ในควอเตอร์แรกของปี 2563 ยอดจำหน่ายสมาร์ตโฟนอยู่ที่3.6 ล้านเครื่อง ลดลง 29.8% ไตรมาสต่อไตรมาส และ 20.6% ปีต่อปี เป็นปกติที่ในไตรมาสแรกของทุกปีเป็นฤดูกาลลดลงของยอดจำหน่ายสมาร์ตโฟน อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อตลาด หลายแบรนด์ได้รับผลกระทบจากการขาดสินค้าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ตามมาด้วยประกาศปิดเมืองใน เดือนมีนาคมทำให้การจำหน่ายของหน้าร้านย่ำแย่ลง

แบรนด์สมาร์ตโฟนและค่ายโทรคมนาคมปรับตัวต่อการหยุดชะงักของหน้าร้านโดยเปลี่ยนไปทำกิจกรรม
การขายและการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นออนไลน์มาเก็ตเพลส โซเชียลมีเดีย แต่ใน
ขณะเดียวกันไม่ใช่ทุกร้านค้าสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่า
ช่องทางออนไลน์มีการเติบโตแต่ไม่สามารถชดเชยส่วนที่เสียโอกาสไปจากหน้าร้าน แม้ว่าขณะนี้กิจกรรมของหน้าร้านเริ่มทยอยกลับสู่ปกติแต่ IDC คาดว่ายอดจำหน่ายสมาร์ตโฟนยังคงลดลงอีกครั้งในไตรมาสที่2 และจะเริ่มเติบโตในไตรมาสที่ 3 นี่เป็นผลการทบที่ตามมาจากโควิด-19 ต่อ เศรษฐกิจที่ผู้บริโภคลดการใช้จ่าย

ภาพรวมของแบรนด์ 5 อันดับแรก

  • OPPO เป็นผู้นำในตลาดด้วยรุ่น A ที่ได้รับความนิยม ออปโป้ยังคงเน้นในด้านการบริการหลังการขายโปรโมตฟีเจอร์ในรุ่นที่ราคาสูงและการขยายตลาดไปยังกลุ่มสินค้าประเภท IoT
  • SAMSUNG ยังคงเป็นหนึ่งในผู้น าตลาดด้วย Galaxy รุ่น A แต่เนื่องจากผลกระทบจากโรคระบาดทำให้ยอดจำหน่ายลดลงในไตรมาสที่ 1
  • VIVO เน้นไปที่รุ่น Y ซึ่งอยู่ในช่วงราคาที่ตอบสนองต่อตลาดไทยและเพิ่มการสนับสนุนคู่ค้าและกิจกรรมการตลาด
  • HUAWEI ยังคงจำหน่ายได้ดีในรุ่นที่มีการรองรับกลุ่มแอปพลิเคชันของ “กูเกิล” และช่วยโปรโมตหน้าร้านของคู่ค้าบนโซเชียลมีเดียระหว่างช่วงปิดเมือง
  • APPLE ได้รับผลกระทบจากในด้านของซัพพลายในหลายๆรุ่น แต่ด้วยภาพลักษร์ที่แข็งแรง ยังคงสามารถจำหน่ายในระดับที่สูงในตลาดไทย

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส