ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ตามที่กรมสรรพากรได้ออกกฎหมายจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการบริการอิเล็กทรอนิกส์จากแพลตฟอร์มผู้ให้บริการต่างประเทศ (VAT for Electronic Service : VES) ที่ให้บริการกับผู้ใช้บริการในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 ที่ผ่านมานั้น

กรมสรรพากรคาดจัดเก็บภาษี e-Service ทั้งปีทะลุเป้าหมื่นล้าน หลัง 5 เดือนแรก จัดเก็บได้กว่า 3,000 ล้านบาท
ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร

ปัจจุบันมีแพลตฟอร์มผู้ให้บริการต่างประเทศเข้ามาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มรวม 127 ราย และมียอดมูลค่าบริการอิเล็กทรอนิกส์รวม 44,569.83 ล้านบาท คิดเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บสะสม 5 เดือน (เดือนภาษีกันยายน 2564 – มกราคม 2565) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,120.03 ล้านบาท

ทั้งนี้ ผลการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแยกตามประเภทแพลตฟอร์มและบริการสะสม 5 เดือน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ประเภทแพลตฟอร์มและบริการมูลค่าบริการอิเล็กทรอนิกส์
(ล้านบาท)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ล้านบาท)
บริการโฆษณาออนไลน์28,013.661,960.96
บริการขายสินค้าออนไลน์11,982.82838.83
บริการสมาชิก เพลง หนัง เกม ฯลฯ4,023.06281.69
บริการแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลาง367.6725.76
บริการแพลตฟอร์มจองที่พัก ตั๋วเดินทาง ฯลฯ182.6212.79
รวม44,569.833,120.03
ข้อมูล ณ วันที่ 15 มีนาคม 2565

ดร.เอกนิติ กล่าวว่า “การจัดเก็บภาษี e-Service จากผู้ประกอบการต่างประเทศ หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์กับผู้ใช้บริการในประเทศไทย ตั้งแต่เดือนภาษีกันยายน 2564 – มกราคม 2565 จำนวนกว่า 3,000 ล้านบาท ในระยะเวลาเพียง 5 เดือนนั้น ทำให้คาดได้ว่าภายใน 1 ปี ทางกรมสรรพากรจะสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้จากแพลตฟอร์มผู้ให้บริการต่างประเทศประมาณ 8,000 – 10,000 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าที่เคยมีการคาดการณ์ไว้แต่เดิม ว่าจะจัดเก็บได้ที่ประมาณ 5,000 ล้านบาท”

อธิบดีกรมสรรพากร ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การเก็บภาษี e-Service นอกจากเป็นการช่วยสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้กับประเทศแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการต่างประเทศ ด้วยการนำภาษีมาสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้น

ที่มา : กรมสรรพากร