ฟังคำตอบชัด ๆ จากเจ้าสัวสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ อดีตประธานกรรมการ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ที่ตอบคำถามจากแพลตฟอร์ม CLUBHOUSE ในหัวข้อ #beartai SME Clinic โดยคุณธนินท์ ร่วมคิดฝ่าวิกฤตด้วยช่วยคุณ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

คุณ โจ ไตรเทพ ProPlugin ทำธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมดนตรี ขายอุปกรณ์เกี่ยวกับเสียง นำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศ ในช่วง 3-4 ปีหลังก็พยายามสร้างระบบนิเวศขึ้นมา สร้างกลุ่มอุปกรณ์ให้ครบช่วง ทั้งคนที่ต้องการเป็นศิลปิน เป็น Content Creator แล้วก็ทำสถาบันสอนเรื่องดนตรี

การขยายธุรกิจตอนนี้ ถ้าขยายไปนอกกรอบ มันก็จะล้มลุกคลุกคลาน จึงอย่างถามว่า CP มีวิธีสร้าง ecosystem ได้ยังไงให้มีประสิทธิภาพ?

ทำถูกธุรกิจแล้ว ในธุรกิจนี้จะเจริญรุ่งเรือง คิดถูกแล้วว่าต้องทำอะไรที่เกี่ยวข้อง แต่มีข้อเสนออย่างนี้ คือต้องดูว่าพระเอกหลักเรามีปัญหาไหม ถ้าจะก้าวเร็วแต่เงินเราไม่พอ ก็ต้องควบรวม ก็ต้องหาพาร์ตเนอร์ แต่ถ้าไม่มี ธุรกิจหลักก็ต้องอยู่รอดก่อน ถ้ากำลังของเรายังไม่พร้อม จะยังไม่ไป หรือถ้าจะไปก็ต้องหาทางควบรวม

แต่ก็ต้องหาปัญหาให้เจอว่าปัญหาอยู่ไหน จะทำให้สำเร็จต้องทำยังไง ทุกขั้นตอนต้องสอดคล้องกัน มันถึงจะเร็วและมีประสิทธิภาพ ตอนต้มยำกุ้ง CP ก็ต้องขายธุรกิจทิ้งไปหลายอย่าง เพื่อรักษาธุรกิจหลักเอาไว้ให้ได้ ในวิกฤตนี้ต้องดูพลังของเราก่อน รักษาแกนไว้ให้ได้ ถ้ามีโอกาสค่อยพุ่ง แต่ถ้ายังไม่ถึงเวลาก็อย่าเพิ่งออกไป

คุณมินต์ ทำห้องน้ำพกพา ติดรถได้ สามารถเอาไปใช้ได้ในเวลาเดินทาง เปลี่ยนของเหลวให้เป็นเจลและเก็บกลิ่น เก็บไว้ได้นาน 5 ปี ซึ่งได้รับผลกระทบจาก Covid-19 อยู่ ตอนนี้จะขยายจากผู้ใหญ่เป็นเด็ก เริ่มขยายไปกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง

เนื่องจากเป็นของใหม่ จะทำยังไงให้ผู้ใช้แล้วบอกต่อ?

มองว่ามีอนาคต แต่เริ่มต้นแคบไปหน่อย สำหรับคนท่องเที่ยวเป็นหลัก น่าจะต่อยอดไปทำกับโรงพยาบาล ทำอะไรออกมาที่ใช้ได้ชัวร์ ๆ แล้วพอคนไม่เที่ยว คนไม่ออกนอกบ้าน มันก็จำกัดจำนวน ผู้ป่วยติดเตียงก็ยังมีจำกัด อาจจะคนต่างจังหวัด คนที่เข้าป่า ลองคิดวงกว้างขึ้น เราผลิตเครื่องมือแล้ว ลงทุนอีกไม่มาก ก็ต้องโฆษณามากขึ้น แล้วถ้าผลิตมากขึ้นจะสามารถทำให้ถูกกว่านี้ได้ไหม พยายามอย่าคิดเจาะจงเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

คุณตั้มจากกลุ่ม Startup ตอนที่ Jack Ma เป็นนักลงทุนรายเล็ก ๆ มาขอทุนกับคุณธนินทร์ แต่คุณธนินทร์ไม่ได้ให้ทุนไป?

ตอนนั้นไปฮ่องกง แล้วเจอ Jack Ma แล้วฟังที่นำเสนอไม่เข้าใจ เพราะที่ผ่านมาทำธุรกิจหนักมาตลอด แล้วยังนึกภาพไม่ออกธุรกิจเบาอย่าง e-commerce ที่ยังไม่เป็นรูปเป็นร่างตอนนั้น จะเป็นเงินได้ยังไง เหมือนตอนนี้ที่ยังไม่รู้จัก Bitcoin ลึกเท่าไหร่ ถ้าตอนนั้นไปลงทุนกับ Jack Ma ก็คงรวยไม่รู้เรื่องแล้ว ของ Softbank ก็เหมือนกัน ถ้ากล้าลงทุน แต่ผมก็ยังไม่กล้าลงทุน เพราะเรื่องไฮเทคต้องเรียนรู้ เราทำของหนักมาก แต่เค้าทำของเบา Jack Ma เคยเชิญไปกินข้าวที่บ้าน 2 ครั้ง

คุณอาหลง ทำบริษัททัวร์ ตอนนี้มี inbound กับในประเทศที่ยังรอด แต่ก็ไม่ได้การช่วยเหลือจากรัฐบาล แม้รัฐบาลบอกว่าจะให้ soft loan แต่พอไปขอจริง ธนาคารบอกว่าเป็นธุรกิจที่เสี่ยง จนทำให้หลายบริษัทต้องปิดไปแล้ว

ผมยังอยากลงทุนกับธุรกิจแบบนี้ เพราะคิดว่ายังมีอนาคต แต่ต้องเสริมรูปแบบใหม่ ๆ เข้าไปด้วย ให้ทันสมัย ไม่ใช่พาไปเที่ยวอย่างเดียว ถ้าคุณธนินทร์เป็นรัฐบาลจะกู้เงิน เลี้ยงธุรกิจแบบนี้ให้อยู่รอดก่อน เอามาอบรมว่าหลัง Covid-19 แล้วคนต้องการอะไร อยู่ ๆ ไปปิดทัวร์ 0 เหรียญ ก็ไม่เข้าใจว่าปิดทำไม ทั้งที่จริง ๆ อาจจะทำให้คนกลับมาเที่ยวใหม่ก็ได้

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส