หลังจากลุยทดลองและทดสอบ 5G ครบทั่วทุกภาคเป็นรายแรกของประเทศไทยแล้ว เมื่อวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมา เอไอเอส ได้จัดงาน “AIS 5G ที่ 1 ตัวจริง ทดสอบแล้วทั่วไทย” ยกทัพนวัตกรรมบุกสามย่านมิตรทาวน์ เพื่อให้คนไทยได้สัมผัสและทดลอง 5G ผ่านนวัตกรรมที่นำมาจัดแสดงภายในงาน ซึ่งมีถึง 5 นวัตกรรมด้วยกัน ประกอบด้วย

5G Hologram 3 มิติ

ครั้งแรกของประเทศไทยกับการนำเทคโนโลยี 3D Hologram การสื่อสารระยะไกลแห่งอนาคต ที่สามารถถ่ายทอดภาพ 3 มิติ ได้แบบ 360 องศา มีความเสมือนจริงและเรียลไทม์ โดยภายในงานได้จัดแสดงไว้ 2  Use Cases ด้วยกัน คือ

  • HoloPort สาธิตการสื่อสารระยะไกลระหว่างบุคคลที่อยู่คนละสถานที่ ให้สามารถสื่อสารและโต้ตอบแบบตัวต่อตัว โดยเห็นเป็นภาพ 3 มิติแบบ 360 องศา

AIS 5G

  • Shared Mixed Reality (SMR) สาธิตภาพโฮโลแกรมแบบ 3 มิติ ที่ผู้ใช้งานมากกว่า 1 คน สามารถมองเห็นวิดีโอวัตถุ 3 มิติแบบเดียวกัน สถานที่เดียว ในมุมมองแบบ 360 องศา ผ่านแว่นตา Hololens

AIS 5G

นวัตกรรม 5G Hologram 3 มิติ นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม อาทิ การประชุมธุรกิจ, การศึกษาทางไกล, การแพทย์, การเกษตร และงานด้านแฟชั่นและบันเทิง ตลอดจนการนำไปใช้พัฒนาเกม, แอนิเมชัน 3 มิติ, AR (Augmented Reality), VR (Virtual Reality) และ MR (Mixed Reality) ซึ่งนวัตกรรมนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถแบ่งปันไอเดียและพัฒนาชิ้นงานพร้อมกันได้แบบเรียลไทม์

5G VDO Call

การทดลองใช้งานโทร VDO Call แบบข้ามภูมิภาคครบทั้ง 5 ภาคทั่วไทย ผ่านเครือข่าย 5G ด้วยสมาร์ตโฟนที่รองรับ 5G ซึ่งนวัตกรรม 5G นี้ มีจุดเด่นที่ความหน่วงต่ำ จึงทำให้สามารถสื่อสารกันได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งภาพจะมีความละเอียดสูงระดับ Full HD จนถึง 4K และสัญญาณเสียงที่คมชัดระดับ Ultra HD voice การสื่อสารจึงได้ภาพที่คมชัดและลื่นไหลไม่มีสะดุด

ซึ่งภายในงานแถลงข่าวได้มีการทดลองประชุมสาย VDO Call จากทุกภาคของประเทศไทย คือ ภาคเหนือ (เชียงใหม่) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นครราชสีมา) ภาคตะวันออก (ชลบุรี) ภาคใต้ (สงขลา) และภาคกลาง (กรุงเทพมหานคร) โดยมีพรีเซนเตอร์ของแบรนด์ “แบมแบม – กันต์พิมุกต์ ภูวกุล” จากวง GOT7 เป็นตัวแทนในการพูดคุยผ่าน VDO Call

แบมแบม - กันต์พิมุกต์ ภูวกุล GOT7

 

5G Remote Control Vehicle

สาธิตเทคโนโลยีการบังคับรถยนต์ไร้คนขับทางไกล ผ่านเครือข่าย 5G บริเวณลานหน้าสามย่านมิตรทาวน์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเอไอเอส โดยเป็นการแสดงศักยภาพของเครือข่าย 5G ที่มีความเร็วสูงและความหน่วงต่ำ ทำให้สามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว ผู้ควบคุมรถจึงไม่จำเป็นต้องอยู่ในตัวรถ

โดยเทคโนโลยีนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับภาคอุตสาหกรรม หรือการนำยานยนต์เข้าไปใช้งานยังพื้นที่เสี่ยงอันตราย

AIS 5G

รถยนต์เคลื่อนที่อยู่ที่บริเวณลานหน้าสามย่านมิตรทาวน์

AIS 5G

ผู้ควบคุมอยู่ภายในงาน

5G Connected Drones

การสาธิตบังคับโดรนระยะไกล ระหว่างกรุงเทพมหานครและนครราชสีมา แสดงแนวคิดการใช้งานโดรนในยุค 5G ที่ความเร็วสูงและความหน่วงต่ำ ซึ่งผู้ควบคุมโดรนไม่จำเป็นต้องอยู่ที่เดียวกับโดรน แต่สามารถควบคุมโดรนระยะทางไกลได้ผ่านเครือข่ายมือถือ และสามารถ Streaming Video ที่มีความละเอียดสูงกลับมาหาผู้ใช้งานได้ทันที

โดยนวัตกรรมนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในภาคการเกษตร การขนส่งและโลจิสติกส์ รวมไปถึงการกู้ภัย ที่ใช้โดรนในการค้นหาผู้ประสบภัย โดยที่ผู้ควบคุมไม่จำเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงอันตรายด้วย ประกอบกับภาพจาก Streaming Video ที่มีความละเอียดสูง จึงทำให้สามารถระบุตำแหน่งผู้ประสบภัยได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

AIS 5G

การบังคับโดรนจากระยะไกล โดนผู้ควบคุมอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และตัวโดรนอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา

5G The Robotics

ภายในงานได้จัดแสดงไว้ 2  Use Case ด้วยกัน คือ

  • 5G The Robotic, The Future of Store สาธิตร้านค้าแห่งอนาคตที่ทำงานโดยหุ่นยนต์ผ่านเทคโนโลยี 5G ทำให้หุ่นยนต์สามารถประมวลผลได้แบบเรียลไทม์และมีความแม่นยำสูง จึงสามารถหยิบสินค้าได้ตรงตามออเดอร์ที่ลูกค้าต้องการ

AIS 5G

  • 5G Smart Little Robot Companion หุ่นยนต์อัจฉริยะที่ทำงานผ่าน 5G โดยสามารถพูดคุยและตอบคำถามแก่ผู้มาใช้งานได้ โดยเทคโนโลยี 5G ช่วยให้จดจำการสั่งการ Smart Connected Devices และการตอบสนองของหุ่นยนต์เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยหุ่นยนต์ 2 ตัวที่นำมาจัดแสดงภายในงานคือ “Bannee” และ “Bookky” หุ่นยนต์บรรณารักษ์ (Librarian-Bot) ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อปฏิบัติงานที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยสามารถสื่อสารกันเองและสื่อสารกับคนได้

“Bannee” และ “Bookky” หุ่นยนต์บรรณารักษ์ (Librarian-Bot)

“5G คือเทคโนโลยีที่จะเข้ามาพลิกโฉมสังคมไทย และยกระดับขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมไปอีกขั้น พร้อมขับเคลื่อนประเทศสู่การเป็น Thailand 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนอำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารให้กับผู้ใช้บริการโดยทั่วไป จากคุณสมบัติ 3 ส่วน คือ ความเร็วที่เพิ่มขึ้น, ขีดความสามารถการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT และเครือข่ายที่ตอบสนองได้รวดเร็วและเสถียร

เอไอเอส ในฐานะ Digital Life Service Provider จึงเตรียมองค์ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีแบบครบวงจร ตั้งแต่โครงสร้างการทำงานของเทคโนโลยี 5G, อุปกรณ์โครงข่าย, อุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณ, ดีไวซ์, 5G SIM Card สำหรับเชื่อมต่อเพื่อทดสอบ Use Case ต่างๆ บนเครือข่าย 5G พร้อมทั้งการ Workshop เพื่อพัฒนาความรู้ ความชำนาญในทางเทคนิคให้กับบุคลากรในภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงผนึกกำลังกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วทุกภูมิภาคและเหล่าพันธมิตรชั้นนำด้านเทคโนโลยี ดำเนินการทดสอบ 5G ครบทุกภูมิภาคทั่วไทยแล้ว เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา ทั้งในพื้นที่ภาคกลาง, ภาคตะวันออก, ภาคใต้, ภาคอีสาน และภาคเหนือ ตอกย้ำการเป็นผู้นำนวัตกรรม 5G รายแรกและรายเดียวของไทยที่ทดลองทดสอบ 5G ครบทุกภาคแล้วทั่วประเทศ” นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส กล่าว

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส

งาน “AIS 5G ที่ 1 ตัวจริง ทดสอบแล้วทั่วไทย” เริ่มจัดแสดงแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2562 – 3 มกราคม 2563 เวลา 10.00 น. -22.00 น. ณ สามย่านมิตรทาวน์ ลานกิจกรรม Semi outdoor ชั้น G เปิดให้ประชาชนเข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย (สำหรับวันที่ 24 – 31 ธันวาคม 2562 เวลา 10.00 น.- 24.00 น.)