โรงพยาบาลศูนย์สุขภาพมหาวิทยาลัยฟลอริดาใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยในการรักษาคนไข้ เสริมการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์

มีการใช้เซนเซอร์และกล้องตรวจจับความเคลื่อนไหวของคนไข้ที่อยู่ในแผนกผู้ป่วยหนัก (ICU) ตั้งแต่สัญญาณชีพไปจนถึงการแสดงออกบนใบหน้า

ดร. อัซรา บิโฮแรก (Azra Bihorac) ผู้อำนวยการร่วมศูนย์รักษาผู้ป่วยหนักอัจฉริยะ จากมหาวิทยาลัยฟลอริดา เผยว่าเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยให้ทราบความเหมาะสมสภาพแวดล้อมในการรักษามากขึ้น อาทิ ความสว่างและเสียงภายในห้องรักษา และการเคลื่อนไหวและอารมณ์ของคนไข้

บิโฮแรกชี้ว่าข้อมูลที่อุปกรณ์เหล่านี้เก็บจะช่วยให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีส่วนในการรักษาและดูแลคนไข้ทราบถึงข้อมูลที่หลากหลาย ตั้งแต่ความหิว ไปจนถึงระดับการศึกษาของคนไข้

ในโรงพยาบาลแห่งนี้ คอมพิวเตอร์กลางจะประมวลข้อมูลกว่า 315 กิกะไบต์ต่อคนไข้ 1 คน ด้วยปัญญาประดิษฐ์ ข้อมูลที่ได้มาจะช่วยให้สามารถสร้างอัลกอรึทึมที่จะนำไปสู่การให้คำแนะนำทางการแพทย์ได้ในอนาคต

ความสามารถเช่นนี้ก่อให้เกิดความกังวลว่าปัญญาประดิษฐ์อาจเข้ามาแทนที่บุคลากรทางแพทย์

พาริซา ราชิดิ (Parisa Rashidi) ผู้อำนวยการร่วมศูนย์รักษาผู้ป่วยหนักอัจฉริยะ จากมหาวิทยาลัยฟลอริดา ให้ความสบายใจว่าระบบเหล่านี้จะไม่มาแทนมนุษย์แน่นอน เพราะมีศักยภาพไม่เท่ากับสมองของมนุษย์

ที่มา NBC

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส