เหตุประท้วงขับไล่ประธานาธิบดี Alexander Lukashenko ที่เพิ่งชนะการเลือกตั้งสมัยที่ 6 หลังครองอำนาจมายาวนานถึง 26 ปี โดยประชาชนเบลารุสมองว่า Lukashenko ที่ชนะด้วยคะแนนแบบถล่มทลายด้วยคะแนนกว่า 80% นั้น ได้คะแนนมาจากโกงการเลือกตั้ง ส่งผลให้เกิดการประท้วงขึ้นของประชาชนในหลายจุดของประเทศผ่านมาแล้ว 1 สัปดาห์ จากผู้ชุมนุมร่วม 10,000 คน รัฐบาลได้ทำการจับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องมากกว่า 6,000 คน

Lukashenko's Biggest Election Opponent: the Internet | Voice of ...
Alexander Lukashenko (ภาพจาก VOA/Reuters)

มากไปกว่านั้น มีรายงานการเสียชีวิตของผู้ที่ถูกจับกุมระหว่างการชุมนุมประท้วง จำนวน 2 ราย คู่แข่งของเขาคือ นาง Svetlana Tikhanovskaya วัย 37 ปีซึ่งเธอลงสมัครแทนสามีที่เป็นเป็นบล็อกเกอร์ที่มีชื่อเสียง เขาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลเผด็จการตลอดมา แต่ถูกขัดขวางไม่ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งและถูกจำคุก ตอนนี้ นาง Svetlana ได้หนีออกนอกเบลารุสขอลี้ภัยไปอยู่ประเทศลิธัวเนีย ด้วยเกรงว่าชีวิตจะไม่ปลอดภัย แต่เธอก็ได้ส่งคลิปปลุกระดมมวลชนให้ออกมาประท้วงอยู่เนือง ๆ

A 37-Year-Old Opposition Candidate Challenges The Longtime Leader ...
Svetlana Tikhanovskaya (ภาพจาก Delaware Public Media)

นอกจากนี้ก็ยังปรากฎคลิปไวรัลไปทั่วโลก เป็นภาพของทหารเบลารุสหลายนายถ่ายวิดีโอของตนเองยอมถอดเครื่องแบบ ขัดขืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชา เพื่อที่จะได้ไม่ต้องปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง เหล่าทหารคนอื่น ๆ ได้เพิ่มจำนวนผู้ที่ถ่ายวิดีโอในลักษณะเดียวกัน ทำเป็นคลิปส่งต่อกันไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นกระแส  นอกจากนี้ยังมีตำรวจและทหารอีกหลายคนที่ปลดโล่ลง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าพวกเขาขอเลือกหนึ่งเดียวกับประชาชน ผู้ชุมนุมจึงตรงเข้าสวมกอด หอมแก้ม มอบดอกไม้ให้ แล้วตะโกนว่า “พวกเราคือพี่น้องกัน” กลายเป็นวินาทีประทับใจและมีการแชร์ภาพนี้ไปทั่วโลก

ประเทศเบลารุสเคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซียมาก่อน และมาประกาศเอกราชหลังสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1991 ต่อมาตั้งรัฐบาลได้สำเร็จในอีก 3 ปีให้หลัง โดยมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งแรกในปี 1994 แล้วก็ได้ Alexander Lukashenko มาเป็นประธานาธิบดี ผู้นำคนแรกและคนเดียวตั้งแต่นั้นจนวันนี้ผ่านมา 26 ปี  นโยบายบริหารประเทศของเขาได้รับอิทธิพลโดยตรงจากแนวคิดสังคมนิยมโซเวียต ทำให้ Lukashenko ได้รับฉายา “เผด็จการคนสุดท้ายของยุโรป”

จริง ๆ แล้ว ตอนรัฐธรรมนูญตอนตั้งประเทศจำกัดระยะเวลาของการครองตำแหน่งประธานาธิบดีไว้ที่สามารถตำแหน่งได้ 5 ปี ไม่เกิน 2 สมัย แต่ตามสไตล์ของประเทศเผด็จการในคราบประชาธิปไตย แต่พอ  Lukashenko จัดการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ ให้ตัวเขาเองสามารถดำรงตำแหน่งไปกี่สมัย นานเท่าใดก็ได้ไม่มีสิ้นสุด

ฟังเหตุการณ์ดูแล้วคุ้น ๆ กับประเทศรัสเซีย เมื่อเดือนที่แล้วละครฉากนี้ก็เกิดขึ้น เมื่อ Vladimir Putin ก็จัดทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เปิดทางให้ตัวเองอยู่ในอำนาจต่อไปได้จนถึงปี 2036 โดยผลคะแนนพบว่า มีประชาชนถึง 77% ที่โหวต “เห็นด้วย” กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ โดย Putin สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีได้อีก 2 สมัย สมัยละ 6 ปี รวมแล้ว 12 ปี (Putin เป็นประธานาธิบดีมาตั้งแต่ปี 2000 ก่อนจะสลับไปเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ 4 ปี และให้นายกรัฐมนตรีหุ่นเชิดขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีแทนตัวเอง)

ล่าสุดมีรายงานข่าวว่า Alexander Lukashenko ได้ต่อสายตรงหา Putin เพื่อขอความช่วยเหลือแกมขู่ว่า ถ้าเขาอยู่ไม่ได้ Putin ก็จะอยู่ครองอำนาจในรัสเซียต่อไม่ได้เช่นกัน เนื่องจากเบลารุสเป็นเมืองที่เคยอยู่ในการปกครองของรัสเซียคอยกั้นระหว่างมหาอำนาจตะวันตกในยุโรปกับรัสเซียเอาไว้ การประท้วงใหญ่ในเบลารุสก็มีสิทธิ์ลุกลามกลายเป็น “ยุโรปสปริง” เหมือนที่เกิดกับ “อาหรับสปริง” ที่รัฐบาลเผด็จการล้มเป็นโดมิโนเพราะประชาชนออกมาเรียกร้องปลดผู้นำกันหลายประเทศเรียงกันไป

นัยของ Lukashenko ก็คือ ถ้าผู้นำเบลารุสถูกโค่น สถานีต่อไปก็อาจเป็นรัสเซีย Putin  ก็รับปากว่าจะช่วยเท่าที่พอทำได้ และเตรียมกองกำลังไว้รอท่าสนับสนุนเบลารุส แต่ถ้าออกหน้ามากกว่านี้ก็จะถูกประชาคมโลกโจมตีในฐานะจอมจุ้นจ้านอย่างที่โดนมาโดยตลอด ต้องติดตามว่า Lukashenko จะหาทางออกในการรักษาอำนาจของตัวเองไว้ได้อย่างไร?

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส