กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง หลังธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกธนบัตรรุ่นใหม่ เป็นรุ่นที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 และสามารถนำออกมาใช้จ่ายได้ตามกฎหมาย เกี่ยวกับกลุ่มดาวยูไรอัน (EURion constellation) ว่ามีหรือไม่ในธนบัตรใหม่ที่ออกมานั้นอยู่ไหน

ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ราคา 100 บาท
ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ราคา 1,000 บาท

วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันว่าตกลงแล้วกลุ่มดาวยูไรอัน หรือ EURion constellation มีความสำคัญมากน้อยขนาดไหน แล้วในแบงก์ใหม่ที่เพิ่งออกมาอยู่ตรงไหน

กลุ่มดาวยูไรอัน (EURion constellation) คืออะไร??

กลุ่มดาวยูไรอัน คือรูปภาพเรขาคณิตที่ประกอบไปด้วยวงกลมเล็ก ๆ ประมาณ 1 มิลลิเมตร จำนวน 5 วง เรียงตัวกันเป็นรูปแบบเดียวกัน ปรากฎอยู่ในธนบัตรในหลาย ๆ ประเทศ ส่วนใหญ่จะมีสีเหลือง, สีเขียว, หรือสีส้ม เพื่อเป็นสัญลักษณ์สำหรับการป้องกันการทำสำเนา ลดการปลอมแปลงธนบัตรไปใช้

กลุ่มดาวยูไรอันอยู่ไหนบนธนบัตรใหม่??

กลุ่มยูไรอันนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องมาในลักษณะวงกลม 5 วงโดด ๆ เสมอไป ในธนบัตรของบางประเทศมีการนำไปซ่อนในภาพต่าง ๆ หรือประกอบกับส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น

ธนบัตร 5 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซ่อนกลุ่มดาวไว้ในเลข “05”
ธนบัตร 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซ่อนกลุ่มดาวไว้ในเลข “100”

ในตอนนี้อาจมีหลาย ๆ คนสงสัยว่ากลุ่มดาวยูไรอันนั้นมีความสำคัญในการป้องกันการปลอมแปลงแล้วในธนบัตรที่ออกมาใหม่นี้ กลุ่มดาวนี้อยู่ที่ไหน

ในธนบัตรที่ระลึกที่ออกมาใหม่นั้น มีคนตั้งข้อสังเกตไว้ว่ากลุ่มดาวยูไรอันนี้อาจจะถูกซ่อนไว้ภายในภาพดอกต่าง ๆ

กลุ่มดาวยูไรอันนี้ป้องกันการสแกนหรือเปิดภาพในโปรแกรมจริงหรือไม่??

กลุ่มดาวยูไรอันนี้อาจไม่ได้เป็นส่วนสำคัญในการป้องกันการสแกนหรือการเปิดในโปรแกรมแก้ไขรูปภาพอย่าง Photoshop

จากการทดสอบ ถึงแม้จะพยายามปิดบังกลุ่มดาวเหล่านี้ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมก็ยังคงสามารถตรวจจับได้อยู่ดีว่าเป็นธนบัตร

มีวิธีอื่นมั้ย?? ในการป้องกันหรือการตรวจสอบ

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกแถลงต่อเรื่องที่เป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์ พร้อมยืนยันว่าธนบัตรที่ระลึกที่ออกใหม่ในครั้งนี้ มีลักษณะการต่อต้านการปลอมแปลงตามมาตรฐานขั้นสูง ปลอดภัยต่อการถูกปลอมแปลง โดยประชาชนสามารถตรวจสอบได้ด้วย 3 วิธีง่าย ๆ สัมผัส ยกส่อง และพลิกเอียง

อ้างอิง: Dr Markus Kuhn, Nicholas Gessler, ธนาคารแห่งประเทศไทย

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส