ไม่กี่วันที่ผ่านมา Perplexity เป็นบริษัทพัฒนาเอไออีกรายที่ได้ปล่อยเครื่องมือ Deep Research สำหรับช่วยค้นคว้าหัวข้อการวิจัย สืบค้นข้อมูลและเขียนรายงานแทนมนุษย์ได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งออกมาตามหลัง Google ที่ได้ปล่อยฟีเจอร์ Deep Research บน Gemini เมื่อเดือนธันวาคม และล่าสุดต้นเดือนนี้ OpenAI ได้เปิดตัวเครื่องมือ Deep Research สำหรับการทำวิจัยบน ChatGPT

Perplexity เผยว่า Deep Research จะช่วยประหยัดเวลาในการทำวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก โดยจะค้นหาข้อมูลหลายสิบครั้ง อ่านข้อมูลจากหลายร้อยแหล่ง และใช้เหตุผลเขียนออกมาเป็นรายงานโดยอัตโนมัติ พร้อมเน้นว่าเครื่องมือนี้ของบริษัทเด่นกว่าใครตรงที่ทำงานในระดับผู้เชี่ยวชาญ รองรับหลากหลายสายอาชีพ ตั้งแต่การเงินและการตลาด ไปจนถึงการวิจัยผลิตภัณฑ์

Deep Research ของ Perplexity ได้เปิดให้บริการแล้วเฉพาะบนเว็บ และเร็ว ๆ นี้จะขยายไปยังแอปฯ บน iOS, Android และ Mac ซึ่งผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกหรือใช้งานแบบฟรีสามารถเข้าถึงคำตอบได้จำนวนจำกัดต่อวัน และสมาชิกระดับ Pro จะรับคำถามได้ไม่จำกัด

ใครที่สนใจอยากทดลองใช้งานก็ให้เข้าไปที่เว็บ perplexity.ai และเลือกหมวดการทำงานที่ “Deep Research” แล้วก็ป้อนคำสั่งลงไป จากนั้นระบบจะสืบค้นข้อมูลและหาเหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่จะต้องทำซ้ำ ๆ หลายครั้ง เพื่อปรับปรุงแผนการวิจัยพร้อมเรียนรู้หัวข้อต่าง ๆ ซึ่งคล้ายกับการค้นคว้าหัวข้อวิจัยใหม่โดยมนุษย์ เมื่อเสร็จแล้วจะเขียนรายงานออกมา ทั้งนี้สามารถแปลงเป็นเอกสารในรูปแบบของ PDF และเพจของ Perplexity หรือจะแชร์ไปให้คนอื่น ๆ ก็ได้อีกด้วย

ในเรื่องของประสิทธิภาพ เครื่องมือ Deep Research ของ Perplexity ได้ผ่านการทดสอบด้วย Humanity’s Last Exam ที่มีคำถามระดับผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ ซึ่งทำคะแนนได้ 21.1% สูงกว่าเอไอชั้นนำต่าง ๆ เช่น Gemini Thinking (6.2%) Grok-2 (3.8%) และ GPT-4o ของ OpenAI (3.3%) แต่ยังสู้ Deep Research ของ OpenAI ไม่ได้เพราะคะแนนสูงถึง 26.6% ส่วนความเร็วทำได้ดีโดยจะเสร็จภายในเวลา 3 นาที เมื่อเทียบกับ Deep Research ของ OpenAI ใช้เวลา 5 – 30 นาที

สรุปภาพรวมเครื่องมือ Deep Research ที่ออกมาแล้วในตอนนี้ ซึ่งของแต่ละบริษัทมีจุดเด่นต่างกัน คือ Perplexity AI โดดเด่นในเรื่องความเร็วและนักวิจัยทั่วไปเข้าใช้งานได้ฟรี ส่วนของ OpenAI เด่นในการวิเคราะห์เชิงลึกสำหรับการใช้ประโยชน์ในงานระดับองค์กร ซึ่งปัจจุบันเข้าใช้งานได้สำหรับสมาชิก ChatGPT Pro ในราคา 200 เหรียญ (6,735 บาท) ต่อเดือน และ Google มีจุดเด่นตรงที่สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือต่าง ๆ ที่มีในระบบนิเวศได้อย่างราบรื่น ซึ่งเข้าถึงได้สำหรับสมาชิก Gemini Advanced ในราคา 750 บาทต่อเดือน

เนื้อหาล่าสุด

ตัว e ใน iPhone 16e ย่อมาจากอะไรนะ?

เปิดตัวตามข่าวลือเป๊ะกับ iPhone 16e สมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ล่าสุดในซีรีส์ iPhone 16 ที่เปลี่ยนชื่อมาจาก iPhone SE ที่เป็นคำถามน่าสนใจคือตัว 3 ที่ต่อท้ายนั้น หมายถึงอะไรกันนะ

แอปฯ Google บน iOS ถอดฟีเจอร์ Gemini ออก หวังเพิ่มยอดโหลดแอปฯ Gemini

Google ได้ส่งอีเมลแจ้งเตือนไปยังลูกค้าว่าจะไม่มีผู้ช่วยเอไอ Gemini ให้ใช้งานอยู่ภายในแอป Google บน iOS อีกต่อไป เพื่อต้องการให้ผู้ใช้ที่อยากใช้ผู้ช่วยเอไอ ทำการดาวน์โหลดแอป Gemini ...อ่านต่อ

เปิดตัว OPPO Watch X2 ที่ถอดแบบมาจาก OnePlus Watch 3 เป๊ะ !

OPPO จัดอีเวนต์เปิดตัวอุปกรณ์รุ่นใหม่โดยมี OPPO Find N5 เป็นพระเอกหลักของงาน และยังมีการเปิดตัวสมาร์ตวอตช์รุ่นใหม่ OPPO Watch X2 ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ OnePlus Watch 3 ...อ่านต่อ

พบข้อมูล Nothing Phone (3a) Pro ใช้ชิป Snapdragon แทน MediaTek

Nothing ประกาศเตรียมเปิดตัวสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ Nothing Phone (3a) ซีรีส์ในวันที่ 4 มีนาคมนี้ ตามรายงานก่อนหน้านี้ซีรีส์ (3a) จะมีทั้งหมด 2 รุ่น ได้แก่ Nothing Phone (3a) และ Nothing ...อ่านต่อ

‘เนวิน’ ประกาศส่งคืน ทีมชาติไทย U20 ให้สมาคมฟุตบอล หลังตกรอบศึกชิงแชมป์เอเชีย

เนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ประกาศส่งคืนสิทธิ์ทำทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี ให้สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย กลับไปดูแลแทน หลังตกรอบศึกชิงแชมป์เอเชีย ...อ่านต่อ