งาน CEBIT ถือเป็นงานแสดงสินค้าและธุรกิจด้านเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน มีจุดกำเนิดจากประเทศเยอรมันนี ซึ่งปัจจุบันได้มีการขยายตลาดออกมาเป็น 4 ประเทศคือ ออสเตรเลีย จีน และไทย

ในชื่อ CEBIT ASEAN Thailand: Unlock Your Business ได้รับความร่วมมือทั้งภาครัฐฯ และเอกชน โดยเป้าหมายของการจัดงานครั้งแรกนี้ตั้งใจต้อนรับนักลงทุนกว่า 300 บริษัทผู้จัดและดึงดูดผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและผู้นำด้านอุตสาหกรรมกว่า 8,000 รายทั่วทั้ง ASEAN ที่จะเดินทางมาในงาน โดยเริิ่มวันที่ 18 – 20 ตุลาคมนี้

หัวข้อกิจกรรมต่าง ๆ ภายในงาน

  • d!conomy กิจกรรมเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีธุรกิจต่าง ๆ ที่เป็นในด้าน IoT และเทคโนโลยีที่น่าสนใจในอนาคตอันใกล้
  • d!tec รวมรวบ Startup ทั้งในและต่างประเทศกว่า 100+ กลุ่มทั้งในและต่างประเทศมาเพื่อแสดงศักยภาพให้ได้เห็นภายในงานนี้
  • d!talk เป็นการรับฟังสัมนาที่เป็นหัวข้อหลัก ๆ ที่อยู่ในธุรกิจและถูกสนใจในกลุ่มธุรกิจอนาคต โดยผู้ให้ความรู้มีทั้งในและต่างประเทศ เช่น Big Data Analytic เป็นต้น
  • d!campus เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อการต่อยอดทางธุรกิจในอนาคต

โดยในงานนี้จะยังมีการจัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบทั้งในและต่างประเทศ เพื่อกระจายข่าวให้กับทั้งคนไทยและชาวต่างชาติกับงาน CEBIT ASEAN Thailand 2018 นี้ทั้งในรูปแบบ Roadshows ตามประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน รวมไปถึงการจัด Press Conference อีกครั้งก่อนงานเริ่ม

MR. Loy Joon How General Manager IMPACT Exhibition Management Co.,Ltd. ได้ขึ้นกล่าวในงานนี้ว่า ทางอิมแพคก็ได้มีความยินดีมากที่ได้รับการจัดงาน CEBIT ASEAN Thailand ในครั้งนี้ เพราะโลกในปัจจุบันถูกผลกระทบ Technology Disruption เป็นอย่างมาก จึงต้องได้รับการเรียนรู้ในสิ่งที่ถูกต้อง และสิ่งใหม่ ๆ เพื่อให้ SME สามารถก้าวไปสู่อนาคตได้ ทั้งด้านของ FinTech, AI, Robot, IoT รวมไปถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมายที่ภาครัฐฯ กำลังผลักดันให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุค 4.0 เพื่อก้าวสู่อนาคตอย่างยั่งยืน

คุณอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้กล่าวในงานนี้ว่า เราคงตระหนักเรื่องเทคโนโลยีดิจิตอลเป็นอย่างดีว่า ปัจจุบันนั้นตลาดในอาเซียนมีการเติบโตด้านธุรกิจดิจิตอลภาคอาเซียนมีมากกว่า 500,000 ล้านดอลล่าร์ ซึ่งใน 10 ปีข้างหน้าจะเติบโตขึ้นอีก 10 เท่า ซึ่งเป็นการเติบโตอย่างรวดเร็วและได้รับการจับตามองจากทั่วโลก

ซึ่ง GDP ในภูมิภาคอาเซียนนี้อยู่ในอันดับ 7 ของโลก และอาจจะขึ้นไปถึงอันดับ 4 ในอีกไม่นาน โดยมีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเป็นอันดับ 4 ประเทศไทยจึงเป็นตลาดที่สำคัญของ Digital หลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น Social Media หรือตลาดด้านอุปกรณ์ไอที ก็สูงถึง 12,700 ล้านเหรียญสหรัฐเ ในปี 2017 ซึ่งถือว่าเป็น 1 ในประเทศที่มีความโดดเด่นด้านเทคโนโลยีดิจิตอลในภูมิภาคอาเซียนเป็นอย่างมาก

การก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0 ปัจจัยหลักจะต้องใช้ Digital Economy เพื่อจะต้องผลักดันในด้านเศรษฐกิจดิจิตอล และเพิ่มรายได้ต่อหัว พร้อมผลักดันการใช้เทคโนโลยีมาแล้วกว่า 3 ปี เริ่มต้นโดยการจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Fiber Optic ให้กับทุกหมู่บ้านในไทย เพื่อให้ชีวิตในชนบทมีคุณภาพ ยกระดับการใช้ชีวิตได้มากขึ้นในชื่อ “โครงการเน็ตประชารัฐ” ปัจจุบันมี 27,500 หมู่บ้านที่ได้รับการใช้งานแล้วกว่า 80% ของทุกหมู่บ้านในประเทศไทย เหลือเพียง 15,000 หมู่บ้าน ซึ่งเชื่อว่าโครงการนี้จะแล้วเสร็จภายในปี 2018 นี้

และยังแนะนำได้คนไทยรู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิตอล เพราะคนไทยโดยเฉลี่ยใช้งานอินเตอร์เน็ต 9 ชั่วโมงต่อวัน แต่หลายคนไม่ได้ใช้งานในการหาความรู้ เป็นการใช้งานเพื่อความบันเทิงเป็นส่วนมาก จึงต้องมีการให้ความรู้ว่า ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลยังไงให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ในปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนาพื้นที่ Smart City ออกมาแล้ว 3 จังหวัดนอกเหนือจาก กรุงเทพมหานครคือ เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น ซึ่งในเมืองจะมีทั้งเรื่องระบบ CCTV ที่สามารถควบคุมได้ทั้งจังหวัด สร้างความปลอดภัยได้มากขึ้น หรือภูเก็ตที่มีระบบ Face Reconition ที่สามารถตรวจจับใบหน้าคนร้าย หรือตรวจจับรถยนต์ได้แล้ว เป็นต้น และอีกทั้งในอนาคตอันใกล้ ทางกระทรวงได้มีเป้าหมายในการสร้าง Institute หรือสถาบันสำหรับ IoT เพื่อพัฒนาคนและช่วยต่อยอดธุรกิจ โดยให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใช้งานได้อย่างเต็มที่

อีกด้านที่สำคัญคือการสร้างระบบ Cybersecurity ซึ่งได้เริ่มมีการร่างกฎหมายมาหลายปีแล้ว และจะเริ่มดำเนินการใช้งานเร็ว ๆ นี้

และสุดท้ายนี้คือการทำ Digital Government ที่กำลังเปลี่ยนแปลงการใช้กระดาษให้กลายเป็น Paperless ติดต่อราชการ ไม่ต้องใช้เอกสารอะไร เพียงแค่ใช้บัตรประชาชนใบเดียวเท่านั้น (ในที่สุดก็ได้ใช้ชิปแล้ว!) ซึ่งที่ได้กล่าวมาทั้งหมดเป็นการผลักดันประเทศให้ก้าวสู่ Digital Economy และเชื่อว่าตลาดในประเทศไทยจะเติบโตขึ้นไปได้อีกอย่างแน่นอน

ดร. ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ก็ได้ขึ้นกล่าวในงานนี้ว่า ประเทศไทยจะต้องก้าวผ่านสู่ Digital Economy ให้ได้ ด้วย อุตสาหกรรม Digital รวมไปถึงส่งเสริมการ Adopt เทคโนโลยี ต่าง ๆ เข้ามาใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการกระจายความรู้สร้างทรัพย์สินทางปัญญาให้กับคนทั่วไป เพื่อนำไปต่อยอดในอนาคต

กำหนดอุตสาหกรรมดิจิตอล 5 ประเภทหลักคือ

  1. อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
  2. อุตสาหกรรมด้านคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ
  3. อุตสาหกรรมบริการด้านดิจิตอล ที่ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็น Startup (เช่น Grab, Uber เป็นต้น)
  4. อุตสาหกรรมดิจิตอลคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็นด้านเกม, หนัง หรือ Data Analytics
  5. อุตสาหกรรมด้านการสื่อสารที่ปัจจุบันไม่ได้มีการทำเพียงแค่บริษัทใหญ่ ๆ แต่เริ่มมี Startup เข้ามาทำแล้ว

โดยมีเป้าหมายการเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้คือ จะต้องมองภาพว่า ประเทศไทยกว่า 70 ล้านคน จะต้องมีการใช้ Cloud ที่สามารถนำเอา Big Data เข้ามาใช้งานได้ ซึ่งต้องมีกลุ่มอุตสาหกรรม Data Center เป็นสิ่งสำคัญที่ประเทศไทยนั้นยังมีอยู่ไม่มาก ถ้าเราไม่สามารถเก็บข้อมูล Big Data เหล่านี้ไว้และดึงมาใช้ไม่ได้ ก็จะเป็นการเสียประโยชน์ไปเปล่า ๆ แต่ถ้าสามารถดึงออกมาใช้ได้ ก็สามารถนำมาเป็น Solution ต่าง ๆ ที่เกิดจาก Innovation ใหม่ ๆ ขึ้นได้

รูปแบบการวัดผลปัจจุบันเปลี่ยนจากการวัดผลแบบ GDP ตามปกติกลายเป็นระบบการชี้วัดอื่น ๆ เช่น Digital Density หรือเรื่องอื่น ๆ ที่สามารถใช้ชี้วัดได้ดียิ่งกว่าเดิมและตรงกลุ่มเป้าหมายยิ่งขึ้น เพื่อให้สุดท้ายให้กลายเป็น Smart City ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องมีการขับเคลื่อนทั้งภาครัฐฯ และภาคเอกชนร่วมกัน

อีก 1 เรื่องที่กระทรวงตั้งใจผลักดันคือ การสร้างเด็กที่สามารถเขียน Coding หรือการเขียนโปรแกรมตั้งแต่เด็ก โดยเรียนผ่านระบบ Cloud เพราะปัจจุบันประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงวิกฤติด้านบุคลากร Programmer เป็นอย่างมาก ถ้าสามารถพัฒนาได้ ภายใน 5 ปีประเทศไทยก็จะสามารถก้าวไปอีกขั้นได้อย่างแน่นอน

แล้วพอหลังจากเตรียมคนไว้แล้ว เราต้องเตรียมเศรษฐกิจให้ได้ ซึ่งปัจจุบันมี Startup หลายท่านที่สามารถก้าวสู่ตลาดใหญ่ได้ผ่านการผลักดันจากหลาย ๆ เจ้า โดยส่งเสริมให้คนอยากใช้แอปฯ หรือสิ่งที่เขาสร้างขึ้นมา สร้างความเชื่อมั่น รวมไปถึงการช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจต่อนักพัฒนา

อีกด้านคือกลุ่มรากหญ้า ชาวนาชาวสวนที่เราจะต้องมีการนำเทคโนโลยีไปพัฒนาเพื่อให้พวกเขาก้าวเท่าทันโลกของ Digital Economy โดยไม่ถูกเอาเปรียบ

อีก 1 ก้าวสำคัญที่กระทรวง DE ตั้งใจทำคือ การจับมือกับ CAT Telecom ในการสร้าง IoT Institute ซึ่งไม่ใช่มหาวิทยาลัย ไม่ใช่่สถาบัน แต่สามารถ Launch เทคโนโลยีใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดได้

สุดท้ายแผนเหล่านี้ตั้งใจที่จะผลักดันให้แล้วเสร็จในปี 2020 ร่นจากปี 2021 มา 1 ปีเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ก้าวพ้นผ่านยุค Digital Disruption ไปได้อย่างยั่งยืน และเห็นโอกาสที่ประเทศไทยจะพัฒนาก้าวล้ำไปข้างหน้าอย่างยั่งยืนและแน่นอน

และในงานนี้ก็ได้มีเหล่า Speaker ขึ้นมาพูดเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีอีกหลายท่านด้วยกัน

สำหรับใครที่สนใจ อย่าลืมลง Schedule ของท่านเอาไว้ งานจะเริ่มวันที่ 18 – 20 ตุลาคมนี้ที่ IMPACT Exhibition & Convention Center หรืออิมแพค เมืองทองธานี Hall 7 – 8 สำหรับใครที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปได้ที่นี่ www.cebitasean.com