั้นอยู่ที่ตัวเรา หาได้อยู่ที่คำใครไม่ บอกเลย !!

 

If I’m shinin’, everybody gonna shine (Yeah, I’m goals)

I was born like this, don’t even gotta try (Now you know)

I’m like chardonnay, get better over time (So you know)

Heard you say I’m not the baddest, bitch, you lie (Haha)

 

และด้วยพลังหญิงของเธอนี่ล่ะจึงทำให้อัลบั้ม “Cuz I Love You” ของเธอได้รับรางวัลแกรมมี่เมื่อต้นปีในสาขา “Best Urban Contemporary Album” แถมพ่วงด้วยรางวัล “Best Traditional R&B Performance” จากเพลง “Jerome” มาด้วยอีกหนึ่งรางวัล


 “God Is a Woman” – Ariana Grande

 

Play video

อื้อหือออ กันไปเลยเพลงนี้ กับ  “God Is a Woman” ของสาวอารีอานา กรานเด ดูจากชื่อเพลงแล้วอาจจะคิดว่าเป็นเพลงที่สื่อว่าผู้หญิงนั้นเหมือนพระเจ้าเป็นผู้สร้างสรรค์นู่นนี่นั่นต่าง ๆ นานา แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลยจ้า เพลงนี้เกี่ยวกับพลังหญิงในด้านของการมีสัมพันธภาพทางเพศที่ทรงพลังมัดใจชาย ประมาณว่าหากเธอมีอะไรกับฉันแล้ว เธอจะรู้ว่าพระเจ้ามีจริง และพระเจ้าคนนั้นก็คือผู้หญิงอย่างฉันคนนี้นี่ล่ะ โว้ววว

 

You, you love it how I move you

You love it how I touch you

My one, when all is said and done

You’ll believe God is a woman

And I, I feel it after midnight

A feelin’ that you can’t fight

My one, it lingers when we’re done

You’ll believe God is a woman

 


“Old Man” – Stella Donnelly

 

Play video

 

เพลงเปิดของอัลบั้ม “Beware of the Dogs” ของแม่สาวสุดแสบสเตลล่า ดอนเนลลี ที่มาพร้อมงานดนตรีในสไตล์อินดี้พอปหวานแหวว เรียบง่าย ฟังสบาย แต่กลับมาพร้อมเนื้อเพลงแสบ ๆ คัน ๆ ที่สะท้อนเรื่องราวร่วมสมัยในสังคมได้อย่างเจ็บแสบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการล่วงละเมิดทางเพศ การใช้ความรุนแรงจากผู้ชาย กฏหมายการทำแท้ง และอีกมากมาย อย่างเพลง “Old Man” นี่ก็แสบใช่เล่น ท่วงทำนองของเพลงนี้มาในทีสนุกสนาน แต่เนื้อหานี่กลับเป็นการประกาศกร้าวแทนผู้หญิงทั้งหลายที่ถูกอำนาจผู้ชายขมขี่ อำนาจที่ถือครองมานานถึงวันต้องสั่นคลอนแล้วคราวนี้  “ลุง” ทั้งหลายหากได้ฟัง คงหนาว ๆ ร้อน ๆ กันบ้าง

 

Oh, are you scared of me, old man?

Or are you scared of what I’ll do?

You grabbed me with an open hand

The world is grabbin’ back at you

 


“Your Dog” – Soccer Mommy

 

Play video

แค่เห็นชื่อเพลงก็จี๊ดแล้ว กับ “Your Dog” จากสาวอินดี้ร็อก Soccer Mommy หรือ Sophia Regina Allison ที่ประกาศกร้าวไว้ตั้งแต่ท่อนแรกของเพลงเลยว่า “ฉันไม่อยากจะเป็นไอ้หมาห่….ของเธอหรอกเว้ยย!!”

 

I don’t wanna be your fucking dog

That you drag around

A collar on my neck tied to a pole

Leave me in the freezing cold

 

บทเพลงปลดปล่อยความกราดเกี้ยวของหญิงสาวที่ต้องตกอยู่ในความสัมพันธ์ที่ทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจ ใน MV เพลงนี้ Allison แสดงคู่กับ Julian Powell มือกีตาร์แฟนหนุ่มของเธอด้วย แถมเอาซะหลอนเลย งานนี้ไอ้หนุ่มของเธอคงมีเสียวสันหลังบ้างล่ะ โคตรร็อกจริง ๆ แม่สาวคนนี้ !! และเธอเพิ่งปล่อยอัลบั้มเต็มชุดใหม่ “Color Theory” ไปเมื่อปลายเดือนที่แล้วด้วย อย่าลืมไปฟังกันนะบอกเลยว่าเด็ดดวง !!

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส