Sea (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน อาทิ
การีนา (
Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และแอร์เพย์ (AirPay) จัดงานเสวนาพิเศษ Sea Insight Future Focus” เพื่อเปิดมุมมองให้องค์กร สังคมโดยรวม และคนไทย ก้าวทันกับ ‘Digital Transformation’ หรือปรากฏการณ์ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

ผู้ดำเนินรายการ

  • ดร. สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist แห่ง Sea (Group
  • คุณสุทธิชัย หยุ่น ผู้ก่อตั้งบริษัท กาแฟดำ จำกัด 

Sea Insight Future Focus

 

ยุค Digital Transformation เป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลง เพราะปัจจุบันเมื่อเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมานั้น โลกหมุนไปเร็วมาก ซึ่งการเข้ามาสู่วงการด้านเทคโนโลยีครั้งแรกของ ดร. สันติธาร นั้นเกิดขึ้นจากความกลัว กลัวที่จะตกเทรนด์ และเกิดจากความคิดว่า จะเตรียมตัวให้กับลูกทั้ง 2 อย่างไรในอีก 10 – 20 ปีข้างหน้า เพราะโลกสมัยนี้หมุนไวมาก แล้วเราจะยังอยู่ในอาชีพเดิมของตัวเองหรือไม่ จึงค่อย ๆ หาความรู้มากขึ้นเรื่อย ๆ รวมไปถึงการเขียนหนังสือ ที่เปรียบเสมือนกับการเขียนจดหมายให้ลูกอ่าน และคิดว่าอนาคตเป็นอย่างไร

การทำแล้วผิดไม่ได้น่าอาย ความกล้าต่างหากคือสิ่งที่เราต้องมุ่งไปเพื่อให้ไปสู่เป้าหมายในอนาคต

5 ปีจากนี้ไปของเมืองไทย

คิดว่ามีทั้งเรื่องดีและไม่ดี เพราะไทยมีความสามารถหลายอย่างที่สามารถนำมาใช้ได้ในยุค 4.0 อย่างเช่นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตเช่น E-Sports ซึ่งปัจจุบันมีขนาดใหญ่มาก มีผู้ชมกว่า 300 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งในเดือนที่ผ่านมาในงาน Garena world ก็มีคนร่วมกว่า 270,000 คนมาร่วมงานนี้ มั่นใจว่าไทยมีศักยภาพสูง มีหัวคิดด้าน Creativity ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งคนไทยสามารถสร้างสรรค์ตัวละครเพิ่มเติมในเกมเป็นต้น ซึ่งสิ่งนี้สามารถผลักดันประเทศไทยไปได้ไกลมาก แต่เรามีความเข้าใจพอหรือไม่ โดยเฉพาะเรื่องทักษะและความรู้ความเข้าใจด้านดิจิทัล โดยสิ่งเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่คนบางกลุ่มไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงเรื่องของการศึกษาว่า จะมีโอกาสไปต่อได้

ในอนาคตอาชีพที่เป็นผู้ให้ความรู้หรือคำว่าอาจารย์ จะเริ่มมีความเปลี่ยนไปในอนาคต ในอนาคตอาจจะกลายเป็นเหมือนกับโค้ชแทน ซึ่งโค้ชจะมีหน้าที่คือช่วยนำพาเด็กไปสู่ชัยชนะ ไปสู่เป้าหมาย แทนที่จะมองเห็นแค่เพียงคะแนน ซึ่งทำให้เหล่าคนรับความรู้ มีความรู้สึกว่าอยู่ฝั่งตรงข้ามกัน สิ่งเหล่านี้ต้องมีการเปลี่ยนแปลง

ในฐานะผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ Sea มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายย่อยในภูมิภาคของเราให้มีความสะดวกสบายยิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยี ผ่านบริการและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายจากบริษัทในเครือได้แก่ การีนา ช้อปปี้ และแอร์เพย์ เราต้องปรับตัวเพื่อขานรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ทำให้เราตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากการเข้ามาของเทคโนโลยี ปัจจุบันนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างได้ถูกผลัดเปลี่ยนเข้าสู่สังคมแบบดิจิทัล เรียกได้ว่าทุกๆ สิ่งถูก ‘Disrupt’ ด้วยกระบวนการทางดิจิทัลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคนในสังคมไม่มากก็น้อยทั้งในแง่ของการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน รวมไปถึงการดำเนินธุรกิจต่างๆ การเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองและการปรับตัวให้เข้ากับการผลัดเปลี่ยนเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบนี้ จะทำให้การใช้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นมาเติมเต็มชีวิตให้เกิดความสะดวกสบายได้มากยิ่งขึ้น  จึงเป็นที่มาของการจัดงานเสวนารอบพิเศษ ‘Sea Insight Future Focus’ ขึ้น โดยเป็นการนำเสนอมุมมองและสำรวจแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเข้ามาของเศรษฐกิจดิจิทัลและการรับมือกับ Disruptionและเทรนด์ใหม่ๆ พร้อมกันนี้ เรายังอยากให้ทุกท่านมาร่วมกันหาคำตอบว่าทำอย่างไรเราจึงจะปรับตัวให้มีความรู้ความสามารถเท่าทันการเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อให้ก้าวข้ามขีดจำกัดและเปิดศักยภาพใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพดร. สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist แห่ง Sea (Group)

และอีก 1 หัวข้อ “Shaping the FutureDiscovering Essential Skills for Future Workforce” เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับทักษะใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ปรับตัวเข้าสู่การทำงาน การศึกษา และการใช้ชีวิตท่ามกลางสังคมที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ผู้ร่วมอภิปราย

  • ดร.ศรุต วานิชพันธุ์ Director of Sea(Thailand)
  • คุณรวิศ หาญอุตสาหะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีจันทร์ สหโอสถ จำกัด
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดี กำกับดูแลด้านการพัฒนานิสิตและนิสิตเก่าสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คุณชยุตม์ สกุลคู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แทคท์ โซเชียล คอนซัลติ้ง จำกัด 

Shaping The Future: Discovering Discovering Essential Skills for Future Workforce

ในยุคปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมโดยหลายองค์กรเริ่มทำ Digital Transformation ซึ่งจะต้องมีการสร้างความเข้าใจให้กับคนในองค์กร เป็นสิ่งที่ไม่ง่าย บางครั้งการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ได้ช่วยให้การทำงานรวดเร็ว แม่นยำยิ่งขึ้น ถ้าเราไม่ได้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง ซึ่ง Digital Transformation ที่แท้จริงจะต้องอยู่บนพื้นฐาน 2 ประการคือ

  1. ต้องช่วยให้การทำงานดีขึ้น
  2. ช่วยให้ลูกค้ารู้สึกว่าเราเข้าใจลูกค้ามากยิ่งขึ้นจนลูกค้าสามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ ได้

ซึ่งศรีจันทร์ได้ Digital Transformation มา 5 ปีแล้ว ซึ่งในช่วงแรกมีแรงต้านเยอะมาก จึงได้แบ่งคนเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มคนที่ทำงานในแบบเดิมเพื่อผลักดันองค์กรต่อไปเรื่อย ๆ และอีกกลุ่มคือกลุ่มที่นำร่องไปทำสิ่งต่าง ๆ แล้วสร้างหลักฐาน สร้างสิ่งที่จับต้องได้ออกมาให้คนกลุ่มแรกได้เห็น ซึ่งคนเหล่านี้จะมี Incentive เพื่อให้คนเปลี่ยนแล้วรู้สึกว่ามันดีขึ้น

โลกปัจจุบันนั้น ทุกการตัดสินใจควรดูจาก Big Data เป็นสำคัญ แทนที่จะใช้เรื่องของ Gut Feeling ทำให้การตัดสินใจแม่นยำยิ่งขึ้น เพราะไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเพียงคนเดียว แต่ใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อหาทิศทางที่ดีที่สุด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งที่วัดค่าได้จริง

เรียกได้ว่าปัจจุบันเรากำลังอยู่ที่จุดศูนย์แห่งรุ่งอรุณ เพราะปี 2019 นี้ ถือเป็นปีแรกที่คนบนโลกที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมากกว่าคนที่ไม่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต และมีมูลค่าการตลาด Digital Ads มากกว่า Traditional Ads เป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา

ฝั่งมหาวิทยาลัยจุฬาฯ ก็เริ่มมีการทำ Digital Tranformation มาแล้วเรื่อย ๆ เช่นการทำ CU Transformation มี Digital ID ที่อยู่บนมือถือ หรือฟีเจอร์พิเศษมากมาย รวมไปถึงการชำระเงินผ่านมือถือ ลงทะเบียนออนไลน์ ติดตามข่าวสาร ก็เป็นรูปแบบออนไลน์ และกำลังเปลี่ยนจาก Lechurer ให้เป็น Mentor หรือโค้ช เพื่อผลักดันเด็ก ๆ ให้สามารถปรับตัวในยุคปัจจุบันได้

ในฝั่งการทำงาน ก็มีการปรับเปลี่ยนจากการทำงานเพียงอย่างเดียว กลายเป็นการทำงานเป็นโปรเจ็คก์ ซึ่งทำให้มองเห็นความสำเร็จสูง โดยทั้งองค์กรอายุค่อนข้างเด็กอยู่มาก ซึ่งทำให้ฝั่งทำงานเกิดการเรียนรู้และฝึกฝนได้ ยุคนี้เป็นยุคของ Gen Y ซึ่งปัจจุบันเป็นคนที่ค่อนข้างเบื่อง่าย แต่องค์กรสามารถมอบงานที่ตรงกับ Passion และสร้าง Impact ให้กับองค์กรของเขา จะทำให้เขาอยากทำงานให้ดียิ่งขึ้น

มองการทำงานในอนาคต

ในอนาคต 2022 สกิลหรือทักษะประมาณครึ่งหนึ่งจะไม่สามารถเอาไปใช้ทำอะไรได้เลย ซึ่งภายในปี 2022 นี้ ทุก ๆ คนจะต้องหาเวลาไปศึกษาเพิ่มเติม 100 วัน เพื่อพัฒนา หาความรู้ใหม่ เพราะความรู้จะเก่าเร็วมาก และในอนาคตปี 2025 คาดว่าจะมี Robot มากกว่า 50% ของการทำงานทั้งหมด งานหายไป 78 ล้านงาน แต่มีงานเพิ่มขึ้น 133 ล้านงาน โดยมี 2 Part คือเรื่องเทคโนโลยี และเรื่องของการโค้ชคน ซึ่งจะต้องมีความสามารถและทักษะในการสอน

Anyone Can Learn จุฬาได้ทำการเรียนการสอนแบบ Online ในชื่อ Massive Open Online Course (MOOC) ที่จะให้คนเข้ามาเรียนรู้ และตอบคำถามไปเรื่อย ๆ พร้อมกับสอบในตอนท้าย และ Mass to Individual หรือระบบวัดนักเรียนว่า ขาดอะไร และให้คำแนะนำว่าจะต้องเติมอะไรลงไปเช่น กิจกรรมนอกห้องเรียน วิชาต่าง ๆ และยังมีการให้คำปรึกษาว่า ถ้าต้องการเป็นอะไร ก็ให้คำแนะนำว่าควรไปไหน ซึ่งการเป็น Mentor นั้นไม่ง่าย เพราะคนที่เป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงในด้านนั้น ๆ และมีการรับฟังที่ดีและตอบให้เป็น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวเป็นอย่างมาก

“เราคงบอกอย่างชัดเจนไม่ได้ว่าในอีก 10 – 20 ปีข้างหน้า รูปแบบการศึกษาซึ่งเป็นพื้นฐานหนึ่งของการใช้ชีวิต รวมไปถึงสังคมจะมีการเปลียนแปลงไปมากมายอย่างไร แต่สิ่งที่แน่นอนมากที่สุดที่ควรจะเกิดขึ้นคือการเตรียมความพร้อมรับมือต่อสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น เรื่องของเทคโนโลยีส่งผลดีอย่างเป็นรูปธรรมมากมายแม้ว่าในบางครั้งเราจะพบกับอุปสรรคในการปรับตัว ดังนั้นองค์กรและสถาบันการศึกษาต่างๆ ต้องหันมาให้ความสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนตลาดแรงงาน ที่สำคัญอย่างยิ่งคือการอบรมทักษะ ที่จำเป็นให้แก่บุคลากรไทย ทั้ง ‘Learning Skills’ เช่น การคิดวิเคราะห์และความสร้างสรรค์ที่จะช่วยให้บุคลากรสามารถแก้ไขปัญหาใหม่ๆ ที่เข้ามาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ‘Literacy Skills’ เช่น การทำความเข้าใจข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีที่ใช้บริหารจัดการข้อมูล และ ‘Life Skills’ เช่น การต่อยอดสิ่งเดิมๆ ให้สอดรับกับสถานการณ์ใหม่ๆ ความเป็นผู้นำ และ Passion ในการริเริ่ม ทุ่มเท ทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการปรับตัวไปตามสภาวะเศรษฐกิจ ตลาดแรงงาน วิถีการทำงาน และสังคมโลกที่เปลี่ยนผันไปอย่างรวดเร็วบนโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและข้อมูล”ดร.ศรุต วานิชพันธุ์ Director of Sea (Thailand)

เนื้อหาล่าสุด

10 เกมที่เคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์แต่คุณอาจไม่เคยรู้

เมื่อพูดถึงภาพยนตร์ที่ถูกสร้างมาจากเกมเชื่อว่าหลายคนคงจะมีภาพยนตร์ในดวงใจและภาพยนตร์จากเกมที่ไม่ชอบอยู่หลายเรื่อง ซึ่งนับตั้งแต่ที่ภาพยนตร์ที่มาจากเกมเรื่องแรกถูกสร้างขึ้นมาอย่าง ...อ่านต่อ

Huawei Mate 40 จะมาพร้อมกับชิป Kirin 1020 แรงขึ้นกว่าเดิม 50%!

ในช่วงที่ผ่านมา Huawei เกือบมีปัญหากับ ARM บริษัทที่ถือสิทธิด้านเทคโนโลยีของชิปประมวลผล ARM จนบริษัทเกือบไม่ได้พัฒนาชิป Kirin ต่อ แต่ก็ผ่านมาได้ รวมถึงได้ใช้งาน Windows ของ ...อ่านต่อ

Oppo Find X2 พร้อมขุมพลังชิป Snapdragon 865 จะเปิดตัวไตรมาส 1 ปี 2020

หลังจากที่ Oppo ได้เปิดตัว Find X ที่มาพร้อมชิปเซ็ต Snapdragon 845, หน้าจอไร้ขอบ และกล้อง 3 ตัว ที่ใช้กลไกสไลด์ เมื่อเดือนมิถุนายน 2019 ที่ผ่านมา ล่าสุดมีรายงานว่า Oppo จะเปิดตัว ...อ่านต่อ

รายงานล่าสุด : Samsung จะเปิดตัว Galaxy S11 พร้อม Galaxy Fold 2 ดีไซน์ฝาพับ ในวันที่ 18 ก.พ. 2020

IceUniverse หนึ่งในเจ้าพ่อข่าววงใน ได้ทวีตข้อมูลล่าสุดว่าสมาร์ตโฟนเรือธง Samsung Galaxy S11 จะได้รับการเปิดตัวพร้อมกับสมาร์ตโฟนพับจอได้ดีไซน์ฝาพับที่มีข่าวลือมาอย่างยาวนาน ในวันที่ ...อ่านต่อ

Two Point Hospital เวอร์ชันคอนโซลเตรียมวางจำหน่าย 25 ก.พ. 2020

หลังจากที่เกม Two Point Hospital ออกวางจำหน่ายบนแพลตฟอร์ม PC เมื่อปี 2018 ล่าสุดค่ายเกม Sega และทีมพัฒนา Two Point Studios ได้ประกาศเตรียมวางจำหน่ายเกม Two Point Hospital ...อ่านต่อ

Guardian XO โครงกระดูกหุ่นยนต์ที่สวมใส่แล้วยกได้หนัก 90 กก. พร้อมจัดส่งปลายปี 2020

ในหนัง Sci-fi คุณอาจจะเคยเห็นมนุษย์จอมพลังที่สวมใส่ชุดเกราะแล้วร่างกายมีความแข็งแกร่งสามารถยก ดึง หักวัตถุขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมหาศาลได้ (เร็วๆ นี้เราก็เห็นในเกม Death Stranding ...อ่านต่อ