นักวิจากจาก King’s College London พบว่ายาต้านอาการซึมเศร้ามากกว่า 12 ชนิดมีส่วนประกอบของ fluoxetine (Prozac), sertraline (Zoloft), and escitalopram (Lexapro) ซึ่งเป็นสารที่มีส่วนในการเพิ่มของน้ำหนักตัว หลังจากที่เข้ารับการรักษาเป็นเวลา 6 ปี ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ส่วนคนที่น้ำหนักตัวมากอยู่แล้วกลับกลายเป็นน้ำหนักเกิน Dr. Rafael Gafoor นักวิจัยด้านสาธารณสุข แห่ง King’s College London กล่าวว่า เขาและทีมของเขาได้ทำการวิจัยผู้ป่วย 300,000 คนในสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปี 2004-2014 ตั้งแต่คนที่มีน้ำหนักปกติ ไปจนถึงน้ำหนักเกิน พบว่าผู้ป่วยมีอัตราการเพิ่มของน้ำหนักตัวอย่างน้อย 5% นั่นหมายถึง ถ้าคนที่หนัก 155 ปอนด์ ก็จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 7 ปอนด์

อ้างอิงจากงานวิจัยผู้ที่รับประทานยาต้านการซึมเศร้านั้น มีแนวโน้มที่น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น 21% และมีแน้วโน้มเพิ่มดัชนีมวลกายถึง 29% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทานยา นักวิจัยยังกังวลถึงความเสี่ยงที่ผู้ป่วยอาจจะได้รับมากกว่านี้ เพราะงานวิจัยก่อนหน้านี้วิจัยเรื่องยาต้านการซึมเศร้ากับน้ำหนักตัวเพียงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น โดยปกติคือน้อยกว่า 1 ปี

ยาจะส่งผลเสี่ยงสูงสุดเมื่อเข้าปีที่ 2-3 โดยเมื่อเข้าช่วงความเสี่ยงนี้แล้ว น้ำหนักตัวของผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 46% และนักวิจัยยังพบอีกว่าไม่ว่าจะลองใช้ยาที่มีส่วนประกอบที่ต่างออกไป ก็ยังคงมีผลต่อการเพิ่มของน้ำหนักตัวอยู่ดี ในมุมมองของสาธารณะสุขผลการเพิ่มน้ำหนักตัวจากการรับประทานยาเป็นที่น่ากังวล ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ มีการเพิ่มการสั่งยาต้านการซึมเศร้ามากขึ้นถึง 2 เท่า ซึ่งนักวิจัยก็ยังคงไม่กำหนดระยะเวลาในการรับประทานยาซึมเศร้า ว่าควรจะบริโภคในระยะเวลานานหรือไม่ Gafoor กล่าว ในอเมริกามีผู้รับประทานยาต้านการซึมเศร้า 13% ในขณะที่ 1 ใน 3 ของอเมริกามีภาวะโรคอ้วน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพก็ยังไม่ปักใจเชื่อว่ายาจะส่งผลกับโรคอ้วนถึงขนาดนั้น

ความขัดแย้งของยาต้านการซึมเศร้า

ทุกๆคนรู้ถึงความเสี่ยงของโรคเบาหวานเมื่อคุณเป็นโรคอ้วน แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ถึงความเสี่ยงต่อโรคอ้วนจากการรับประทานยาต้านการซึมเศร้า? Judith J. Wurtman PhD อดีตผู้อำนวยการวิจัยทางคลินิกที่ MIT และผู้ก่อตั้ง TRIAD ซึ่งเป็นศูนย์การลดน้ำหนักของโรงพยาบาล Harvard กล่าว Wurtman ได้ให้ยาต้านการซึมเศร้าเป็น 1 ในยาที่ขัดแย้งในตัวเองเนื่องจากมันมีความสัมพันธ์กับโรคอ้วน กล่าวคือเมื่อเครียดแล้วกินยา พอกินยาแล้วอ้วน ก็เครียดกับความอ้วนเหมือนเดิม

โรคอ้วนและโรคซึมเศร้ามักจะมาคู่กัน อ้างอิงจากกรมควบคุมโรค (CDC) คนมากกว่า 43% ที่มีภาวะซึมเศร้า เป็นโรคอ้วนร่วมด้วย และนอกจากนี้สัดส่วนของคนที่เป็นโรคอ้วนเพิ่มตามความเครียดที่มากขึ้นด้วย ทั้งนี้หมอ และ ผู้ให้การรักษาจึงควรแจ้งถึงผลข้างเคียงนี้ และ ติดตามน้ำหนังที่เพิ่มขึ้นของผู้ป่วยตลอดช่วงระยะเวลาที่รับการรักษา โดยเมื่อผู้ป่วยรับการรักษาในช่วง 6 สัปดาห์แรก หากสังเกตเห็นหารเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว คุณหมอควรวางแผนรับมือจัดการกับปัญหานี้

แต่เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้ว เราก็ไม่ควรหยุดยาด้วยตนเองเพียงเพราะกลัวที่จะอ้วน คุณควรมาคุยกับแพทย์ที่ทำการรักษาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะบางทีมันอาจมีปัญจัยอื่นที่ทำให้คุณน้ำหนักขึ้นรวมอยู่ด้วยก็ได้

อ้างอิง