หลังจากที่เป็นประเด็นดราม่าใน 2 ข่าวก่อนหน้านี้

ทางเว็บแบไต๋จึงอยากนำความเห็นจากบุคคลที่ผลิตรายการบนอินเทอร์เน็ตมาให้ฟังกันบ้าง ว่ามีความเห็นอะไรกันบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้ (ขอย้ำว่าเป็นความเห็นของผู้ดำเนินรายการเท่านั้น ทางเว็บแบไต๋ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด แค่นำมาเผยแพร่เท่านั้น)

“รายการคุยไม่ได้ศัพท์” โดย “GUIaxy Podcast” ตอนที่ 31 (ทางเว็บแบไต๋สรุปสั้นๆ เท่านั้น ควรฟังรายการเต็มๆ ด้วยนะครับ)

https://soundcloud.com/up2gu/ep31-nbtc-ott

ทางรายการนี้ผู้ดำเนินรายการได้ให้ความเห็นว่า

“เป็นเพราะว่าเกิดจากความบูมของ OTT ที่มีผู้ผลิตรายการบางช่อง บางรายการที่ทำดิจิตอลทีวีอยู่แล้ว นำรายการมาลงบนสื่อ OTT อย่าง Facebook, YouTube, LINE TV, AIS Play จนทำให้พฤติกรรมคนดูเปลี่ยน มาดูรายการแบบเดียวกับในดิจิตอลทีวีบนช่องทางพวกนี้ ทำให้หลายๆ ช่องเสียเปรียบ เนื่องจากประมูลช่องมาด้วยเงินมหาศาล ส่วนทาง กสทช. ก็เสียผลประโยชน์ตรงนี้เช่นกันเนื่องจากไม่สามารถทำให้ดิจิตอลทีวีโตตามเป้าได้

และเห็นว่าควรมีการให้ความเท่าเทียมในการประกอบการด้านโทรทัศน์เพื่อควบคุมเนื้อหาคอนเทนท์ที่รุนแรง จีงเข้ามาจัดระเบียบ แต่ที่แท้จริงแล้วอาจเป็นเพราะอยากจะเข้ามาเก็บภาษีมากกว่าแล้วเอาการจัดระเบียบมาอ้าง แต่จริงๆ แล้ว ผู้ผลิตรายการหรือ Content รายใหญ่ หรือบริษัทเอเจนซี ก็เสียภาษีอย่างถูกต้องอยู่แล้ว และเห็นว่าถ้าดูแลเรื่องภาษีอาจจะเกินหน้าที่ของ กสทช.”

แต่ผู้ดำเนินรายการก็เสนอแนวทางที่น่าจะดีกว่าที่ กสทช. ทำอยู่ แนะนำให้ไปฟังในรายการเต็มๆ ครับ

“สรุปการเสวนา OTT ง่ายๆใน 1 คลิป (โลก Internet จะถูกควบคุมจริงๆหรอ)” โดยช่อง “KNN” ทาง YouTube (ทางเว็บแบไต๋สรุปสั้นๆ เท่านั้น ควรดูรายการเต็มๆ ด้วยนะครับ)

Play video

และเมื่อเดือนพฤษภาคม ทาง กสทช. มีการเชิญ YouTuber และแอดมินเพจ Facebook ดังๆ ที่มียอดติดตามเยอะๆ มาเข้าร่วมประชุมแนวทางการกำกับดูแล OTT หนึ่งในนั้นคือช่อง KNN

“KNN ได้กล่าวว่ามาตรการคือ “ต้องการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันให้กับทีวีและผู้ประกอบการ” โดยต้องการให้รับเรื่อง ปลดคอนเทนท์ที่ผิดกฎหมายได้ง่ายขึ้น ไม่ได้ต้องการควบคุมอิสระภาพในการผลิตคอนเทนท์ ส่วนในเรื่องการลงทะเบียนจะเป็นการบังคับ”

และในคลิปนี้ยังอธิบายถึงข้อดีของการมีการกำกับดูแล ไปดูคลิปเต็มๆ ได้ครับ แต่ว่าคลิปนี้ “เผยแพร่เมื่อ 6 มิ.ย. 2017″ ซึ่งมาก่อนข่าวล่าสุดที่จะเล่นงานบริษัทที่ลงโฆษณาบน Facebook, YouTube หากทั้ง 2 แพลตฟอร์มนี้ไม่มาลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ OTT ภายใน 22 กรกฎาคม 2560

ที่มา : KNN , GUlaxy Podcast 

ที่มาของภาพหน้าปก : Pexels Free Photos Stock (1, 2)