ไก่บ้านที่เราเลี้ยงกันมาหลายชั่วอายุนั้นเกิดความน่าสนใจอีกครั้ง เมื่อมีงานวิจัยที่น่าสนใจเผยว่า ประเทศไทยคือจุดกำเนิดของไก่บ้านโดยย้อนกลับไปราว ๆ ปี 1650 – 1250 ปีก่อนคริสตศักราช ประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลาง และเป็นจุดเริ่มต้นที่มนุษย์นำเอาไก่ป่า (wild fowl ) มาเลี้ยง ความสัมพันธ์ระหว่างไก่ยุคแรกกับการปลูกข้าวและลูกเดือยแสดงให้เห็นว่าการผลิตและการเพาะปลูกเหล่านี้จึงเป็นการเริ่มต้นกระบวนการเลี้ยงไก่

บทความ “The biocultural origins and dispersal of domestic chickens” ของ Joris Peters นักโบราณคดีด้านสัตว์ (zooarchaeologist) ค้นพบว่าจุดเริ่มต้นของไก่บ้านนั้นพึ่งจะเกิดขึ้นไม่นานนี้ การรวมข้อมูลสัตววิทยา สัณฐานวิทยา กระดูก และอื่น ๆ แล้วนักวิจัยก็ได้ใช้ข้อมูลอ้างอิงทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับไก่จากหลาย ๆ แหล่ง รวมถึงหลักฐานการดำรงชีพของผู้คน ในสังคมของจุดสำรวจแต่ละแห่ง มาพัฒนาเป็นแนว scenario ของการเพาะเลี้ยงไก่บ้านและการแพร่กระจายในจุดนั้น ๆ ชี้ว่ากระดูกไก่ที่เก่าแก่ที่สุดชิ้นแรกถูกพบที่ หินใหม่บ้านโนน วัดในภาคกลางของประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมทำนาข้าว ที่มีอายุระหว่าง 1650 – 1250 ปีก่อนคริสตศักราช หรือราว ๆ 3,500 ปีก่อนนั่นเอง

มีว่าหลักฐานทางโบราณคดีชี้ให้เห็นว่า ไก่บ้าน และ การทำนาข้าวได้แพร่กระจายไปทั่วทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา แต่คนในยุคนั้นอาจจะไม่เลี้ยงพวกมันไว้เพื่อบริโภค โดยมองว่ามันเป็นสัตว์พิเศษหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น หลักฐานที่พบกระดูกไก่วางอยู่ในหลุมฝังศพของแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด และถิ่นฐานโบราณอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เชื่อกันว่าพวกมันอาจจะได้รับการยกย่องสถานะบางอย่างทางสังคมหรือวัฒนธรรม คล้ายคลึงกับในยุโรปโบราณ ที่พบว่ามีซากไก่ถูกฝัง หรือเอาไปฝังร่วมในหลุมศพของคน ทั้งที่ไม่ได้ร่องรอยของการถูกชำแหละแต่อย่างไร

ก็ต้องบอกว่านี่เป็นงานวิจัยล่าสุดที่ได้เผยแพร่เรื่องราวจุดกำเนิดของไก่บ้าน โดยใช้ความเชื่อมโยงระหว่างการเลี้ยงสัตว์และการทำเกษตรเพาะปลูก และหลักฐานต่าง ๆ ทั้งข้อมูลสัตววิทยา สัณฐานวิทยา กระดูก ซึ่งในอนาคตอาจมีการค้นพบข้อมูลที่ลึกและทฤษฎีใหม่ ๆ ได้อีกเรื่อย ๆ เพราะการศึกษาวิจัยเป็นสิ่งหนึ่งที่มนุษย์ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ที่มา pnas, อาจารย์เจษฎ์

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส