พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ (NASDAQ: PANW) ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เปิดเผยรายงานสถานการณ์ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในอาเซียนปี 2566 ข้อมูลในรายงานระบุว่า เมื่อปีที่ผ่านมาประเทศไทยพบปัญหา “การโจมตีที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก” ในปริมาณน้อยที่สุด โดยมีองค์กร 22% ที่พบจำนวนอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% เมื่อเทียบกับในอดีต ทั้งนี้ การปกป้องเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ (OT) โดยเฉพาะระบบที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญยังคงเป็นข้อกังวลหลัก เพราะบริการพื้นฐานสำคัญเหล่านั้นต้องเผชิญกับการโจมตีที่สร้างความเสียหายในระดับที่สูงกว่าภาคส่วนอื่นๆ

ข้อกังวลอันดับต้นๆ ด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์

ประเภทการโจมตีที่องค์กรในไทยมีความกังวลมากที่สุด ได้แก่ มัลแวร์ (57%) และการเข้าควบคุมบัญชีผู้ใช้ (57%) และการโจมตีรหัสผ่าน (53%) ซึ่งภายใต้สถานการณ์ที่ต้องพึ่งพาบริการและแอปพลิเคชันระบบคลาวด์มากขึ้น ธุรกิจในไทยระบุว่า ปัญหาสำคัญด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่ตนเองต้องเผชิญหน้าก็คือ ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากอุปกรณ์ IoT ที่ไม่ปลอดภัย (54%) ความจำเป็นที่ต้องจัดซื้อโซลูชันระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์หลากหลายรูปแบบ (47%) และการทำธุรกรรมดิจิทัลกับบุคคลภายนอก (47%)

อย่างไรก็ดีหากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียนพบว่า ประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ที่ค่อนข้างดีในด้านการเผชิญความเสี่ยงเกี่ยวกับความปลอดภัยไซเบอร์และการยกระดับทักษะในด้านนี้ โดยมีองค์กรเพียง 37% เท่านั้นที่มองว่าภัยคุกคามทางไซเบอร์อยู่ในระดับสูงหรือสูงมาก และถือเป็นอัตราส่วนที่ต่ำที่สุดในอาเซียน ขณะที่องค์กรในไทยที่มองว่าเกิดการโจมตีที่สร้างความเสียหายอย่างหนักเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% นั้น มีจำนวนอยู่เพียงราว 22% ขององค์กรทั้งหมดที่มีความมั่นใจในการติดตามปัญหาระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งนับว่าเป็นอัตราส่วนที่ต่ำที่สุดในอาเซียน

ในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น อุตสาหกรรมต่างๆ มีความมั่นใจในมาตรการรักษาความปลอดภัย แต่เห็นได้ชัดในภาคบริการ (ธนาคารและการเงิน) ตลอดจนการขนส่งและโลจิสติกส์

ส่วนในระดับประเทศนั้น ไทยถือว่ามีความมั่นใจค่อนข้างสูงที่ 87% ว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในปัจจุบันจะปกป้องภัยคุกคามได้ อีกทั้งไทยยังมีคะแนนนำในด้านทักษะระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์พื้นฐาน โดยธุรกิจกว่า 78% มีการฝึกอบรมเรื่องนี้แก่พนักงานอย่างเป็นทางการ

ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ยังคงเป็นภารกิจที่ธุรกิจในไทยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา องค์กรในไทยราว 38% เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัทมีการพูดถึงระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ทุกเดือน นอกจากนี้ธุรกิจในไทยราว 49% ยังได้เพิ่มงบประมาณด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์เพราะต้องการปรับปรุงการดำเนินงาน (54%) มีการออกหรือปรับกฎระเบียบใหม่ตามกฎหมายด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (44%) เพื่อเดินหน้าเปลี่ยนแปลงกระบวนการสู่ดิจิทัลมากขึ้น (37%) และเนื่องจากสภาพการณ์ของภัยคุกคามมีการเปลี่ยนแปลง (37%)

ดร. ธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและอินโดจีน พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ กล่าวว่า “ความมั่นใจในมาตรการรักษาความปลอดภัยชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจได้วางแนวทางที่ยืดหยุ่นในการรับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีรูปแบบซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยไทยได้รับ “ผลจากการโจมตีที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก” ในปริมาณน้อยที่สุด (22%) แต่ก็มีการเพิ่มงบประมาณด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์น้อยที่สุดเช่นกันเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะองค์กรต่าง ๆ ในไทยได้เตรียมตัวมาเป็นเวลาหลายปีจนเห็นผลลัพธ์จากการลงทุนในด้านดังกล่าว อย่างไรก็ดี ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ยังคงเป็นเรื่องสำคัญที่สุดสำหรับผู้บริหาร เพราะอาชญกรไซเบอร์เองก็เดินหน้าปรับตัวและใช้เทคนิคต่างๆ ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นเช่นกัน” 

กลยุทธ์ด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์

กลยุทธ์ด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่สำคัญที่สุดสามอันดับแรกในไทยประกอบด้วย การรักษาความปลอดภัยแก่ IoT/OT (43%) การยกเครื่องระบบตรวจจับภัยคุกคามและระบบ/แพลตฟอร์มตรวจหาพฤติการณ์ที่สัมพันธ์ (40%) การจัดการตัวตนและการเข้าถึงระบบ (38%) รวมถึงกลยุทธ์การประสานงาน การรับมือ และระบบอัตโนมัติด้านการรักษาความปลอดภัย (SOAR) สำหรับ SOC  (38%)

การผสานการทำงานกับ AI เป็นเทคโนโลยีที่ธุรกิจต่าง ๆ กำลังเตรียมติดตั้งในเร็วๆ นี้ ทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในไทย (56%) โดยธุรกิจด้านโทรคมนาคม/เทคโนโลยี/สื่อสาร ให้ความสนใจในการนำ AI เข้ามาใช้มากที่สุดในภูมิภาค และคาดว่าจะเติบโตในอัตราที่เร็วขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า 

“ปัญหาการโจมตีทางไซเบอร์ยังคงขยายตัวไปพร้อมกับการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน และเห็นชัดเจนอย่างมากในบางอุตสาหกรรม เช่น ภาคธนาคารและการเงิน ซึ่งโดนกดดันให้ต้องทำเร่งทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันและเกิดการแข่งขันกันในระดับสูง  ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ ในไทย โดยเฉพาะในภาคธนาคารและการเงิน จึงจำเป็นต้องสร้างโครงสร้างระบบไอที ที่แข็งแกร่งเพื่อให้ธุรกิจมีความพร้อมในการรับมือช่องโหว่ด้านความปลอดภัยในแบบต่าง ๆ” ดร. ธัชพล กล่าว 

หมายเหตุ

การสำรวจครั้งนี้ดำเนินการทางออนไลน์ในเดือนเมษายน 2566 ร่วมกับผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีขององค์กรและผู้นำธุรกิจรวมทั้งสิ้น 500 คน ในห้าอุตสาหกรรมหลักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ด้านบริการ (ธนาคาร การเงิน), รัฐบาล/ภาครัฐ/บริการพื้นฐาน, โทรคมนาคม/เทคโนโลยี/สื่อสาร, ภาคค้าปลีก/โรงแรม/อาหารและเครื่องดื่ม, ขนส่งและโลจิสติกส์ และภาคการผลิต โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามประเทศละ 100 คน ทั้งจากสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย 

เกี่ยวกับพาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์

พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ เป็นผู้นำด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ระดับโลก เราคิดค้นเครื่องมือเพื่อก้าวนำภัยคุกคามไซเบอร์ ทำให้องค์กรต่างๆ สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างวางใจ เรามีระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์แห่งอนาคตที่ได้รับการยอมรับจากลูกค้าหลายพันรายทั่วโลกในทุกกลุ่มธุรกิจ แพลตฟอร์มและบริการด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์อันดับหนึ่งของเราได้รับความร่วมมือจากระบบความกรองด้านภัยคุกคามระดับแนวหน้าของวงการและเสริมปราการด้วยระบบอัตโนมัติที่ล้ำสมัยที่สุด เราพร้อมช่วยดูแลให้แต่ละวันเป็นวันที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งใช้งานผลิตภัณฑ์ของเราเพื่อเดินหน้าสู่องค์กรแบบซีโรทรัสต์ การรับมือกับอุบัติการณ์ด้านความปลอดภัย หรือการร่วมมือเพื่อยกระดับการรักษาความปลอดภัยผ่านเครือข่ายพันธมิตรระดับโลก ซึ่งทั้งหมดคือสิ่งที่ทำให้เรากลายเป็นพันธมิตรด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในใจของลูกค้า

พวกเราที่พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ มุ่งมั่นแสวงหาบุคลากรมือหนึ่งเพื่อทำให้พันธกิจของเราเป็นจริง และเราภาคภูมิใจที่ได้รับการยอมรับในฐานะบริษัทในฝันด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ การันตีโดยรางวัลต่างๆ อาทิ ที่ทำงานอันเป็นที่รักมากที่สุดของ Newsweek (2021 และ 2022), สุดยอดบริษัทที่เปิดรับความแตกต่างอย่างเท่าเทียม (2021) และสุดยอดสถานที่ทำงานที่ให้ความเท่าเทียมด้าน LGBTQ ของ HRC (2022) โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.paloaltonetworks.com

Palo Alto Networks และโลโก้ Palo Alto Networks เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Palo Alto Networks, Inc. ในสหรัฐอเมริกาและในขอบเขตอำนาจศาลแห่งอื่นๆ ทั่วโลก สำหรับเครื่องหมายการค้า ชื่อการค้า หรือเครื่องหมายบริการอื่นใดทั้งหมดที่ใช้หรือกล่าวถึง ที่นี้ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของรายการดังกล่าว ทั้งนี้บริการหรือคุณสมบัติใดก็ตามที่ยังไม่เปิดตัว (และบริการหรือคุณสมบัติใดก็ตามที่มิได้มีไว้โดยทั่วไปเพื่อลูกค้า) อันกล่าวถึงในเอกสารฉบับนี้หรือข่าวประชาสัมพันธ์หรือแถลงการณ์สาธารณะใดก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีให้ใช้หรือไม่มีให้บริการ (หรือยังไม่มีให้ใช้โดยทั่วไปแก่ลูกค้า) และอาจมีให้ใช้หรือมีให้บริการไม่ตรงตามกำหนดเวลา หรืออาจไม่มีให้ใช้หรือไม่มีให้บริการเลยก็ได้ ดังนั้นลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ของพาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ จึงควรตัดสินใจซื้อตามบริการและคุณสมบัติที่มีโดยทั่วไปในปัจจุบัน