18 ต.ค. 2565 – แอมะซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Service) หรือ AWS บริษัทในเครือ Amazon.com ประกาศแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ ด้วยการเปิดตัว Region ในประเทศไทย ที่จะมีชื่อว่า AWS Asia Pacific (Bangkok) ซึ่งจะมี Available Zone 3 แห่ง เพิ่มเติมจากเดิมที่มีอยู่แล้ว 87 แห่งใน 27 ภูมิภาคทั่วโลก และเตรียมที่จะสร้าง Available Zone ทั่วโลกอีก 24 แห่ง และ AWS Region รวม 8 แห่ง ในออสเตรเลีย แคนาดา อินเดีย อิสราเอล นิวซีแลนด์ สเปน และสวิตเซอร์แลนด์

Cornor McNamara Regional Managing Director in ASEAN และ Eric Conrad Regional Managing Director for Worldwide Public Sector in ASEAN กล่าวว่า AWS Asia Pacific (Bangkok) นอกจากการ Available Zone แล้ว ยังมีศูนย์ข้อมูล AWS ที่จะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ นักพัฒนา สตาร์ตอัป รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและการศึกษา สามารถเรียกใช้เรียกใช้แอปพลิเคชันของตนและให้บริการผู้ใช้ปลายทางได้รวดเร็ว และยังช่วงให้สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นมาได้ด้วยการใช้ประโยชน์จาก AWS เช่น Machine Learning , iot และ การวิเคราะห์ต่าง ๆ ทั้งนี้ AWS วางแผนที่จะลงทุนในประเทศไทยมากกว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 190,000 ล้านบาทในระยะเวลา 15 ปีขณะเดียวกัน การเปิดตัว 

AWS Asia Pacific (Bangkok) มีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐของไทยเข้าร่วมด้วย ได้แก่ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน , นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) , เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ซึ่งมีความยินดี และเชื่อว่า AWS จะช่วยนำบริการประมวลผลบนระบบคลาวด์ขั้นสูงเข้ามาสู่องค์กรในไทยมากขึ้น ช่วยให้ไทยบรรลุเป้าหมาย Thailand 4.0 

สำหรับ Available Zone ภายใน AWS Asia Pacific (Bangkok) มีการวางโครงสร้างพื้นฐานในที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่แยกจากกันและแตกต่างกัน มีระยะห่างเพียงพอที่จะลดความเสี่ยงหากเกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้งานต่อเนื่องของลูกค้า แต่ก็ใกล้พอที่จะให้เวลาแฝงต่ำสำหรับแอพพลิเคชั่นที่มีความพร้อมในการใช้งานสูง ทั้งนี้แต่ละแห่งมีพลังงานระบายความร้อนและการรักษาความปลอดภัยที่แยกจากกัน ทั้งนี้ AWS ได้เริ่มทำการสำรวจพื้นที่ในการตั้ง Available Zone แล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยสถานที่ และช่วงเวลาที่จะเปิดให้บริการได้

ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในลูกค้าหลายล้านรายที่ใช้งาน AWS ในกว่า 190 ประเทศทั่วโลก เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและประหยัดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็น บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ใช้รันแอปพลิเคชันให้บริการต่าง ๆ รวมถึง E-Wallet , บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PPTGC) ที่ใช้เพิ่มความเร็วในการป้อนข้อมูลวิเคราะห์สภาพแวดล้อม , บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (โออาร์) ใช้ AWS เพื่อเก็บข้อมูล Loyalty Management System นอกจากนี้ยังมีบริษัทและหน่วยงานอื่น ๆ เช่น SCG , มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช , เอ็นเรส (ENRES) และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น

ขณะเดียวกัน AWS ยังมีพันธมิตรในประเทศไทย ที่เป็นส่วนหนึ่งของ AWS Partner Network (APN) ที่รวมผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (ISV) และผู้รวมระบบ (SI) กว่า 100,000 รายทั่วโลก ช่วยกันสร้างโซลูชันและบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ และให้การสนับสนุนด้านธุรกิจ เทคนิค การตลาดต่าง ๆ เช่น เดลิเทค (Dailitech) , G-Able , บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NTT) , ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ (ทรูไอดีซี) , 2C2P และ เอมิตี้ (Amity) 

อย่างไรก็ตามก่อนหน้าที่จะมีการเปิดตัว AWS Asia Pacific (Bangkok) AWS ได้เริ่มลงทุนในไทยมาแล้วหลายครั้ง โดยในปี 2563 ได้เปิดตัว Amazon Cloudfront edge ทั้งหมด 10 แห่งในกรุงเทพฯ ซึ่งสามารถช่วยเร่งการส่งข้อมูล วิดีโอ แอปพลิเคชัน และ API และในปีเดียวกัน ได้เปิดตัว AWS Outposts เป็นบริการที่มีการจัดการเต็มรูปแบบ ส่งมอบโครงสร้างพื้นฐานและบริการของ AWS ไปยังตำแหน่งที่ตั้งในองค์กร หรือ Edge Location แทบทุกแห่ง เพื่อการทำงานที่ง่ายขึ้น

ต่อมาในช่วงต้นปี 2564 AWS ได้ประกาศวางแผนการลงทุนด้วยการเปิดตัว AWS Local Zone ในกรุงเทพฯ ซึ่ง เป็นบริการปรับใช้โครงสร้างพื้นฐานของ AWS จัดวางการประมวลผล พื้นที่จัดเก็บ ฐานข้อมูล และบริการอื่น ๆ โดยปัจจุบันยังอยู่ระหว่างดำเนินการ นอกจากนี้ยังลงทุนในการพัฒนาทักษะให้กับนักพัฒนาไทย นักเรียน และผู้นำด้านไอทีทุกรุ่นผ่านโปรแกรมต่าง ๆ เช่น AWS re/Start , AWS Academy และ AWS Educate ซึ่งปัจจุบันสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย 8 แห่ง ได้รวมบรรจุ AWS Academy ไว้ในหลักสูตรสถาบันแล้ว และยังวางแผนจะให้การสนับสนุน ฝึกอบรมบุคลากรให้ได้มากกว่า 1200 คน

ขณะเดียวกัน ยังได้สนับสนุนสตาร์ตอัปไทยในระยะเริ่มต้น ผ่านโปรแกรม AWS Activate ให้การเข้าถึงคำแนะนำและปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญแบบตัวต่อตัว และให้โอกาสในการเข้าถึงเครดิตบริการของ AWS สูงสุด 100,000 เหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังได้ขยายโปรแกรม Startup Ramp มายังอาเซียน สนับสนุนสตาร์ตอัป ช่วยตรวจสอบออกแบบทางเทคนิค สถาปัตยกรรม การให้คำปรึกษา การสนับสนุนด้วยแผนออกสู่ตลาด และจะช่วยในเรื่องข้อกำหนดด้านกฎระเบียบและความปลอดภัยที่ซับซ้อนด้วย

อย่างก็ตาม เพื่อบรรลุคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในการดำเนินงานภายในปี 2583 ซึ่งเร็วกว่าข้อตกลงปารีสถึง 10 ปี Amazon ได้ร่วมก่อตั้ง The Climate Pledge ขับเคลื่อนการดําเนินงานด้วยพลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2568 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายเดิม (ปี 2573) ถึง 5 ปี Amazon โดย ณ สิ้นปี 2564 บริษัทมีพลังงานหมุนเวียนถึง 85% ทั่วทั้งธุรกิจ องค์กรที่ย้ายปริมาณงานการประมวลผลไปยัง AWS Cloud สามารถได้รับประโยชน์จากความพยายามด้านความยั่งยืนของ Amazon ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส