วารสารวิทยาศาสตร์ชื่อดัง PNAS (Proceedings of the National Academy of Sciences: ) ได้ระบุว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติได้สร้างเอนไซม์กลายพันธุ์ที่สามารถ “ทำลาย” ขวดน้ำพลาสติกได้

การสร้างเอนไซม์ดังกล่าว ได้ถูกคิดค้นขึ้นมาโดยยังเอิญ เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์ นำโดยศาสตราจารย์ John McGeehan จากมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัธ (University of Portsmouth) ประเทศอังกฤษ ได้ทำการทิ้งแบคทีเรียที่พวกเขาได้ค้นพบในประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2016 โดยแบคทีเรียดังกล่าวได้วิวัฒนาการขึ้นเองตามธรรมชาติจนสามารถกินพลาสติกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ PET (Polyethylene Terephthalate: พอลิเอทิลีน เทเรฟทาเลต) ซึ่งเป็นพลาสติกที่นำมาผลิตเป็นขวดน้ำ

กระบวนการย่อยสลายนี้ใช้เวลาเพียงไม่นาน ซึ่งต่างจากการทิ้งให้ย่อยสลายตามธรรมชาติที่ใช้เวลานานหลายร้อยปี

เมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา นักวิจัยได้พบว่ามีขวดพลาสติกนับล้านขวดถูกซื้อจากทั่วโลกในทุกๆนาที และจะเพิ่มขึ้นอีก 20% ภายในปี 2021

“สิ่งที่เราหวังเป็นอย่างยิ่งคือการใช้เอนไซม์นี้เปลี่ยนพลาสติกเหล่านี้ให้กลายเป็นสารประกอบดั้งเดิมของมัน แล้วเราสามารถนำมารีไซเคิลกลับมาเป็นพลาสติกได้อีกครั้ง” John McGeehan กล่าว “นั่นหมายความว่าเราจะไม่ต้เองขุดน้ำมันขึ้นมาผลิตพลาสติกอีกเลย”

ข้อมูลอ้างอิง : cnet