ศูนย์ข้อมูลน้ำแข็งและหิมะนานาชาติของ Nasa ได้พบว่า แผ่นน้ำแข็งใน Arctic มีขนาดอยู่ที่ 14.52 ล้านตารางกิโลเมตรในปี 2016 นี้ ซึ่งนับว่าต่ำที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกในปี 1979

นับเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันแล้วแที่พื้นที่แผ่นน้ำแข็งได้ลดลงอย่างน่าใจหาย หลังจากที่ปี 2015 มีพื้นที่แผ่นน้ำแข็งลดลงเหลือเพียง 14.54 ล้านตารางกิโลเมตร

พื้นที่เกือบ 1 ล้านตารางกิโลเมตรของแผ่นน้ำแข็งได้หายไป

Walt Meier นักวิทยาศาสตร์น้ำแข็งทะเล ผู้ซึ่งทำการวิจัยด้านนี้อยู่ได้กล่าวว่า “สภาวะโลกร้อน” เป็นตัวแปรสำคัญ เช่นเดียวกับน้ำทะเลที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น นั่นหมายความว่ารูปแบบเหล่านี้จะยังคงดำเนินต่อเนื่องไปในอนาคต

Play video

น้ำแข็งใน Arctic ช่วยรักษาอุณหภูิมของโลกให้คงที่โดยการสะท้อนพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ไม่ให้สะสมในน้ำทะเล

“ถ้าปราศจากน้ำแข็งแทะเล น้ำจะเพิ่มอุณหภูมิสูงขึ้น ความร้อนจากน้ำทะเลจะลอยขึ้นสู่ชั่นบรรยากาศที่อุณหภูมิต่ำกว่า ส่งผลให้ภูมิอากาศโลกร้อนขึ้น” Jennifer Francis นักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศกล่าว “อุณหภูมิที่ร้อนขึ้นใน Arctic จะแพร่กระจายไปทั่ว ทำให้น้ำเกิดการระเหยเป็นไอมากขึ้น ส่งผลให้ความหนาแน่นของเมฆสูงขึ้น ทำให้อุณหภูมิที่พื้นผิวโลกเพิ่มสูงขึ้น เพราะความร้อนไม่สามารถกระจายตัวสู่ชั้นบรรยากาศที่สูงขึ้นได้”

ARCTIC_0 (1)

ข้อมูลดังกล่าวค่อนข้างใกล้เคียงกับที่ Earth Sciences Research Laboratory (ESRL) ได้ออกมายืนยันในเดือนมีนาคม 2016 ว่า “ระดับก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมหาศาลในแต่ละปี”

ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ มีคุณสมบัติพิเศษในการเก็บความร้อนไว้ในตัวได้เป็นปริมาณมาก ส่งผลให้อุณหภูิมสูงขึ้น และในปี 2015 อุณกูมิที่ Arctic ได้เพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งอาจเป็นผลกระทบมาจากปรากฏการณ์ El Niño 

_65858785_icescape

หากอุณภุมิที่ Arctic สูงขึ้น ย่อมเร่งการละลายของแผ่นน้ำแข็งให้เร็วขึ้น ถ้าจะเปรียบเทียบให้ชัดเจนก็เหมือนกับ

“แก้วที่มีน้ำอยู่เต็มแล้วใส่น้ำแข็งก้อนหนึ่งลงไป ปริมาณน้ำจะเพิ่มขึ้นจนล้นออกจากแก้ว”

ในกรณีนี้คือปริมาณน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้น ย่อมทำให้ธรรมชาติเสียสมดุล อันนำมาซึ่งภัยพิบัติต่างๆ นั่นเอง

ที่มา : wired.co.uk