Play video

หลายคนอาจคิดว่าวิกฤติ AI หรือปัญญาประดิษฐ์แทรกแซงงานมนุษย์ (AI Disruption) เป็นเรื่องที่ไกลตัว (เพราะภาพจำจากภาพยนตร์ว่าจะต้องมาในรูปแบบของหุ่นยนต์ ฯลฯ) แต่เอาเข้าจริง ๆ  AI นั้นอยู่รอบตัวเรามาแต่ช้านานและได้ แทรกแซงเข้ามาในชีวิตของพวกเราโดยไม่รู้ตัวในรูปแบบของอุปกรณ์อัฉริยะทั้งหลาย เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ อักษร เอ็ดดูเคชั่น (Aksorn) ผู้นำด้านนวัตกรรมและออกแบบกระบวนการเรียนการสอนครบวงจร จึงพร้อมติดอาวุธให้ครูไทยยกระดับการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ หวังแก้สถานการณ์ครูไทยสอนอย่างไรให้เด็กรู้จักคิดและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ย้ำชัดครูทุกคนสอนได้หากได้รับการแนะแนวทางการสอนที่ดี พร้อมเน้นอนาคตคนได้เปรียบไม่ใช่คนที่รู้จักใช้เทคโนโลยีแต่คือคนที่สร้างเทคโนโลยีด้วยวิชา “วิทยาการคำนวณ”

นายตะวัน เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้อธิบายถึงรายวิชาดังกล่าวว่า วิชาวิทยาการคำนวณไม่ได้สอนเพื่อให้เด็กทุกคนที่เรียนต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ หรือ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ แต่ต้องการให้เด็กมีทักษะการคิดที่ถูกใช้ในการทำความเข้าใจปัญหา และสามารถสร้างแนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบก่อนที่จะมีการนำมาเขียนโปรแกรมหรือโค้ดดิ้ง (Coding) ที่กำลังจะกลายเป็นทักษะพื้นฐานอันเป็นประโยชน์ในสายงานในอนาคต

โดยในทุกวันนี้ หลายกลุ่มในประเทศชั้นนำทางการศึกษาทั่วโลก (ฟินแลนด์, เกาหลีใต้ ฯลฯ) ก็ได้บรรจุวิชานี้ไว้ในหลักสูตรระดับชาติ ซึ่งอักษร เอ็ดดูเคชั่น ก็คาดหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมผลักดันเรื่องนี้สู่การศึกษาไทยต่อไป ซึ่ง โดยที่ผ่านมาทางเราได้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรงพร้อมเปิดให้มีการอบรมสัมมนาครูทั่วประเทศเพื่อสร้างความเข้าใจและชี้ให้เห็นถึงกระบวนการเรียนการสอนผ่านสื่อการเรียนรู้ที่ช่วยเสริมให้เด็กเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ ในรูปแบบที่ครูทุกคนสามารถนำไปปรับใช้กับบริบทห้องเรียนของตนเองได้ ซึ่งการอบรมนี้จะทำให้ครูเห็นภาพและเกิดไอเดียดีๆ ในการถ่ายทอดความรู้ไปยังเด็ก และทั้งนี้ อักษร เอ็ดดูเคชั่น ยังได้จับมือร่วมกับองค์กรทั้งระดับโลก และระดับประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและยกระดับการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณให้กับครู อาทิ code.org เว็บไซต์ชื่อดังด้านการเขียนภาษา Coding จากประเทศสหรัฐอเมริกา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมไปถึง Micro:bit Educational Foundation ซึ่งแต่งตั้งให้เราเป็นผู้จำหน่ายไมโครบิต (micro:bit) บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อการศึกษาในประเทศไทยอย่างเป็นทางการอีกด้วย”

วิชาวิทยาการคำนวณ สอนอะไรบ้าง?

  • การคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking): การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ด้วยการการจำจดรูปแบบ ความคิดด้านนามธรรม และการการจดจำรูปแบบ
  • ความรู้ด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล (Digital technology): การใช้เทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูลและการประมวลข้อมูล (Use), การประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหา (Apply), การสร้างสรรค์ (Create) ทักษะในการผลิตภัณฑ์สร้างผลงานผ่านเทคโนโลยีสื่อสารโดยใช้ความหลากหลายของสื่อดิจิทัล
  • การรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Media and information literacy): การรู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัลใช้อย่างปลอดภัยมีความรับผิดชอบ ทั้งต่อตนเองและสังคม การคิดอย่างมีวิจารญาณ (Critical Thinking), การรู้เท่าทันตนเอง (Self Awareness) และความตระหนักในอิทธิพลของสื่อ (Media Effect Awareness)

ทั้ง 3 คือแกนหลักในการนำมาใช้สอนให้เด็กไทยได้กลายเป็นผู้สร้างเทคโนโลยีแทนที่การเป็นเพียงแค่ผู้ใช้งาน เริ่มวิทยาการคำนวณมาแล้ว 1 ปี ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ ครูไทยส่วนใหญ่ยังสับสนและยังไม่พร้อมที่จะสอนหลักสูตรดังกล่าว ซึ่งอักษรได้ติดอาวุธให้ครูไทยด้วยการ “เปิดหลักสูตรการอบรบวิทยาการคำนวณ” และนำไปถ่ายทอดยังนักเรียนด้วยความสนุก เพื่อให้เด็กไทยสนุกเข้าถึงและเข้าใจวิธีการคิดของวิทยาการคำนวณ

ซึ่งภายในงานก็ได้มีการนำผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยฝึกสอนด้าน Coding ทั้งหลายจากทางอักษร ที่รองรับตั้งแต่วัยอนุบาลไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัยให้ได้เห็นกัน ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์นั้นก็มีการไล่ระดับการฝึกสอนกระบวนการคิดในการเรียนรู้การ Coding ได้เป็นอย่างดีครับ