หลังจากที่เรื่องนี้เป็นประเด็นมาสักพักตั้งแต่

ที่มาของภาพ : มติชน

ล่าสุดทาง กสทช. ได้แถลง โดย พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ Over The Top หรือ OTT ได้กล่าวใน “หารือกับสมาคมมีเดียเอเยนซี และธุรกิจสื่อดิจิตอลแห่งประเทศไทย, สมาคมโฆษณาดิจิทัลแห่งประเทศไทย และสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย เพื่อชี้แจงแนวทางการกำกับดูแลการให้บริการในรูปแบบโอทีที” ว่า

หาก Facebook และ YouTube ไม่มาลงทะเบียนภายใน 22 กรกฎาคม 2560 แล้วตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไปมีเอเจนชี่และบริษัทรายใหญ่ โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยังลงโฆษณาอยู่ใน 2 แพลตฟอร์มดังกล่าว จะถือว่าเป็นบริษัทที่ไม่มีธรรมาภิบาล และอาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย สำหรับมาตรการทางกฎหมาย ทาง กสทช. จะเลือกใช้เป็นมาตรการสุดท้าย

ด้าน Google เจ้าของ YouTube แจง “ยังไม่คอนเฟิร์มลงทะเบียน OTT กับ กสทช.”

ทาง Google ประเทศไทย ได้ชี้แจงว่า “ได้แจ้งเรื่องการลงทะเบียนเป็นผู้ให้บริการ OTT กับกสทช. ไปยัง “Google สิงคโปร์ ซึ่งดูแลภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” แล้ว  แต่ยังไม่ยืนยันว่าจะดำเนินการเรื่องนี้ได้หรือไม่ เนื่องจาก ข้อกำหนดของ กสทช. ยังไม่มีความชัดเจน และทาง Google ได้กล่าวว่า ได้เสียภาษีในรูปแบบต่างๆ ในประเทศไทยอย่างถูกต้อง และหากอนาคตมีการเก็บภาษีออนไลน์เพิ่ม ยังให้คำตอบไม่ได้ว่าจะดำเนินการอย่างไร เพราะยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับกฎหมายนี้

ด้าน AIC (ที่มี Facebook, Google เข้าร่วม) แจง กสทช.กำหนดโดยไร้การปรึกษาหารือกับภาคสาธารณะ 

เจฟฟ์ เพน กรรมการผู้จัดการสหพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชีย (Asia Internet Coalition) กล่าวว่า “กสทช. ไม่ได้ประกาศร่างข้อบังคับ OTT ต่อสาธารณชน โดยบอกว่าจากการสังเกตการณ์ผ่านรายงานของสื่อมวลชนเรื่องการขอให้บริษัทต่าง ๆ เข้ามาขึ้นทะเบียนเป็นบริการ OTT ภายใน 30 วัน แต่กลับไม่มีการประกาศร่างข้อบังคับอย่างเป็นทางการ”

ประเด็นนี้น่าติดตามต่อไปครับว่าจะมีมาตรการอย่างไรต่อไป และเอเจนซีโฆษณาออนไลน์อาจต้องวางแผนปรับตัวครับ

อ้างอิงจาก : มติชน, Manager Online (1) (2), positioningmag, เดลินิวส์

ภาพหน้าปก : Free Photo Stock https://www.pexels.com/photo/access-app-application-apps-267399/