ในวันนี้เราจะมาคุยกันในหัวข้อการศึกษาไทยพร้อมไปออนไลน์หรือยัง พบกับแขกรับเชฺิญพิเศษที่จะมาร่วมพูดกันในวันนี้

  • หนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ผู้ดำเนินรายการ
  • ผศ.สุรพนธ์ ตุ้มนาค มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเก้าธนบุรี
  • คุณยอดหทัย รีสรีคำ ผู้ก่อตั้งเพจครูโซ่ สอนศิษย์ให้คิดบวก
  • คุณชื่นชีวัน วงเสรี ผู้ร่วมก่อตั้ง Globish Academia 

ผศ.สุรพนธ์ ตุ้มนาค มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเก้าธนบุรี : แน่นอนว่ามันมีหลายเครื่องมือในการสอนออนไลน์หากเรารู้จักเครื่องมือในการใช้งานแต่ละโปรแกรมก็จะมีความแตกต่างกันเราก็ต้องเลือกเอาว่าจะใช้งานโปรแกรมไหน อย่างผมใช้ Zoom ที่เป็นโปรแกรมที่เด็กเข้าถึงง่าย อย่างปัญหาที่ผมพบเจอคือวิชาที่ผมสอนมันจะเช้าเกินไปเด็กนักเรียนเข้ามาเรียนจริงแต่ไม่เปิดกล้องเราเลยไม่สามารถรับรู้ได้ถึงความสนใจของเด็กได้มากน้อยแค่ไหนเพราะเราไม่สามารถมองเห็นหน้าตาของเด็กในช่วงที่ผมกำลังสอน มีบางวิชาที่แก้ปัญหาโดยการอาจารย์ให้เปิดกล้องโดยมีการถามเป็นระยะ โดยการเอาคะแนนมาขู่ ก็จะเป็นแบบนั้นไป

ในส่วนของเรื่องการวัดทางการศึกษานั้นเป็นสิ่งที่ยากที่สุดของการเรียนออนไลน์ โดยปกตินั้นต้องการปฏิบัติลงมือทำด้วยจึงจะเห็นผลได้ชัดเจนว่านักเรียนของเรามีความเข้าใจมากน้อยเพียงใดจากการเรียนออนไลน์ ในส่วนของวิชาผมซึ่งโชคดีมากที่มีโปรแกรมจำลอง Simulation ที่เหมือนจริงมาก ๆ ให้เด็กเขาไป Simulation แล้วนำผลออกมา ซึ่งในส่วนนี้เด็กจะไม่ได้ทักษะ Hand on เพราะเขาไม่เห็นของจริง เป็นจุดอ่อนมากในสายวิศวะ

ซึ่งก็ต้องหาทางออกต่อไปโดยการเรียนแบบออนไลน์ แต่มีการนัดวันที่จะเข้ามาทำแล็ปกัน อาจจะเข้ามาเป็นแบบกลุ่มในแบบเดิมไม่ได้ตามหลัก Social Distancing หรือจะมีอะไรมากั้นไว้และเว้นระยะห่างกันออกไป พูดง่าย ๆ ก็คือต้องปรับปรุงกระบวนการทุกอย่างให้กับสถานการณ์ในตอนนี้โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก เพราะฉะนั้นสิ่งนี้ก็จะเป็น New Normal ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ถ้าถามว่าตอนนี้พร้อมไหมกับการเรียนออนไลน์ ก็ต้องบอกว่าไม่พร้อมก็ต้องพร้อม แต่!! เด็กหลาย ๆ คนสภาพแวดล้อมเขาไม่เอื้ออำนวย บางคนอาจจะอยู่ไร่นา หรือร้านขายอาหาร ต่าง ๆ เพราะบางคนเขาอยู่บ้านต้องช่วยพ่อแม่ของเขา เพราะฉะนั้นนอกเหนือจากเรื่องของการใช้อินเตอร์เน็ตแล้วเรื่องของสภาพแวดล้อมก็เป็นปัญหาส่วนหนี่งของการเรียนออนไลน์เหมือนกัน

อย่างในเรื่องของการวัดผลในการสอบคงต้องปรับระดับลงมาจากเมื่อก่อนเพราะนักเรียนแต่ละคนอาจจะมีความเร็วอินเทอร์เน็ตไม่เท่ากัน อาจจะทำให้การรับรู้ในบางช่วงบางตอนของเนื้อนั้นไม่เท่าเทียมกัน คงจะต้องปรับเกณฑ์การให้คะแนนให้เข้ากับสถานการณ์กันต่อไป ส่วนในเรื่องของบางสถานศึกษาที่ให้ครูอัดคลิปสอนนักเรียนผมมองว่ามันไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่โดยเฉพาะกับเด็กเล็กที่ต้องการให้ครูสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์โดยการมองหน้ามองตาถามตอบกัน มากกว่าอย่าลืมว่าการอัดคลิปสอนมันไม่เหมือนกับการนั่งดูการ์ตูนที่ปล่อยให้เด็กนั่งดูตามลำพังได้ เด็กต้องการความเข้าใจถ้าหากจะต้องดูวีดีโอก็ต้องมีคนคอยกำกับคอยสอน ซึ่งพ่อแม่บางคนอาจจะไม่มีเวลาขนาดนั้นในการสอนลูกเพราะจะต้องทำงาน

คุณยอดหทัย รีสรีคำ ผู้ก่อตั้งเพจครูโซ่ สอนศิษย์ให้คิดบวก : เราจะทำยังไงให้รูปแบบออนไลน์เป็นรูปแบบที่นักเรียนสามารถมีสมาธิอยู่กับเราได้ครบเวลา นั่นก็คือเราจะต้องมาออกแบบวิธีการสอนให้นักเรียนอินกับเนื้อหา เอารูปแบบของการไลฟ์สดแคสเกมนำมาปรับใช้จนเกิดเป็นห้องเรียนแบบนี้ครับ เพราะเวลาที่ผมดูแคสคนดูเยอะมากเลย เขาทำอย่างไรไม่ให้คนดูออก เราเลยเอาวิธีการแคสต์เกมมาผสมกับ Zoom 

คุณชื่นชีวัน วงเสรี ผู้ร่วมก่อตั้ง Globish Academia : โมเดลการเรียนออนไลน์มันประสบความสำเร็จมากอย่างในญี่ปุ่น เกาหลี หรือในจีน มีบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ไปแล้ว 3-5 บริษัทในแต่ละประเทศ ซึ่งในประเทศเหล่านี้มีความสนใจในเรื่องของภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก อย่างของ Globish เองปีที่แล้วก็มีทั้งหมดกว่าแสนคลาส ในปี 2020  นี้แค่ครึ่งปีก็ถึงแสนคลาสไปเรียบร้อยแล้วเรียกได้ว่าเติบโตขึ้นกว่า 200% เลยที่เดียว อยากของ Globish เองจะเน้นในเรื่องของการพูดก่อนโดยยังไม่ต้องคำนึงถึงการใช้สำเนียงเพราะคุณต้องกล้าที่จะพูดก่อนถึงจะเน้นในเรื่องของสำเนียงครูที่สอนในคลาสมีให้เลือกหลายสำเนียงจากหลายประเทศตามความสนใจของผู้เรียนเลย

ผศ.สุรพนธ์ ตุ้มนาค มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเก้าธนบุรี : อย่างของครูโซ่ที่เป็นการสอนเสริมจากนักเรียนที่เรียนในระบบอยู่แล้วเพื่อไปสู้กับคนอื่น ๆ หรือนำไปสอบแข่งขันการเข้ามหาลัย อย่างของคุณจุ้ยพ่อแม่อยากให้เด็กพูดภาษาอังกฤษได้แล้วเด็กบางทีก็อยากพูดได้ซึ่งจะเป็นข้อดีของเด็กยุคใหม่ อย่างเด็กบางคนอาจจะมี Passion ในการเรียนภาษา และเด็กมหาลัยบางคนมี Passion อยากจะเป็นวิศวะ แต่ในระหว่างช่งที่เรียนในบางวิชา Passion นั้นหายไปเพราะอาจจะมีความชื่นชอบในบางวิชาที่เรียนเท่านั้น

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส