Devialet (เดเวียเล่) เป็นแบรนด์เครื่องเสียงชั้นนำจากฝรั่งเศสที่มีผลิตภัณฑ์เรือธงคือ Devialet Phantom ชุดลำโพงสุดหรู ดีไซน์ทรงกลมแปลกตา พร้อมระบบเสียงที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งต้องได้ไปลองฟังกันสักครั้ง จะเข้าใจว่าเสียงเบสของ Phantom แบบทิ้งดิ่งลงพื้น สร้างแรงสั่นสะเทือนไปได้ทั้งตัวมันเป็นยังไง ที่นี้เมื่อ Devialet ออกหูฟัง True Wireless ชุดแรกของบริษัทมาคือ Gemini (เจมินาย) ก็ได้รับความสนใจอย่างมากว่าจะสามารถเอาเสียงระดับ Audiophile จาก Phantom มาอยู่บนหูฟังตัวเล็กๆ แบบนี้ได้หรือไม่ รีวิวจากแบไต๋วันนี้มีคำตอบครับ

ดีไซน์ของ Devialet Gemini

งานออกแบบของหูฟังรุ่นนี้แตกต่างจากหูฟังแบบ TWS รุ่นอื่นๆ ในตลาดนะครับ เริ่มตั้งแต่ตัวเคสชาร์จเป็นตลับดีไซน์แปลกไม่เหมือนใคร มีตัวอักษร DEVIALET โดดเด่นอยู่ที่ฝาหลัง ซึ่งฝานี้ใช้การสไลด์เพื่อเปิดเข้าไปถึงหูฟังด้านใน ให้รูปลักษณ์ที่หรูหรา แต่ถ้าเทียบกับหูฟังไร้สายที่แท้ทรูรุ่นใหม่ ๆ ตลับชาร์จของ Devialet นี้จะใหญ่กว่าพอสมควร

มาที่ตัวหูฟัง ก็ออกแบบไม่เหมือนใคร ดีไซน์เป็นวงรีซ้อนกับวงกลมแล้วมีโลโก้ของ Devialet อยู่ด้านใน ซึ่งถ้ามองดี ๆ ดีไซน์นี้ก็ล้อมาจากดีไซน์ของลำโพง Devialet Phantom นั้นเอง เอาไปวางเอียงๆ นี่ใช่เลย ส่วนตัวจุกหูฟังนั้นเป็นซิลิโคนสีขาวตัดกับตัวหูฟังที่เป็นสีดำ ซึ่งจุกหูฟังนี้ก็จะแถมในกล่องมาอีก 3 คู่ 3 ขนาด ให้เลือกใส่ให้เหมาะสมกับหูของเราครับ

ภายในกล่องของ Devialet Gemini
ภายในกล่องของ Devialet Gemini

หลังจากที่เราใช้หูฟังรุ่นนี้อยู่หลายวัน ก็พบว่าดีไซน์ของหูฟังนั้นดีเลย สามารถใส่ได้ยาวนานหลายชั่วโมงโดยที่ไม่เจ็บหู และสามารถประคองตัวอยู่ในหูได้แน่นหนาดี ไม่หลุดออกจากหูง่ายๆ ครับ ป้องกันน้ำในระดับ IPX4 คือกันน้ำกระเซ็นใส่ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเหมาะสำหรับใส่ออกกำลังกายนะครับ คือด้วยความที่เป็นจุกแบบ in-ear ก็ทำให้เวลาวิ่งรู้สึกถึงเสียงกระแทกได้

โดย Devialet Gemini มีสีดำให้เลือกเพียงสีเดียวเท่านั้น ส่วนอนาคตจะมีสีอื่นๆ อย่างสีขาว Iconic White เหมือนตัว Phantom รึเปล่า อันนี้ต้องติดตามกันต่อไปครับ

การใช้งาน

ปุ่มด้านหน้าและไฟที่อยู่หน้าเคส
ปุ่มด้านหน้าและไฟที่อยู่หน้าเคส

Devialet Gemini ตั้งแต่เฟิร์มแวร์ 1.1 ขึ้นไปนั้นใช้งานไม่ยุ่งยากเลยครับ แค่เปิดฝาแล้วกดปุ่มด้านหน้าเคสค้างไว้ 2 วินาทีเพื่อให้หูฟังเข้าโหมด Pairing ก็จับคู่กับอุปกรณ์ได้เลย แล้วใช้งานครั้งต่อไปแค่เปิดสไลด์ฝาเคสออกมา หูฟังก็พร้อมเชื่อมต่อกับโทรศัพท์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่เราเคยเชื่อมต่อไว้ทันที เพียงแต่ว่า Gemini สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้ครั้งละ 1 ตัวนะครับ จะไม่เหมือนหูฟังบางรุ่นที่มีความสามารถ Multipoint เชื่อมอุปกรณ์ได้พร้อมกัน 2 ตัว (แต่เราก็ยังไม่เจอหูฟังแบบ TWS ที่มี Multipoint นะ)

จุดที่น่าสนใจคือไฟ LED ด้านหน้าเคสที่แสดงสถานะได้สารพัด เมื่อกดปุ่มด้านหน้าจะแสดงระดับแบตเตอรี่ของเคสชาร์จ เมื่อใส่หูฟังเข้าไปจะแสดงระดับแบตเตอรี่ของตัวหูฟัง และแสดงสถานะเวลาชาร์จได้ด้วย โดยถ้าแสดงเป็นสีแดงคือแบตต่ำ แสดงไฟสีส้มคือแบตต่ำกว่า 50% และไฟสีเขียวคือแบตสูงกว่า 50%

โดย Devialet Gemini ชาร์จผ่านพอร์ต USB-C ที่อยู่ด้านหลังของตลับครับ ซึ่งใช้เวลาชาร์จหูฟังจากศูนย์จนเต็มที่ 1 ชั่วโมงครึ่ง และสามารถฟังเพลงได้ต่อเนื่อง 6 ชั่วโมง แล้วสามารถนำหูฟังกลับมาชาร์จในเคสได้จนเต็มอีก 3 รอบ รวมแล้วเราสามารถใช้งานได้ 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังสามารถชาร์จผ่าน Wireless Chage ทั่วไป หรือจะเอาไปแปะหลังสมาร์ตโฟนที่มีระบบ Reverse Charging ก็ชาร์จได้เช่นกัน

การสั่งงานหูฟัง

Devialet Gemini

หูฟังรุ่นนี้สั่งงานด้วยระบบสัมผัส ซึ่งแตะเข้าไปบริเวณโลโก้ที่หูฟังเพื่อสั่งงานครับ โดยมีคำสั่งดังนี้

  • แตะ 1 ครั้งข้างไหนก็ได้ เพื่อเล่นหรือหยุดเพลง
  • แตะ 2 ครั้ง
    • ข้างซ้ายเพื่อย้อนกลับไปเล่นเพลงเดิม
    • ข้างขวาเพื่อเล่นเพลงถัดไป
    • สามารถกำหนดผ่านแอปเพื่อเปลี่ยนการแตะ 2 ครั้งเป็นเรียก Google Assistant หรือ Siri ได้
  • แตะค้าง ข้างไหนก็ได้ เพื่อเปลี่ยนระหว่างโหมดตัดเสียงรบกวนและโหมดดึงเสียงภายนอก (Transparency)
  • สำหรับการคุยโทรศัพท์
    • แตะ 2 ครั้งเพื่อรับสาย
    • แตะค้างเพื่อตัดสาย
    • ระหว่างคุยถ้าแตะ 2 ครั้งคือวางสาย

จะสังเกตว่าไม่สามารถปรับระดับเสียงจากตัวหูฟังได้นะครับ ต้องไปปรับที่เครื่องเล่นเพลงอย่างเดียว แต่เมื่อถอด Gemini ออกจากหู เพลงจะหยุดเองได้ แต่ก็ไม่ใช่ทุกครั้งที่เพลงจะหยุดเอง ตรงนี้ก็น่าจะต้องมีการปรับปรุงซอฟต์แวร์กันต่อไป

นอกจากนี้เรายังสามารถสั่งงานหูฟังผ่านแอป Devialet Gemini ได้ด้วย ซึ่งจะทำให้เราเลือกโหมดเสียงได้ละเอียดขึ้น ทั้งเลือกระดับการตัดเสียงรบกวน 3 ระดับคือ ต่ำ-สูง-ใช้ในเครื่องบิน หรือเลือกระดับของการดึงเสียงภายนอกว่าจะดึงเข้ามาเยอะหรือน้อย นอกจากนี้คนที่ชอบปรับแต่งเสียงก็ยังสามารถปรับ EQ ของหูฟังได้จากในแอปด้วย แต่ฟังก์ชันที่น่าจะได้ใช้กันบ่อยๆ คือการดูเปอร์เซนต์แบตเตอรี่ทั้งของหูฟังแล้วก็เคส และสามารถใช้อัปเดตเฟิร์มแวร์ของหูฟังได้ด้วยครับ

คุณภาพเสียงของ Devialet Gemini

มาถึงเรื่องสำคัญที่ทุกคนอยากรู้คือคุณภาพเสียงครับ! เริ่มจากสเปกด้านเสียงคือ

  • ไดร์เวอร์คัสตอมขนาด 10 mm ข้างละ 1 ตัวให้เสียงแบบ Full Range
  • ตอบสนองความถี่ 5Hz to 20kHz
  • รองรับ Codec: SBC, AAC, aptX
  • รองรับ Bluetooth 5.0

ซึ่งจากสเปกก็จะเห็นว่ารองรับ Codec ทั้ง AAC ที่ใช้กับอุปกรณ์แอปเปิล และ aptX ที่ให้คุณภาพเสียงดีกว่าใน Android ด้วย ทำให้หูฟังรุ่นนี้เหมาะสำหรับใช้กับอุปกรณ์อะไรก็ได้ครับ และแน่นอนว่าพอเป็นหูฟังจาก Devialet ก็ต้องมีเทคโนโลยีพิเศษที่ไม่มีใครทำอัดแน่นมาเพียบคือ

  • EAM (Ear Active Matching) คือตัวหูฟังมีการส่งสัญญาณเข้าไปในหูมากกว่าหมื่นครั้งต่อวินาทีเพื่อวิเคราะห์ลักษณะของรูหู และปรับแต่งสัญญาณเสียงให้เหมาะสำหรับหูของแต่ละคนครับ
  • IDC (Internal Delay Compensation) อัลกอริทึมพิเศษเพื่อชดเชยความหน่วงของคลื่นเสียงที่เกิดจากการตัดเสียงรบกวน ทำให้คลื่นเสียงที่มาหักล้างเสียงรบกวนภายนอกออกมาตรงจังหวะมากขึ้น การตัดเสียงรบกวนจึงดีขึ้น
  • PBA (PRESSURE BALANCE ARCHITECTURE) โครงสร้างอะคูสติกส์ที่ออกแบบพิเศษ โดยแต่ละ Chamber มีการใช้ตาข่ายพิเศษเพื่อลดเสียงรบกวนจากภายนอก และสร้างความดันที่เหมาะสมสำหรับการสร้างเสียง

เสียงของ Devialet Gemini เป็นอย่างไร

Devialet Gemini, Devialet Phantom II
Devialet Gemini และ Devialet Phantom II

เสียงของ Gemini นั้นถอดแบบมาจากลำโพง Devialet Phantom เลยครับ คือ

  • เสียงเบส: ลูกใหญ่ มวลเยอะ กระแทกจุก ๆ อยู่ในหู แต่เป็นเบสที่มีรายละเอียดไม่บวมจนอึดอัด
  • เสียงกลาง-สูง: สดใส สว่าง ไม่โดนเสียงเบสกลบ ให้รายละเอียดดีในเกรดหูฟังแบบ TWS
  • เวทีเสียง: โปร่งกว้าง ไม่อึดอัด มิติเสียงสเตอริโอชัดเจน เห็นเครื่องดนตรีได้คมชัด

สรุปแล้วเสียงของ Devialet Gemini นั้นออกมาไม่เสียชื่อแบรนด์ครับ เป็นเสียงคุณภาพดีระดับต้น ๆ ของโลกหูฟังแบบ TWS แล้ว ฟังเพลงอย่าง Dropout Boulevard ของ End of The World ก็ได้ยินเสียงสแนร์ที่ซ่อนอยู่ชัดเจน ซึ่งหูฟังบางตัวจะได้ยินเสียงนี้ไม่ชัด หรือเพลง Perfect Blue ของ DJ Okawari ในช่วงหลักของเพลงที่กลองเริ่มตี ก็ให้รายละเอียดเสียงกลองชัดมากเหมือนเราสัมผัสจังหวะและอารมณ์การฟาดกลองได้เลย

ส่วนระบบตัดเสียงรบกวนก็ทำงานได้ดีอันดับต้นๆ ของหูฟังแบบ TWS เช่นกัน ถ้าเปิดโหมด ANC เป็น High ก็ตัดเสียงรบกวนได้เงียบมาก ดีกว่า OPPO Enco X และ Sennheiser Momentum True Wireless 2 อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งถ้าเปิดเพลงไปด้วยจะไม่ได้ยินเสียงรอบข้างเลยจริง ๆ บางทีใช้ในบ้านก็จะแอบระแวงว่าคนในบ้านจะเดินมาหาเราโดยที่เราไม่รู้ตัวรึเปล่า เลยเปลี่ยนไปใช้โหมด Transparency ที่ดึงเสียงจากภายนอกเข้ามา เวลาใช้งานในบ้านครับ ซึ่งโหมดนี้ก็ทำงานได้ดี ให้อารมณ์เหมือนนั่งฟังเพลงด้วยลำโพงที่ยังได้ยินเสียงภายนอกอยู่ ซึ่งเสียงภายนอกที่ได้ยินก็เป็นธรรมชาติ รับรู้มิติเสียงได้เหมือนฟังไม่ผ่านหูฟัง

ส่วนเรื่องเสียงดีเลย์ สำหรับการเล่นวิดีโอถือว่าทำได้ดีมาก เล่นแล้วเสียงพูดตรงปากตลอด ไม่มีดีเลย์ ส่วนถ้าเอาไปเล่นเกมหรือใช้งานอื่นๆ ที่ไม่มีการ Buffer เราทดสอบแล้วเสียงจะดีเลย์ประมาณ 300 ms ครับ ซึ่งก็อยู่ในระดับที่รู้สึกทันทีว่าดีเลย์ จึงไม่เหมาะเอาไปใช้เล่นเกมเท่าไหร่

การใช้งานสนทนา

Devialet Gemini

ต้องเข้าใจก่อนว่า Devialet Gemini นั้นยังทำงานในระบบที่มีหูหลักและหูรองอยู่นะครับ แม้ว่าเฟิร์มแวร์รุ่น 1.1 จะปรับปรุงให้เชื่อมหูฟังง่ายขึ้น ไม่เห็นหูฟังแยกเป็นซ้าย-ขวาแล้ว แต่หูฟังข้างขวายังมีสถานะเป็น Master หรือหูหลักอยู่ แบตเตอรี่หูข้างขวาเลยลดลงเร็วกว่าข้างซ้าย และถ้าจะใช้คุยโทรศัพท์ด้วยหูฟังข้างเดียว ก็ต้องใช้หูขวาเท่านั้น ไม่สามารถใช้หูข้างซ้ายข้างเดียวมาคุยโทรศัพท์ได้ ซึ่งถ้าเราเข้าใจเรื่องนี้ก็ไม่ใช่ข้อจำกัดอะไรครับ

ส่วนคุณภาพเสียงจากไมค์ก็ถือว่าดีเกินคาดสำหรับเราเหมือนกัน คือตอนแรกเราก็ไม่ได้หวังเรื่องไมโครโฟนในหูฟังที่ไม่มีก้านยื่นออกมา และหูฟังจากแบรนด์เครื่องเสียงว่าจะทำไมโครโฟนได้ดี แต่เราใช้ Gemini คุยสายหลายครั้งก็ยังไม่เจอปัญหาปลายสายขอให้พูดใหม่เลย ซึ่งคุณภาพไมโครโฟนเป็นยังไง เราอัดเสียงผ่าน Gemini มาให้ฟังกันครับ

ทดสอบไมค์ของ Devialet Gemini ในสถานที่ทั่วไป
ทดสอบไมค์ของ Devialet Gemini ในที่เสียงดัง

ซึ่งถ้าสนทนาผ่าน Gemini แล้วรู้สึกอึดอัด ให้ลองใช้หูฟังข้างขวาข้างเดียวสนทนาครับ แล้วก็เปิดโหมด Transparency ช่วยดึงเสียงจากภายนอกเข้ามา ก็จะทำให้อึดอัดน้อยลงได้ แต่เราก็อยากให้หูฟังปรับเป็นโหมด Transparency เองเวลาคุยสายนะ จะทำให้สะดวกขึ้น

ราคาของ Devialet Gemini

Devialet Gemini

Devialet Gemini เปิดตัวที่ราคา 10,990 บาท ก็ถือเป็นราคาของหูฟังแบบ True Wireless ระดับไฮเอนด์ที่ไม่สูงมาก โดยเฉพาะเมื่อเอาไปเทียบกับลำโพง Devialet Phantom ที่ราคาเริ่มต้นก็เกือบ 5 หมื่นเข้าไปแล้ว ใครที่จด ๆ จ้อง ๆ กับลำโพง Devialet ลองเริ่มต้นกับ Gemini ดูก่อนได้ครับ เหมือนถอดจิตวิญญาณเสียงกันมา รับรองว่าคนรักเสียงดนตรีไม่ผิดหวังกับมันแน่นอน

ถ้ายังลังเลก็สามารถทดลองฟัง Devialet Gemini ได้ที่ร้าน Devialet by Deco2000 ทั้งที่ EmQuartier และ IconSiam จะได้ลองฟังให้หายคาใจแล้วซื้อติดมือกลับไปได้เลยครับ

รีวิว Devialet Gemini ยกจิตวิญญาณลำโพง Phantom มาใส่หูฟังไร้สาย
Our score
9.1

Devialet Gemini

จุดเด่น

  1. เสียงดีเบอร์ต้นๆ ของวงการหูฟังแบบ TWS จริงๆ ไม่เสียชื่อแบรนด์เลย เสียงโปร่งกว้าง สดใส เบสยังแน่น
  2. การตัดเสียงรบกวนทำได้ดี ถือว่าเป็นหูฟังที่ตัดเสียงภายนอกได้ดีที่สุดตัวหนึ่งในตลาด
  3. โหมด Transparency เสียงเป็นธรรมชาติ ให้อารมณ์เหมือนไม่ได้ใส่หูฟังอยู่
  4. การสวมใส่ สบายมาก ใส่แล้วไม่เจ็บหูแม้ใส่เป็นชั่วโมง
  5. คุยโทรศัพท์ได้ดีเกินคาด ไมค์เก็บเสียงพูดได้ดีพอสำหรับการสนทนา
  6. ชาร์จด้วย USB-C และ Wireless Charge ได้ แบตเตอรี่ใช้ต่อเนื่อง 6 ชั่วโมง และ 24 ชั่วโมงผ่านเคสชาร์จ

จุดสังเกต

  1. ยังทำงานในแบบมีหูหลักและหูข้างรอง เราไม่สามารถใช้หูซ้ายข้างเดียวได้
  2. ไม่เหมาะสำหรับการใช้เล่นเกม เพราะเสียงดีเลย์ (แต่การดูหนังไม่มีปัญหานี้)
  3. บางครั้งเอาหูฟังออกจากหู เพลงไม่หยุดเอง
  4. ไม่สามารถเพิ่ม-ลดเสียงที่ตัวหูฟังได้
  5. เคสชาร์จมีขนาดใหญ่กว่าหูฟัง TWS รุ่นใหม่ๆ ในตลาด
  • คุณภาพเสียง

    9.5

  • คุณภาพวัสดุ

    9.0

  • ความคล่องตัวในการใช้

    10.0

  • ความสามารถในการคุยโทรศัพท์

    9.0

  • ความคุ้มค่า

    8.0

Our score
9.0

จุดเด่น - จุดสังเกต ของ Huawei Freebuds 4i

จุดเด่น
  1. ให้คุณภาพเสียงที่ดีเกินราคา ตัดเสียงรบกวนภายนอกได้ หรือจะดึงเสียงภายนอกเข้ามาก็ได้ เหมาะสำหรับคนทั่วไปที่ชอบฟังเพลง
  2. ขนาดเล็กกระทัดรัด เคสชาร์จพกพาสะดวก
  3. สามารถใช้คุยโทรศัพท์ได้ดี สามารถใช้หูฟังข้างไหนคุยโทรศัพท์ก็ได้ ไม่ต้องใส่ 2 ข้าง
  4. สามารถปรับแต่งการทำงาน และการควบคุมได้ผ่านแอป
  5. ราคาคุ้มค่า เป็นหูฟัง TWS ที่ความสามารถครบเครื่องในราคาไม่แพง
จุดสังเกต
  1. ไม่สามารถปรับระดับเสียงจากตัวหูฟังได้ ต้องปรับจากตัวโทรศัพท์เท่านั้น
  2. การเปลี่ยนโหมดระหว่างตัดเสียงรบกวนกับโหมดดึงเสียงภายนอกผ่านตัวหูฟังทำได้ช้า ใช้เวลาประมาณ 5 วิกว่าจะเปลี่ยน
  3. ไม่รองรับการชาร์จไร้สาย
  4. เมื่อสายเข้า การใส่หูฟังไม่ได้รับสายให้เอง และไม่ได้เปิดโหมดดึงเสียงภายนอก (Awareness) อัตโนมัติเวลาคุยสาย
รีวิว Huawei Freebuds 4i หูฟังไร้สายครบเครื่องราคาไม่ถึง 3 พัน
Our score
8.4

จุดเด่น - จุดสังเกต ของ Sennheiser CX 400BT

จุดเด่น
  1. คุณภาพเสียงดีเทียบชั้นรุ่นพี่คือ MOMENTUM True Wireless 2 เสียงเบสแน่น รายละเอียดดี
  2. กล่องชาร์จขนาดเล็ก พกพาง่าย
  3. แอปควบคุมทำงานได้หลากหลาย ตั้งปรับรูปแบบการควบคุมหูฟัง หรือปรับ EQ
  4. ใช้งานต่อเนื่องได้ 7 ชั่วโมง รวมเคสชาร์จเป็น 20 ชั่วโมง
  5. เป็นหูแบบ TWS ที่ราคาถูกที่สุดของ Sennheiser
จุดสังเกต
  1. ไม่มีระบบตัดเสียงรบกวน (ANC)
  2. หูฟังและเคสชาร์จทำจากพลาสติก ตัวเคสอาจเป็นรอยง่าย
  3. คุยโทรศัพท์ได้ระดับพอใช้ได้ ถ้าเสียงรอบข้างดัง จะสู้ไม่ไหว
  4. ใช้หูขวาเป็นหูหลัก จึงใช้หูขวาข้างเดียวได้เท่านั้น ไม่สามารถใช้หูซ้ายข้างเดียวได้
  5. ไม่รองรับการชาร์จไร้สาย
รีวิว Sennheiser CX 400BT หูฟังรุ่นน้องที่เสียงดีไม่แพ้รุ่นพี่!
Our score
9.2

จุดเด่น - จุดสังเกต ของรีวิว Huawei Freebuds Pro หูฟัง TWS ดีที่สุดของหัวเว่ย

จุดเด่น
  1. คุณภาพเสียงดีงาม เสียงไม่ Lag ในราคาที่ไม่แพงจนเกินไป
  2. การเชื่อมต่อดี สัญญาณเสถียร เพลงไม่กระตุก แม้ใช้งานไกลๆ
  3. ไมโครโฟนดี ตัดเสียงรอบข้างได้ดีในระดับหนึ่ง ใช้คุยสายรู้เรื่องแน่นอน
  4. ระบบตัดเสียงรบกวนเยี่ยม ฟังเพลงแล้วสงัด แถมสามารถเลือกให้เสียงภายนอกเข้ามาได้ด้วย
  5. รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ 2 ตัวพร้อมกัน (Multipoint)
  6. การสั่งงานด้วยการบีบคือดี ทำให้สั่นงานได้แม่นๆ ไม่มีลั่น
จุดสังเกต
  1. เคสเปิดง่าย แต่หูฟังดึงออกมาใช้ยาก โดยเฉพาะเวลามือลื่น
  2. ไม่มีแอปสำหรับ iOS (คือใช้งานกับ iPhone ได้ ให้เสียงดี สั่งงานผ่านหูฟังได้ แต่ไม่มีแอปช่วยปรับละเอียด)
  3. ไม่มี EQ ให้ปรับ ทำให้มีรูปแบบเสียงแบบเดียวเท่านั้น
  4. ไม่ระบุระดับการกันน้ำ ทำให้ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานที่มีความชื้น
รีวิว Huawei Freebuds Pro หูฟัง TWS ดีที่สุดของหัวเว่ย
Our score
9.1

จุดเด่น - จุดสังเกต ของ Panasonic RZ-S500W

จุดเด่น
  1. คุณภาพเสียงดีมาก เสียงคมชัดสดใส เบสแน่นเป็นลูกๆ แต่ไม่กวนย่านอื่นๆ
  2. รบบตัดเสียงรบกวนทำงานได้ดีมาก ใส่แล้วเปิดเพลงคือแทบไม่ได้ยินเสียงภายนอกเลย
  3. มีแอปควบคุมที่สามารถปรับแต่งหูฟังได้เยอะมาก
  4. สามารถใช้งานข้างเดียวได้ ใช้ข้างไหนก็ได้ ทำให้ใช้คุยโทรศัพท์ได้สบาย เสียงคุยโทรศัพท์ใช้ได้
  5. ป้องกันน้ำระดับ IPX4
จุดสังเกต
  1. ตัวหูฟังค่อนข้างใหญ่ เวลาใส่จะยื่นออกมาจากหูพอสมควร
  2. ถ้าลมเป่าด้านนอกของหูฟังจะมีเสียงลมเข้า
  3. ไม่มีเซนเซอร์หยุดเพลงอัตโนมัติ (แต่เพลงจะหยุดเมื่อเอาหูฟังเก็บลงกล่อง)
  4. ไม่มีความสามารถ Multipoint เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ครั้งละตัวเท่านั้น
  5. การควบคุมที่ตัวหูฟังบางอย่างก็สั่งงานยาก โดยเฉพาะการเพิ่ม-ลดเสียงที่ต้องแตะหลายครั้ง
รีวิว Panasonic RZ-S500W หูฟัง TWS เทพเกินตัว
Our score
8.7

จุดเด่น - จุดสังเกต ของ Samsung Galaxy Buds Live

จุดเด่น
  1. ดีไซน์แปลกตา แต่ยังใช้สะดวก หูฟังทรงถั่วที่ยังเกาะหูได้แน่น
  2. กล่องชาร์จเล็กกระทัดรัด ชาร์จไร้สายได้ด้วย
  3. เบสหนักเกินคาด สายเน้นเบสน่าจะชอบหูฟังรุ่นนี้
  4. ไมโครโฟนเก็บเสียงได้ดี คุยโทรศัพท์ได้สบายๆ ใช้งานข้างเดียว ข้างไหนก็ได้
  5. ปรับแต่งการทำงานหูฟังได้หลากหลาย แอปยืดหยุ่น
จุดสังเกต
  1. เสียงเบสดังจนกลบเสียงกลาง คนที่ชอบฟังรายละเอียดเสียงอาจจะไม่ชอบ
  2. เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ครั้งละ 1 ตัว ไม่มีความสามารถ MultiPoint
  3. ระบบตัดเสียงรบกวนทำงานได้ดีเฉพาะเสียงรบกวนความถี่ต่ำ ไม่สามารถตัดเสียงพูดรอบข้างได้ดีนักเพราะไม่มีจุกอุดหูฟัง
  4. ดูหนัง ดูคลิปไม่มี Lag แต่เล่นเกมเสียงยัง Lag อยู่
รีวิว Samsung Galaxy Buds Live หูฟังเม็ดถั่ว เสียงดีได้แค่ไหน

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส