จากโพสต์บนเฟซบุ๊กของหนุ่ย-พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ที่พูดถึง กระบวนการตรวจโควิดที่ไม่รัดกุมเรื่องความปลอดภัย” โดยเขียนแสดงความคิดเห็นจากเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับพนักงานคนหนึ่งของ ‘แบไต๋’ ในเช้าวันนี้

โดยเมื่อเวลาประมาณ 10 โมงเช้า ของวันที่ 29 เมษายน บริเวณด้านหลังศาลปกครอง ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ ถูกใช้เป็นพื้นที่เปิดบริการตรวจโควิดฟรีของหน่วยงานราชการ แต่ภาพที่ปรากฏคือมีประชาชนจำนวนมากมารวมตัวกันในลักษณะที่ค่อนข้างแออัด ไม่มีการรักษาระยะห่าง และที่สำคัญคือประชาชนบางคนที่มารอเข้ารับการตรวจโควิด-19 สวมหน้ากากอนามัย “ไว้ที่คาง” ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นอย่างมาก ทำให้พนักงานแบไต๋คนนั้นตัดสินใจออกจากสถานที่ดังกล่าวและกลับบ้าน เพราะขาดความมั่นใจเรื่องการรักษาความปลอดภัยและไม่ต้องการเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ในโพสต์ดังกล่าว คุณพงศ์สุขได้แสดงความคิดเห็นถึง “ผู้บริหารของหน่วยงาน” ดังกล่าวว่าเหตุใดจึง “หละหลวม” ในกระบวนการจัดระเบียบประชาชนที่มาตรวจโควิด ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องที่รัฐบาลกำลังเข้มงวดกับประชาชน พร้อมแนะนำให้หน่วยงานราชการที่จัดการตรวจโควิดมีวิธีบริหารจัดการที่รัดกุมและปลอดภัยกว่านี้

บรรยากาศการเข้าคิวรอตรวจโควิด-19 ที่มีประชาชนบางส่วนไม่สวมหน้ากากอนามัยและไม่รักษาระยะห่าง

ในขณะเดียวกันก็มีคำเตือนจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเฝ้าระวังติดตามการเปลี่ยนแปลงของโควิด โดยพบว่า 8 สัปดาห์ต่อเนื่องที่อุบัติการณ์เกิดโควิดเพิ่มต่อเนื่อง ขณะเดียวกันอัตราการเสียชีวิตก็เพิ่มต่อเนื่อง 5 สัปดาห์เต็ม ๆ แบไต๋ขอสรุป 5 ข้อสรุปที่สำคัญดังต่อไปนี้

  1. ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เกิน 3 ล้านคนแล้ว จำนวนล้านคนแรกตายภายใน 5 เดือนแรกที่เกิดการระบาดส่วนล้านที่ 2 ตายภายใน 4 เดือน และ “ล้านที่ 3” ใช้เวลาทำสถิติอันหดหู่นี้เพียง 3 เดือน
  2. เชื้อที่กลายพันธุ์ทวีความรุนแรง มีหลายแหล่งที่มา (ข้อมูลตามภาพด้านล่าง) เขาตั้งชื่อเชื้อ ชื่อรหัสไว้หมดแล้ว โดยทั้งหมดเรายังไม่ได้แต่งตั้งว่าเป็นสายพันธุ์ไทย หรือสายพันธุ์ไหน แต่ที่แน่ ๆ เชื้อเข้าร่างกายคนไม่เลือกหน้า ไม่เลือกชื่อชั้น ตำแหน่ง ฐานะ ยากดี มีจน มันโจมตีได้หมด หมอ-พยาบาลขนาดระวังตัวมาก ๆ ก็ติดได้ หากหน้ากากใส่ไม่ดี ขยับปากพูดมาก ๆ ไหวกายไปมา มันย่อมพลาดได้

ขณะนี้มีการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิดที่สำคัญคือ B1.1.7 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของสหราชอาณาจักร เมี่อเทียบกับสายพันธุ์เดิมพบว่าแพร่กระจายเร็วขึ้น เดิมพบว่าไม่เพิ่มความรุนแรง แต่รายงานล่าสุดสหราชอาณาจักรแสดงให้เห็นว่าอาจทำให้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น ซึ่งสายพันธุ์นี้เข้ามาระบาดในไทยแล้ว ในสหรัฐฯ มีสายพันธุ์ B.1427 และ B. 1.429 ซึ่งพบที่สหรัฐฯ อาจสัมพันธ์กับการแพร่ระบาดเร็ว ส่วน B.1.617 ที่พบในอินเดียยังต้องศึกษา เพราะรายละเอียดยังน้อย

  1. เชื้อที่พัฒนามาระลอกนี้มันดันคร่าคนหนุ่มสาวได้ อายุ 20, 30 หรือ 40 ปี ก็มีรายงานการตายออกมาแล้ว ฉะนั้นจากความมั่นใจที่เคยมีที่ว่าโควิด-19 คร่าแต่คนแก่ คนชรา มันไม่ใช่แล้วนะ ถ้าคุณอ่อนแอ อ้วน นอนน้อย โรครุมเร้า เป็นโรคแนว NCD อยู่แล้ว (NCD คือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง non-communicable disease) คุณมีโอกาสเสี่ยงกว่าคนที่มีสุขภาพทั่วไปที่ไม่มีโรคประจำตัว
  2. ผลการศึกษาจากต่างประเทศชี้ว่าบุคคลที่มีกรุ๊ปเลือด A ติดโควิด-19 ง่ายกว่ากรุ๊ปอื่น แต่ผู้ป่วยทั้งหมดในเวลานี้ก็มีเลือดคละกันทุกกรุ๊ป ยังไม่มีรายงานว่ากรุ๊ปไหนป่วยมากกว่าใคร มีแต่รายงานจากอังกฤษว่า ที่ป่วยแล้วตายส่วนมากคือกลุ่มผู้นอนน้อย มีนิสัยการนอนต่ำกว่า 8 ชั่วโมงมาเป็นเวลานาน ซึ่งติดแล้วเชื้อลงปอดไวกว่า หรือภูมิต้านทานต่ำ
  3. โลกยังไม่มียารักษาโควิดโดยตรง มีแต่ยาต้านไวรัสที่ชื่อว่า ‘ฟาวิพิราเวียร์’ แต่ก็ไม่ใช่ไวรัสโคโรนาโดยตรงเครื่องมือที่ดีที่สุดทางการแพทย์ ณ เวลานี้คือ “การฉีดวัคซีน” ไทยเรามีสัญญาณอัตราเร่งแล้ว 40 เอกชนรวมตัวกันในนามหอการค้าจะให้พื้นที่รัฐมาเปิดบริการระดมฉีดแบบปูพรม (แบบอเมริกาที่ฉีดได้เร็วมาก 200 ล้านโดสแล้วและเหลือพอต่อทุก ๆ คนที่เข้าประเทศ ฉีดในห้างยา-ร้านรวงเลย ฉีดได้โดยไม่ต้องจอง ส่วนในไทยกำลังจะเปิดลงทะเบียนกัน 1 พฤษภาคมนี้กับแอปตัวใหม่ซึ่งรอประกาศอีกไม่นาน

แต่การฉีดวัคซีนที่จะเริ่มเห็นผลแบบสงครามสงบได้ ต้องครอบคลุมให้มากกว่า 25% ของจำนวนประชากร ขณะที่ประเทศไทยตอนนี้ เพิ่งฉีดไปได้แค่ 1.4%

สรุป ทุกวันนี้ควรใช้ชีวิตกันอย่างไร ?

  • ออกจากบ้านให้น้อย ล้างมือบ่อย ๆ
  • รักษาระยะห่าง Social Distancing
  • สวมหน้ากาก 100% เต็มเมื่อออกนอกชานบ้านหรือมีผู้มาเยือน

แต่ทั้งนี้การสวมหน้ากากอย่างมิดชิดจริง ๆ ควรสวมทับ 2 ชั้นด้วยแนวคิด : หน้ากากอนามัยปิดชั้นแรกแล้วตามด้วยหน้ากากผ้าเพื่อรัดแน่น ไม่ให้ลมหายใจรั่วออกมาจากหน้ากาก สามารถเช็กได้ด้วยการเป่าปาก หากลมรั่วออกจากหน้ากากจะรู้ได้ถึงประสิทธิภาพในการป้องกันของหน้ากากที่ส่วมใส่ ก็สามารถออกไปข้างนอกได้เท่าที่จำเป็น

  • ยามว่าง ให้ยึดหลักสร้างภูมิต้านทานในยามมีศึกสงคราม
  • ออกกำลังกายในบ้านในแบบที่ทำได้ อย่าปล่อยให้กล้ามเนื้อเหลว ทำให้มันแข็งเข้าไว้ ด้วยการสร้างแรงต้าน
  • ตัดหวาน ลดหรือเลิกกินน้ำตาล ซึ่งน้ำตาลกดภูมิต้านทานในร่างกายของเรา
  • เพิ่มภูมิต้านทานด้วยการออกไปตากแดดนอกชานบ้านบ้าง ตอนตากแดดแนะนำถอดรองเท้าด้วย เพื่อเสียบปลั๊กร่างกายกับผืนโลก

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส