หลังจากเริ่มแพร่ระบาดมาตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2019 ที่เมืองอู่ฮั่นประเทศจีน ซึ่งมีการตรวจพบผู้ติดเชื้อคนแรกนั้น ผ่านมา 1 ปี 1 เดือน เชื้อไวรัสโควิด-19 หรือโคโรนาไวรัสก็ทำให้มีผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกรวมกันเกิน 100 ล้านคนแล้วในวันนี้ (26 มกราคม ตามเวลาประเทศไทย) และมีผู้เสียชีวิตเกิน 2 ล้านรายแล้วด้วย โดย 10 อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสะสมมากที่สุด ได้แก่

  • สหรัฐอเมริกา 25,833,984 คน
  • อินเดีย 10,677,710 คน
  • บราซิล 8,850,135 คน
  • รัสเซีย 3,738,690 คน
  • สหราชอาณาจักร 3,669,658 คน
  • ฝรั่งเศส 3,057,857 คน
  • สเปน 2,697,294 คน
  • อิตาลี 2,475,372 คน
  • ตุรกี 2,435,247 คน
  • เยอรมนี 2,154,369 คน

ส่วน 10 อันดับประเทษที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมมากที่สุด ได้แก่

  • สหรัฐอเมริกา 430,995 ราย
  • บราซิล 217,133 ราย
  • อินเดีย 153,624 ราย
  • เม็กซิโก 149,614 ราย
  • สหราชอาณาจักร 98,531 ราย
  • อิตาลี 85,881 ราย
  • ฝรั่งเศส 73,494 ราย
  • อิหร่าน 57,481 ราย
  • สเปน 56,208 ราย
  • เปรู 39,777 ราย

ด้านสถานการณ์ยอดผู้ติดเชื้อในแถบประเทศอาเซียน มียอดผู้ติดเชื้อสะสมและผู้เสียชีวิตสะสม ดังนี้

  • อินโดนีเซีย ติดเชื้อสะสม 999,256 คน เสียชีวิตสะสม 28,132 ราย
  • ฟิลิปปินส์ ติดเชื้อสะสม 514,996 คน เสียชีวิตสะสม 10,292 ราย
  • มาเลเซีย ติดเชื้อสะสม 186,849 คน เสียชีวิตสะสม 689 ราย
  • เมียนมา ติดเชื้อสะสม 137,957 คน เสียชีวิตสะสม 3,069 ราย
  • สิงคโปร์ ติดเชื้อสะสม 59,352 คน เสียชีวิตสะสม 29 ราย
  • ไทย ติดเชื้อสะสม 13,687 คน เสียชีวิตสะสม 75 ราย
  • เวียดนาม ติดเชื้อสะสม 1,549 คน เสียชีวิตสะสม 35 ราย
  • กัมพูชา ติดเชื้อสะสม 458 คน (ไม่มีผู้เสียชีวิตเลย)
  • บรูไน ติดเชื้อสะสม 175 คน เสียชีวิตสะสม 3 รายน
  • สปป.ลาว ติดเชื้อสะสม 41 คน (ไม่มีผู้เสียชีวิตเลย)

อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกจะทะลุ 100 ล้านคน แต่ก็มีรายงานจากสำนักข่าว Reuters ที่ฟังแล้วดูเป็นข่าวดีด้วยเช่นกัน เมื่อมีการนำตัวเลขจากโครงการ COVID-19 Tracking Project ในสหรัฐฯ ออกมามาเปิดเผยว่า สถานการณ์ระบาดของไวรัสในสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านไป เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากในสัปดาห์ที่แล้ว จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงมากถึง 21% เมื่อเปรียบเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ซึ่งเป็นจำนวนติดเชื้อที่ลดลงกว่า 300,000 คน จากเดิมที่มีผู้ติดเชื้อสะสม 1.5 ล้านคน ในระหว่างวันที่ 11-17 มกราคม ส่งผลให้กลายเป็นสถิติจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงมากที่สุด

โดยยังพบว่า มีเพียงรัฐนิวแฮมเชียร์เพียงรัฐเดียวเท่านั้น ที่ยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้น ขณะที่อีก 49 รัฐทั่วประเทศสหรัฐฯ มีจำนวนผู้ติดเชื้อดังกล่าวลดลงเช่น รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นศูนย์กลางการระบาด และมีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ปรากฎว่า มีจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสลดลงมากถึง 32% ในสัปดาห์ที่ผ่านไป ด้านจำนวนผู้เสียชีวิตก็มีทิศทางที่ดีขึ้นเช่นกัน โดยพบว่า จำนวนผู้เสียชีวิตสะสมลดลงมากถึง 6.6% เหลือเพียง 21,600 รายต่อวัน ซึ่ง 3 รัฐ ได้แก่ แอริโซน่า แอละบามา และนิว เม็กซิโก มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุด ในสัปดาห์ที่ผ่านไป

ปัจจุบันผู้เสียชีวิตสะสมในสหรัฐฯ มากกว่า 431,000 ราย ส่วนจำนวนผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล พบว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีสัญญาณในทิศทางบวก เนื่องจากจำนวนเฉลี่ยของผู้ป่วยในโรงพยาบาลอยู่ที่ 119,000 ราย ลดลง 7.5% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ทำสถิติสัดส่วนผู้ป่วยในโรงพยาบาลรายสัปดาห์ลดลงมากที่สุดในรอบ 5 เดือนกว่า หรือตั้งแต่ 9 สิงหาคม 2563 สำหรับรัฐที่ยังคงมีอัตราการติดเชื้อพุ่งสูงได้แก่ ไอโอว่า และแอละบามา อยู่ที่ 43.5% และ 32.5% ตามลำดับ

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคในสหรัฐฯ มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระบาดแห่งชาติสหรัฐฯ (CDC) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2563 ซึ่งเป็นวันแรกที่เริ่มฉีดวัคซีนในสหรัฐฯ ให้กับกลุ่มบุคลากรการแพทย์ และเริ่มฉีดในกลุ่มผู้สูงอายุตามลำดับมาถึงวันที่ 25 มกราคม 2564 มีการจัดส่งวัคซีนในประเทศไปแล้วทั้งสิ้นใ 41,418,325 โดส และฉีดวัคซีนแล้ว 23,461,494 โดส ส่งผลให้มีการใช้วัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ไปแล้ว 56.6% จากจำนวนจัดส่งในสหรัฐฯ

นอกจากนี้ การฉีดวัคซีนในสหรัฐฯ เฉลี่ยอยู่ที่วันละ 1.25 ล้านโดส และมีอัตราส่วนการฉีดวัคซีนคิดประมาณ 7.14 ต่อ 100 คน ทั้งนี้ CDC ได้เปิดเผยว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาถึงวันที่ 26 มกราคม 2564 เพิ่มขึ้น 130,331 คน ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมขึ้นเป็น 25,839,684 คน อยู่อันดับที่ 1 ของโลก ขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 1,686 ราย ส่งตัวเลขสะสมเป็น 431,182 ราย

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส