ทวิตเตอร์เผยผลสำรวจกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค โทรคมนาคม และธนาคาร ติดอันดับแบรนด์ยอดนิยมสูงสุดในไตรมาสแรกปี’62 เป็นครั้งแรก โดยวัดจากการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้บริโภคในช่วงไตรมาสแรกปี 2562 (ระหว่าง 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2562)  โดยมีทวิตเตอร์ช่วยแบรนด์ต่างๆ ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ให้มีส่วนร่วมกับผู้บริโภคได้แบบเรียลไทม์ และรับรู้ถึงกระแสตอบรับของผู้บริโภคเกี่ยวกับแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ

10 อันดับแบรนด์ชั้นนำบนทวิตเตอร์ไทย ( ไตรมาสแรก ปี 2562 )

  1. AIS (@AIS_Thailand)
  2. Oishi Drink Station (@OishiDrinkTH)
  3. Watsons Thailand (@WatsonsThailand)
  4. Samsung Mobile Thailand (@SamsungMobileTH)
  5. MK Restaurants (@MK_Restaurants)
  6. KBank (@KBank_Live)
  7. 7-Eleven Thailand (@7ElevenThailand)
  8. L’Oreal Paris TH (@LOrealParisTH)
  9. Wall’s Thailand (@Walls_Thailand)
  10. Lays Thailand (@laysthailand)

การรายงาน #BrandsOnTwitter ประเทศไทยถือเป็นครั้งแรก ซึ่งแสดงผลว่ามีแบรนด์ที่หลากหลายเข้ามาใช้ทวิตเตอร์
ในการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคและสังคมทวิตเตอร์ จากการวิเคราะห์ความสำเร็จของแบรนด์เหล่านี้พบว่ามี 4 วิธีหลักๆ ที่ท็อปแบรนด์เลือกใช้ทวิตเตอร์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคและผู้ใช้ทวิตเตอร์ในประเทศไทย

1. พลังของคลิปวีดีโอ

การทวีตพร้อมวีดีโอช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมมากขึ้นเมื่อเทียบกับการทวีตแบบที่ไม่มีวีดีโอ อีกทั้งวีดีโอโฆษณาแบบในสตรีม (โฆษณาที่ต้องดูให้จบก่อนที่จะแสดงวีดีโอคอนเทนท์หลักของผู้เผยแพร่บนทวิตเตอร์) ช่วยเพิ่มการจดจำในโฆษณาส่งผลให้ผู้บริโภคมีความตั้งใจที่จะซื้อสินค้าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้รับชมวีดีโอโฆษณา

แบรนด์ในประเทศไทยต่างกำลังลงทุนในการทำวีดีโอที่สร้างสรรค์และมีคุณภาพสูงเพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์และบริการ หวังดึงกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์มากขึ้น เช่น Samsung Mobile TH (@SamsungMobileTH) ที่ทำให้สมาร์ทโฟน #GalaxyA50TH กับแคมเปญ #WeMakeADifference  เป็นที่กล่าวถึงอย่างมากในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 ซึ่งมีอินฟลูเอนเซอร์และบล็อกเกอร์มาช่วยเน้นถึงฟังก์ชั่นที่แตกต่างของสมาร์ทโฟนรุ่นนี้

ทวีตจาก: https://twitter.com/SamsungMobileTH/status/1111221393285357571

 

ในขณะที่บางแบรนด์ใช้วีดีโอในการให้ข้อมูลกับผู้บริโภค อย่าง KBank Live (@KBank_Live) ที่ทำวีดีโอให้ความรู้กับเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินที่ปลอดภัย ด้วยการสร้างแคมเปญแนะนำเรื่องการไม่เปิดเผยข้อมูลให้กับผู้อื่นและรักษาข้อมูลส่วนตัวไว้เป็นความลับ ซึ่งเป็นการนำเนื้อหาที่อาจจะเข้าใจยากมาผสมผสานกับรูปแบบการทำวีดีโอสั้นในแนวตลก ทำให้วีดีโอตัวนี้ของ KBank Live ดูสนุกและกลายเป็นที่จดจำมากขึ้น

ทวีตจาก: https://twitter.com/KBank_Live/status/1104909804559089664

2. ขยายภาพลักษณ์ของแบรนด์ผ่านการร่วมงานกับคนดัง

หลายแบรนด์ที่ติดอันดับ Top 10 บนทวิตเตอร์ในไทย ใช้กลยุทธ์การร่วมงานกับคนดัง ด้วยการใช้กลยุทธ์ออฟไลน์ ออนไลน์ และทำให้เกิดการสนทนาบนทวิตเตอร์

ในไตรมาสแรกของปีนี้ 7-Eleven Thailand (@7ElevenThailand) ลุยทำการตลาดในเรื่องบัตรสมาชิกและแอปพลิเคชั่น ALL Member ด้วยการดึง “นาย ณภัทร” มาร่วมสร้างการมีส่วนร่วมกับสังคมทวิตเตอร์ทั่วไทย และประสบความสำเร็จในการโปรโมต #AllMember

ทวีตจาก: https://twitter.com/7ElevenThailand/status/1105400599808335872

MKRestaurants_TH (@MK_Restaurants) ได้สร้างภาพลักษณ์ให้มากกว่าการเป็นธุรกิจร้านอาหาร ด้วยการสร้างกระแสก่อนเปิดตัวแคมเปญ #MKX บนทวิตเตอร์ เพื่อผูกแบรนด์เข้ากับไลฟ์สไตล์ต่างๆ เช่น การทำอาหาร ศิลปะ เกม ดนตรี และแฟชั่น ซึ่งหลังจากทวีตข้อความว่าอยากเห็น MK ไป “X” กับอะไรอย่างต่อเนื่อง ท้ายที่สุด MK ก็ประกาศความร่วมมือกับแบรนด์แฟชั่นชื่อดังอย่าง “มิลิน”เป็นครั้งแรก

ทวีตจาก: https://twitter.com/MK_Restaurants/status/1107582414715392001

3. เป็นส่วนหนึ่งในบทสนทนา

ในไตรมาสแรกของปีนี้ Watsons Thailand (@WatsonsThailand) แอคทีฟเป็นอย่างมากในการสร้างคอนเทนต์ให้ออกมาสม่ำเสมอ เช่น การแชร์เคล็ดลับความงาม การเล่นเกมและแจกของรางวัล รีวิวผลิตภัณฑ์ และจัดโปรโมชั่นด้วยข้อเสนอที่สามารถใช้ได้ทั้งการซื้อสินค้าในร้านและผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งวัตสันงัดกลยุทธ์การตลาดออนไลน์สู่ออฟไลน์และออนไลน์สู่ออนไลน์ ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคบนทวิตเตอร์

ทวีตจาก: https://twitter.com/WatsonsThailand/status/1103581050998018048

การได้รู้ว่าผู้บริโภคนั้นกำลังพูดถึงสิ่งใดบนทวิตเตอร์ช่วยให้แบรนด์กำหนดเป้าหมายได้ถูกต้องมากขึ้น และการเข้าไปร่วมในบทสนทนาก็ช่วยสร้างความเชื่อถือและความจงรักภักดีระหว่างผู้บริโภคต่อแบรนด์นั้นๆ อีกด้วย

การรีทวีตข้อความบนทวิตเตอร์นั้นเป็นเทคนิคหนึ่งที่แบรนด์ใช้เป็นส่วนหนึ่งของบทสนทนานั้นๆ ตัวอย่างเช่น  L’OrealParis TH (@LOrealParisTH) แชร์รีวิวจากผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าของแบรนด์จากร้านสะดวกซื้อ หรือ Lays Thailand (@laysthailand) มักจะรีทวีตข้อความหรือรีวิวของผู้บริโภคเสมอ

ทวีตจาก: https://twitter.com/LOrealParisTH/status/1110452780957757440

ทวีตจาก: https://twitter.com/nongmheereview/status/1098249661385560070

4. เจาะกลุ่มเป้าหมาย

การรู้จักกลุ่มเป้าหมาย คือพื้นฐานเบื้องต้นของการตลาด แต่บ่อยครั้งที่แบรนด์เลือกใช้วิธีกระจายการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยหวังว่าจะช่วยสร้างการจดจำของแบรนด์และสร้างยอดขาย ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ มีความหลากหลายมาก แต่เป็นสังคมที่มีความสนใจที่ชัดเจน ซึ่งแบรนด์ต่างๆ สามารถกำหนดเป้าหมายเรื่องผลิตภัณฑ์ บริการ และข้อความต่างๆ ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้

AIS (@AIS_Thailand) ตระหนักถึงความสนใจของคนรุ่นใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์ที่ทันสมัยและมีชีวิตชีวา ทำให้ AIS (@AIS_Thailand) ออกโปรโมชั่นด้วยแพ็คเกจ U-ZEED ซึ่งโดนใจกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียน นักศึกษา และคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับไลฟ์สไตล์ในการฟังเพลง การเล่นเกม การดูหนัง และการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค

ทวีตจาก: https://twitter.com/AIS_Thailand/status/1100338432759549952

Wall’s Thailand (@Walls_Thailand) นั้นสร้างสรรค์วีดีโอที่รวมเหล่ายูทูบเบอร์เพื่อนำเสนอไอศครีมวอลล์คาลิปโป
รสใหม่ ที่มีสไตล์สนุกสนาน ตรงกับกลุ่มผู้บริโภคของแบรนด์บนสังคมทวิตเตอร์

ทวีตจาก: https://twitter.com/Walls_Thailand/status/1106238561588637696

และหนึ่งในบทสนทนายอดนิยมบนทวิตเตอร์ในไทยก็หนีไม่พ้นเรื่องราวที่เกี่ยวกับโทรทัศน์ (โดยเฉพาะละคร ซีรีส์ และภาพยนตร์เรื่องล่าสุด) ความบันเทิงต่างๆ (ดนตรี ดารา เซเลบริตี้) และกีฬา โดยบทสนทนานั้นจะเกิดขึ้นแบบเรียลไทม์ ซึ่งแบรนด์ที่รู้ทันจึงมักเข้าร่วมและใช้ประโยชน์จากบทสนทนาและเหตุการณ์เหล่านั้น เพื่อสร้างอิทธิพลและเข้าถึงผู้บริโภคได้

ทวีตจาก: https://twitter.com/OishiDrinkTH/status/1104698425872797699

 

สามารถศึกษาการทำการตลาดบน Twitter เพิ่มเติมได้ที่ :  marketing.twitter.com