รู้ไหมว่าเมืองหลวงทางดาราศาสตร์ของประเทศไทยนั้นอยู่ที่ไหน คำตอบไม่ใช่กรุงเทพ แต่เป็นที่เชียงใหม่ เพราะเป็นที่ตั้งของ 3 สถานที่สำคัญในเชิงดาราศาสตร์คือ

  1. หอดูดาวแห่งชาติ บริเวณยอดดอยอินทนนท์สูงจากระดับน้ำ 2,457 เมตร ซึ่งติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร ใหญ่ขนาดคนเข้าไปอยู่ในตัวกล้องได้
  2. หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ เป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งแรกของไทย ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตร ซึ่งจะเปิดใช้งานเร็ว ๆ นี้
  3. อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร (Astro Park) สำนักงานใหญ่ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) หรือ NARIT ที่เราจะพาไปตะลุยในวันนี้
อาคารของอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร (Astro Park)

อาคารของอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร (Astro Park)

ไฮไลต์แรกของอุทยานดาราศาสตร์สิรินธรคืออาคารท้องฟ้าจำลองและนิทรรศการ ซึ่งตัวท้องฟ้าจำลองแห่งนี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 17 เมตร รองรับผู้ชมได้ 160 ที่นั่ง ใช้ระบบการฉายดาวแบบโปพเจกเตอร์ความละเอียดสูง 12 ตัวฉายภาพซ้อนกันจนเต็มโดม ซึ่งรองรับความละเอียดได้ถึง 8K เลยทีเดียว และเมื่อเป็นการฉายในระบบโพรเจกเตอร์แทนที่จะเป็นเครื่องฉายดาวในระบบกลไก จึงทำให้ท้องฟ้าจำลองของที่นี่สามารถแสดงท้องฟ้ายามค่ำคืนไปพร้อม ๆ กับการฉายเนื้อหาในรูปแบบ Full Dome ได้ ซึ่งประสบการณ์การชมเนื้อหาบนจอใหญ่ระดับทั้งโดมนี้ ตื่นตาตื่นใจมาก เราว่ามันตื่นเต้นกว่าดูหนังในโรงจอใหญ่ ๆ อีกนะ

ท้องฟ้าจำลองที่อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร (Astro Park)

ท้องฟ้าจำลองที่อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร (Astro Park)

ห้องฉายดาว ท้องฟ้าจำลองที่อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร (Astro Park)

ท้องฟ้าจำลองที่อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร (Astro Park)

ที่ตัวอาคารท้องฟ้าจำลองและนิทรรศการยังมีส่วนการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับดาราศาสตร์อีก 19 โซน ซึ่งการจัดแสดงที่น่าตื่นเต้นที่สุดน่าจะเป็นลูกตุ้มเพนดูลัมขนาดยักษ์ที่อยู่ชั้นล่างของอาคาร เพื่อพิสูจน์การหมุนของโลกที่ลูกตุ้มจะค่อย ๆ เปลี่ยนทิศทางการแกว่งไปช้า ๆ นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการเกี่ยวกับการสำรวจระบบสุริยะ เสียงแห่งเอกภพ การเกิดเฟสดวงจันทร์ เครื่องตรวจจับรังสีคอสมิก การเปรียบเทียบน้ำหนักบนดาวเคราะห์ อุกกาบาต ลูกตุ้ม ภารกิจพิชิตดวงจันทร์ เป็นต้น

ลูกตุ้มเพนดูลัมที่ Astro Park

ลูกตุ้มเพนดูลัมที่ Astro Park

อาคารท้องฟ้าจำลองและนิทรรศการ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ปิดบริการทุกวันจันทร์ ส่วนใครที่สนใจส่วนของท้องฟ้าจำลอง ค่าบัตรก็ไม่แพง สำหรับนักเรียน นักศึกษา 30 บาท ส่วนประชาชนทั่วไปก็ 50 บาท จะมีรอบฉายดาวเวลา 11.00 น. และ 14.00 น. ส่วนวันเสาร์จะมีรอบพิเศษเวลา 17.00 น. ให้ชมด้วย ซึ่งเมื่อชมเสร็จแล้วก็สามารถร่วมกิจกรรมดูดาวบนท้องฟ้าของจริงต่อได้เลย

กิจกรรมดูดาวทุกคืนวันเสาร์

กิจกรรมดูดาวที่อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร

กิจกรรมดูดาวที่อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร

ทุก ๆ คืนวันเสาร์ที่อุทยานดาราศาสตร์สิรินธรยังมีกิจกรรมดูดาว ผ่านกล้องโทรทรรศน์ 6 ตัวที่ตั้งอยู่บนอาคารหอดูดาว โดยพระเอกคือกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงขนาด 0.7 เมตรที่สามารถเจาะลึกไปยังเทหวัตถุบนฟากฟ้าได้ไกลยิ่งกว่ากล้องโทรทรรศน์ตามบ้านทั่วไป พร้อมฟังบรรยายประกอบโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งกิจกรรมดูดาวนี้ก็ยังจัดที่หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติที่โคราช, ฉะเชิงเทราและสงขลาอีกด้วย ซึ่งแต่ละที่ก็จะมีช่วงเดือนที่ปิดให้บริการต่างกัน ลองเช็กที่แฟนเพจของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติได้เลย

อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร (Astro Park) ไม่ได้มีแค่ดูดาว

แต่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติหรือ Narit ก็ไม่ได้มีแค่ท้องฟ้าจำลองและการดูดาวอย่างเดียว เมื่อแบไต๋ได้ไปบุกถึงสำนักงานใหญ่ที่เชียงใหม่ ได้เลยโอกาสตะลุยว่าที่นี้เค้าทำอะไรกันอีกบ้าง ซึ่งมันล้ำมาก

เครื่องเคลือบกระจกแห่งแรกของไทย

เครื่องเคลือบกระจกที่อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร

เครื่องเคลือบกระจกที่อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร

กระจกนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากในวงการดาราศาสตร์ เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญของกล้องโทรทรรศน์ ตามปกติแล้วประสิทธิภาพของกระจกสะท้อนแสงในกล้องจะลดลงไปเรื่อย ๆ ตามอายุการใช้งาน ซึ่งหลังจากใช้งานไปได้ 2-3 ปีก็ต้องถอดกระจกออกมาเคลือบใหม่ ให้ประสิทธิภาพในการสะท้อนแสงกลับมาเหมือนใหม่ และที่อุทยานดาราศาสตร์สิรินธรแห่งนี้ก็มีเครื่องเคลือบกระจกเครื่องแรกของไทยที่ร่วมพัฒนากับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) โดยใช้เวลาพัฒนากว่า 3 ปี ใช้งบประมาณไปราว 15 ล้านบาท เทียบกับการซื้อเครื่องจากต่างประเทศที่มีราคาเกือบ 50 ล้านบาทก็ถือว่าถูกกว่าเกินครึ่ง โดยเครื่องนี้สามารถเคลือบกระจกได้ถึงขนาด 2.4 เมตร ซึ่งเป็นขนาดกระจกที่หอดูดาวแห่งชาติใช้อยู่ ทำให้ไม่ต้องเสี่ยงขนย้ายกระจกราคาแพงกว่า 80 ล้านบาทนี้ในระยะไกลให้เกิดความเสียหาย นอกจากนี้เครื่องเคลือบกระจกนี้ยังให้บริการเคลือบกระจกกล้องโทรทรรศน์อื่น ๆ ในประเทศไทยด้วย

อภิชาต เหล็กงาม ทีมงานของ Narit กำลังอธิบายรายละเอียดของเครื่องเคลือบกระจก

อภิชาต เหล็กงาม ทีมงานของ Narit กำลังอธิบายรายละเอียดของเครื่องเคลือบกระจก

กระจกที่เคลือบได้จากเครื่องเคลือบกระจกและจะใช้ในโครงการ Cherenkov Telescope Array

กระจกที่เคลือบได้จากเครื่องเคลือบกระจกและจะใช้ในโครงการ Cherenkov Telescope Array

เครื่องเคลือบกระจกของไทยนั้นใช้เทคนิคการยิงอะตอมเข้าไปบนผิวกระจกเพื่อเคลือบ แทนที่การเคลือบแบบเก่าที่ใช้ไอระเหยมาเกาะกระจก ทำให้ได้ผลงานที่คงทน จากความสำเร็จนี้จึงทำให้ไทยได้เข้าร่วมโครงการ Cherenkov Telescope Array หรือกลุ่มกล้องโทรทรรศน์เพื่อสืบหาพลังงานเริ่มต้นของจักรวาล โดยไทยจะพัฒนาเครื่องเคลือบรุ่นใหม่ที่ได้ทำงานได้เร็วขึ้น เพื่อส่งไปเคลือบกระจกกว่า 6000 บาน ในโครงการนี้ที่ชิลี ทำให้เรามีสิทธิ์ได้ข้อมูลการวิจัย และ Time Slot สำหรับใช้กล้องโทรทรรศน์ Cherenkov เพื่อการวิจัยของไทยด้วย

ห้องปฏิบัติการ CNC

เครื่อง CNC กำลังสกัดอลูมิเนียมให้ได้รูป

เครื่อง CNC กำลังสกัดอลูมิเนียมให้ได้รูป

ผลงานของห้อง CNC

ผลงานของห้อง CNC

สามารถสร้างเมาท์เลนส์เพื่อให้กล้องดิจิตอลเชื่อมต่อกับกล้องโทรทรรศน์ได้

สามารถสร้างเมาท์เลนส์เพื่อให้กล้องดิจิทัลเชื่อมต่อกับกล้องโทรทรรศน์ได้

หลังจากผลิตเสร็จแล้ว ก็ต้องเข้าเครื่องตรวจสอบคุณภาพชิ้นงาน

หลังจากผลิตเสร็จแล้ว ก็ต้องเข้าเครื่องตรวจสอบคุณภาพชิ้นงาน

ที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ นั้นไม่ใช่ผู้บริโภคเทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังทำหน้าที่เป็นผู้สร้างด้วย โดยมีห้องปฏิบัติการ CNC พร้อมเครื่องจักรทันสมัยเป็นของตัวเอง เพื่อสกัดขึ้นรูปอลูมิเนียมและโลหะอื่น ๆ ให้เหมาะสำหรับสำหรับการทำอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งเพื่องานวิจัยและการสนับสนุนการพัฒนาเครื่องมือทางดาราศาสตร์ เช่นเมาท์เลนส์พิเศษสำหรับต่อกล้องดิจิทัลกับกล้องโทรทรรศน์ อุปกรณ์ฐานกล้องโทรทรรศน์ หรือตัวจับปริซึม นอกจากนี้ยังสามารถทำ Anodized Aluminium หรือการทำสีให้อลูมิเนียมได้อีกด้วย

ห้องปฏิบัติการเมคาทรอนิกส์

ห้องปฏิบัติการเมคาทรอนิกส์

ห้องปฏิบัติการเมคาทรอนิกส์

เครื่องผลิตแผงวงจรในห้องปฏิบัติการเมคาทรอนิกส์

เครื่องผลิตแผงวงจรในห้องปฏิบัติการเมคาทรอนิกส์

ทีมงานห้องปฏิบัติการเมคาทรอนิกส์กับกลไกควบคุมกล้องโทรทรรศน์ที่กำลังพัฒนา

ทีมงานห้องปฏิบัติการเมคาทรอนิกส์กับกลไกควบคุมกล้องโทรทรรศน์ที่กำลังพัฒนา

นอกจากนี้ที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติยังมีห้องปฏิบัติการเมคาทรอนิกส์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ โดยตอนนี้กำลังพัฒนาชุดควบคุมการเคลื่อนที่ของกล้องโทรทรรศน์เพื่อติดตามวัตถุบนท้องฟ้าให้ยืดหยุ่นกว่าระบบเดิมที่ซื้อมาจากต่างประเทศด้วยงบประมาณการสร้างที่น้อยกว่าการซื้อระบบใหม่ ซึ่งระบบใหม่จะสามารถติดตามวัตถุใกล้โลกอย่างดาวเทียมได้ แถมทีมพัฒนาไทยยังได้สร้างองค์ความรู้ที่สำคัญทั้งการพัฒนาฮาร์ดแวร์เคลื่อนไหวที่ละเอียดและแข็งแรงสำหรับกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ พร้อมซอฟต์แวร์ควบคุมที่แม่นยำ ซึ่งคาดว่าจะเข้าสู่ช่วงทดสอบระบบในช่วงต้นปี 2564 นี้

ห้องปฏิบัติการทัศนศาสตร์ (Optic Labs)

Dr.Christophe Buisset เซ็ตอุปกรณ์ใน Optic Lab ให้เหมือนแสงจากดวงดาว

Dr.Christophe Buisset เซ็ตอุปกรณ์ใน Optic Labs ให้เหมือนแสงจากดวงดาว

ต้นแบบของเครื่อง Spectrograph ที่กำลังศึกษา

ต้นแบบของเครื่อง Spectrograph ที่กำลังศึกษา

อุปกรณ์ใน Optic Lab ต้องใช้ความละเอียดมาก

อุปกรณ์ใน Optic Labs ต้องใช้ความละเอียดมาก

พื้นที่ทั้งหมดของ Optic Lab เป็นห้องปลอดฝุ่น

พื้นที่ทั้งหมดของ Optic Labs เป็นห้องปลอดฝุ่น

ที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติยังมีห้องปฏิบัติการชั้นสูงอย่าง Optic Labs เพื่อออกแบบและทดสอบเครื่องมือด้านแสงต่าง ๆ อย่างเครื่อง Spectrograph (สเปกโตกราฟ) ที่วิเคราะห์แสงเพื่อหาองค์ประกอบหรือลักษณะของแหล่งกำเนิดแสง โดยเฉพาะแสงจากดวงดาวอันไกลโพ้น ซึ่งห้องแล็ปนี้ยังสร้างให้เป็น Clean Room เพื่อป้องกันฝุ่นละอองในอากาศเข้าไปสร้างความคลาดเคลื่อนให้กับเครื่องมือทดสอบความละเอียดสูงอีกด้วย ซึ่งบนโต๊ะทดลองเราจะเห็นทั้ง เลนส์, กระจก, ปริซึม หรือแหล่งกำเนิดแสงแบบต่าง ๆ เพื่อจำลองให้เหมือนแสงจากดวงดาวเพื่อทดสอบแนวคิดและปรับปรุงการทำงานของอุปกรณ์ ก่อนที่จะนำไปผลิตจริง

Play video

กิจกรรมพิเศษ NARIT AstroFest 2020

AstroFest 2020

AstroFest 2020

NARIT AstroFest 2020 มหกรรมดาราศาสตร์ครั้งแรกในไทย จะจัดในวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2563 นี้ โดยรวมหลากหลายกิจกรรมพิเศษทางดาราศาสตร์ สำหรับทุกเพศทุกวัย จัดขึ้นตลอดสองวันสองคืน เพื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนมาเยี่ยมชมอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ซึ่งเริ่มเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการครั้งแรก โดยเชิญชวนผู้สนใจ ร่วมกิจกรรมในวันดังกล่าว ตั้งแต่เวลา 09.00-22.00 น. มีกิจกรรมน่าสนใจ เช่น

  • สนุกกับนิทรรศการดาราศาสตร์ 19 โซนการเรียนรู้
  • ท่องเอกภพในท้องฟ้าจำลองฟูลโดมดิจิทัล ขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในไทย
  • เปิดหลังบ้าน ชมห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีดาราศาสตร์ขั้นสูง อาทิ วิศวกรรมเมคาทรอนิกส์ เทคโนโลยีการเคลือบกระจกที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงต่าง ๆ มากมาย
  • NARIT Family Camp ค่ายครอบครัวดาราศาสตร์เพื่อทุกคนในครอบครัว ครั้งแรกในเชียงใหม่
  • Meet the Astronomers ล้อมวงคุยเฟื่องทุกเรื่องที่สงสัยกับนักดาราศาสตร์ตัวจริงเสียงจริง ช่วงเวลา 14:00-15:00 น.
  • ชมดาวเคล้าดนตรีในสวนสวย ฯลฯ
ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

 

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส