Linus Sebastian ยูทูบเบอร์สายไอทีเจ้าของแชนแนล Linus Tech Tips ได้ออกมาอธิบายสาเหตุเครื่องแมคที่เครื่อง Mac ทำงานได้ช้าว่า PC โดยพบว่าปัจจัยสำคัญเป็นเรื่องของความร้อน

หากยังจำกันได้เมื่อปีที่แล้วมีประเด็นร้อนเรื่อง MacBook Pro รุ่น 15นิ้ว ปี 2018 ที่ใช้ชิปตัว Intel i9 เจอปัญหาความเร็วลดลงอย่างมาก เนื่องจากมีอุณหภูมิสูง โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้งานหนัก อาทิเช่น Adobe Premier Pro หรือ Final Cut Pro แต่พอนำไปใช้งานในที่อุณหภูมิต่ำ เช่น ในตู้เย็น กลับพบว่าเครื่องสามารถทำความเร็วได้เป็นปกติดี

ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้ใช้ไม่พอใจเป็นอย่างมากถึงขนาดเรียกร้องขอเงินคืน จน Apple ต้องออกมาแถลงการณ์ขอโทษพร้อมทั้งปล่อย macOS High Sierra 10.13.6 ออกมาเมื่อแก้ไขเฟิร์มแวร์ที่ส่งผลกับอุณหภูมิของระบบ

อย่างไรก็ตาม จากการทดสอบล่าสุดของ Sebastian กลับแสดงให้เห็นชัดเจนว่าผลิตภัณฑ์ของ Mac นั้นยังคงมีปัญหาเรื่องความร้อนอยู่ โดยเขาได้ทดสอบด้วยการนำ Mac Mini และ MacBook Pro จอ 15 นิ้ว ปี 2018 มาทดสอบเรนเดอร์กราฟิก บนสภาวะอุณหภูมิห้องปกติและใน Chill Box ที่เขาทำขึ้นเอง ซึ่งปรากฏว่า Mac ทั้ง 2 รุ่นใช้เวลาประมวลผลต่างกันอย่างมาก โดยเฉพาะ Mac ที่ทำงานบน Chill Box นั้นมีประสิทธิภาพดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด

Play video

Linus ระบุว่าปัญหาความร้อนของ Mac นั้นเป็นความตั้งใจในการออกแบบของ Apple ที่เจตนาให้พัดลมในเครื่องนั้นทำงานในระดับต่ำที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างจากฝั่ง PC หรือโน๊ตบุ๊กในตลาดที่ส่วนใหญ่มุ่งจัดการปัญหาเรื่องความร้อนก่อน โดยเน้นให้พัดลมทำงานระดับสูงสุด แต่ก็จะทำให้เกิดเสียงพัดลมที่ดังตามมา ซึ่งคอนเซปต์ของ Apple นั้นโฟกัสไปที่ดีไซน์การออกแบบการใช้งานที่สมูท เน้นไปที่การใช้งานสำหรับผู้บริโภคทั่วไปมากกว่าใช้งานระดับมืออาชีพนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม Apple เองก็เพิ่งจะเปิดตัว Mac Pro 2019 สำหรับซัพพอร์ตการใช้งานแบบมืออาชีพเต็มตัว โดย Mac Pro 2019 มาพร้อมกับ Intel Xeon ที่เลือกได้ตั้งแต่ 8 ถึง 28 คอร์, มีพัดลมระบายความร้อน 3 ตัวขนาดใหญ่, แรมเพิ่มได้สูงสุด 1.5TB (มีช่องใส่แรม 12 ช่อง) พร้อมทั้งมีฮาร์ดแวร์พิเศษอย่าง Afterburner ซึ่งสามารถสตรีมไฟล์วิดีโอดิบขนาด 8K ได้พร้อมกัน 3 ไฟล์ หรือ วิดีโอ 4K 12 ไฟล์ ซึ่งการ์ด Afterburner นี้ สามารถโปสเซสวิดีโอด้วยความเร็วถึง 6 พันล้านพิกเซลต่อวินาทีเลยทีเดียว โดย Mac Pro 2019 มีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 5,999 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 188,125 บาทไทย)

อ้างอิง