เมื่อเร็วๆ นี้ NetApp (เน็ตแอพ) บริษัทชั้นนำในการจัดการและบริหารข้อมูลระดับโลก เผยเทรนด์เทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในปี 2560 ซึ่งดาต้าหรือข้อมูลจะเริ่มมีอิทธิพลต่อการดำเนินงานในภาคธุรกิจอย่างเห็นได้ชัด รวมไปถึงเทคโนโลยีคลาวด์ยังคงได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ใช้ในหลายระดับ โดยผู้ใช้เริ่มมองหาโซลูชั่นที่ใช้งานได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ลดต้นทุนให้แก่องค์กรในขณะที่ยังสามารถดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มาร์ค เบรกแมน CTO ของเน็ตแอพกล่าวถึงแนวโน้มที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ ดังนี้

  1. ข้อมูลคือสกุลเงินใหม่ ในยุคเศรษฐกิจแบบดิจิตัล เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เรานำข้อมูลมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ กลายเป็นว่า ข้อมูลกลับเป็นธุรกิจสำคัญ จากการที่ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ จนเป็นเหมือนสกุลเงินใหม่ของยุคดิจิตัลในปัจจุบันและจะมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบทางธุรกิจ ไปจนถึงเทคโนโลยี รวมถึงความคาดหวังของลูกค้า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การถือกำเนิดของธุรกิจแบบอูเบอร์ (Uber) และ แอร์บีเอ็นบี (Airbnb) เป็นต้น ซึ่งมาจากการบริหารเครือข่ายข้อมูล
  2. โมเดลใหม่ก้าวขึ้นมามีบทบาทในยุคดิจิตัล เมื่อข้อมูลมีความสำคัญมากขึ้น ก็จำเป็นต้องมีแพลทฟอร์มการบริการตามมา รวมทั้งระบบของผู้ให้บริการและผู้ที่พัฒนาบริการ ตัวอย่างเช่น อเมซอน เว็บ เซอร์วิส (Amazon Web Services) ซึ่งพัฒนาให้มีบริการที่หลากหลายยิ่งขึ้น จนเป็นวงจรเหมือนตลาดที่เป็นจุดนัดพบระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
  3. คลาวด์คือปัจจัยและตัวเร่งสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง องค์กรส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีคลาวด์ในการตอบสนองความต้องการด้านข้อมูลในปัจจุบัน ความพร้อมในการให้บริการประเภทคลาวด์ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีได้ง่ายขึ้นตามความต้องการ และสามารถรองรับนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที และช่วยลดอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้งานมีบัตรเครดิตและเปิดบัญชีผู้ใช้กับ อเมซอน เว็บ เซอร์วิส (Amazon Web Services) เพียงเท่านี้ก็สามารถวางระบบกับโปรเจกต์ใหม่ให้แล้วเสร็จได้ภายในวันเดียว และสามารถคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานที่เกิดขึ้นจริง
  4. เทคโนโลยีใหม่ๆ กลายเป็นเรื่องมาตรฐาน ในยุคดิจิตัลเช่นนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนของธุรกิจมุ่งไปสู่ความโดดเด่นของเทคโนโลยีที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะมาในรูปแบบของแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในทุกวันนี้ก็คือการเกิดขึ้นและพัฒนาการของ DevOps หรือแนวคิดที่จะช่วยให้กระบวนการพัฒนาและส่งมอบซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชั่นขององค์กรนั้นมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นกว่าเดิม ปัจจุบันเทคโนโลยีเหล่านี้ถือว่าเป็นโซลูชั่นที่ยังจำกัดการใช้งานอยู่เฉพาะกลุ่ม แต่เมื่อคุณค่าของข้อมูลเริ่มมีบทบาทสำคัญต่อภาคธุรกิจและการเติบโตทางนวัตกรรมกำลังกลายมาเป็นอาวุธสำคัญในการแข่งขัน ดังนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวกำลังจะกลายมาเป็นเทคโนโลยีที่อยู่ในกระแสหลักได้อย่างรวดเร็ว
  5. ความหลากหลายประเภทของสตอเรจและเทคโนโลยีการบริหารจัดการข้อมูลเริ่มพัฒนาขึ้น ในขณะที่โครงสร้างพื้นฐานทางไอทีกำลังเติบโตขึ้นเพื่อปรับตัวและรองรับการเชื่อมต่อบนคลาวด์และแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ดังนั้น เทคโนโลยีของสตอเรจประเภทต่างจึงเริ่มพัฒนาขึ้นเช่นกัน อย่างที่ได้เริ่มเห็นกันแล้วว่าแฟลช สตอเรจได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากการตอบสนองและการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกันกับ hyper-converged infrastructure หรือระบบที่รวมเซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ และการเชื่อมต่อบนเครือข่ายให้อยู่ภายใต้ฮาร์ดแวร์เดียวกัน
  6. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงานอย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญที่สุดคงหนีไม้พ้นการเปลี่ยนแปลงด้านความคาดหวังจากผู้ใช้งานที่มีประสบการณ์คุ้นเคยกับการทำงานที่ง่ายดายแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือในรูปแบบต่างๆ จึงไปเพิ่มความคาดหวังในการใช้งานที่ เรียบง่ายของซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการข้อมูล สำหรับจุดยืนทางธุรกิจ บริษัทต่างๆ ล้วนมีความต้องการความเรียบง่ายในการทำงานเหล่านี้ เพราะจะช่วยลดต้นทุนด้านทรัพยากรในการบริหารจัดการข้อมูลในขณะที่เพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงและบริหารจัดการข้อมูลในฐานะที่เป็นทรัพยากรของบริษัทที่มีค่า

สำหรับทิศทางเทรนด์ไอทีในเมืองไทย นายวีระ อารีรัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เน็ตแอพ ประจำภูมิภาคอาเซียน เผยว่า เน็ตแอพ ประเทศไทยนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเพื่อรองรับและสนับสนุนการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้กับองค์กรต่างๆ ตามความต้องการให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น อาทิ เทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Data Analytics) การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลที่มีปริมาณมาก (Big Data) รวมไปถึงระบบคลาวด์ที่กำลังมีการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ทุกหน่วยงานเริ่มมองหาและวางโครงสร้างพื้นฐานไอที พร้อมทั้งสรรหาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านดังกล่าวเพื่อเป็นการปูพื้นฐานไปสู่ไทยแลนด์ 4.0

ด้วยโซลูชั่นและบริการต่าง ๆ จาก NetApp (เน็ตแอพ) อาทิ สตอเรจจัดเก็บข้อมูลประเภทต่างๆ ตามความต้องการและการใช้งานของแต่ละองค์กร ซอฟต์แวร์นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถรวบรวมข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในรูปแบบดั้งเดิมผสานเข้ากับเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การเก็บข้อมูลบนแฟลช คลาวด์ ให้เชื่อมต่อเข้ากับเน็ตเวิร์คเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างไร้รอยต่อ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการสำรองและกู้ข้อมูล อีกทั้งรองรับการวิเคราะห์และจัดเก็บข้อมูลที่มีปริมาณมาก เพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้งานและตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจ โดยมีอิสระในการบริหารและป้องกันข้อมูลที่ถูกเก็บไว้บนคลาวด์ เป็นต้น