ไม่เพียงแต่สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เท่านั้น แต่ “ไดสัน (Dyson)” ยังจัดการแข่งขันเพื่อให้นักประดิษฐ์ได้มีพื้นที่แสดงผลงานมากขึ้นอยู่เสมอจากทั่วทุกมุมโลกอีกด้วย ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจและแปลกใหม่จึงมักปรากฏให้ชาวโลกรู้จักภายใต้ชื่อไดสัน

ซึ่งล่าสุดนี้ ทางไดสันได้ประกาศจะเปิดรับสมัครผลงานประกวดในประเทศไทยอย่างเป็นทางการในวันที่ 16 มีนาคม 2022 นี้แล้ว! ภายใต้ชื่อการประกวด “The James Dyson Award 2022” ผ่านเว็บไซต์ jamesdysonaward.org

โดยผู้ชนะระดับชาติจะได้รับเงินรางวัล 222,000 บาท ทั้งยังได้รับสิทธิ์ชิงรางวัลระดับนานาชาติ ซึ่งมีเงินรางวัลให้ถึง 1,330,000 บาทให้สำหรับผู้ชนะ โดยที่ทางงานประกวดได้ให้โอกาสผู้เข้าแข่งขันส่งงานชิงรางวัลเป็นเวลาหลายเดือน เริ่มตั้งแต่ 16 มีนาคม 2022 จนถึง 6 กรกฎาคม 2022

ซึ่งในงานแถลงข่าวครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณลิเดีย บีตัน (Lydia Beaton) ประธานมูลนิธิ James Dyson Foundation และ คุณอัชฌาเอื้อ เชี่ยวชาญ วิศวกรแอโรไดนามิกส์เทอร์โบ จาก Dyson มาเป็นผู้ให้ข้อมูล

แม้จะเป็นปีแรกที่มีการจัดการแข่งขันที่ประเทศไทยอย่างเป็นทางการ แต่ในตลอดระยะเวลา 17 ปี ที่ผ่านมา ไดสันก็ได้จัดการประกวดแข่งขันออกแบบนวัตกรรม James Dyson Award ขึ้นตั้งแต่ปี 2005 มีการเฟ้นหาไอเดียสดใหม่ของนักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่จากคณะวิศวกรรมและคณะด้านการออกแบบด้วยโจทย์เดิมมาตลอด 17 ปี ซึ่งก็คือ “ออกแบบอะไรก็ได้ที่แก้ไขปัญหา”

ด้วยโจทย์ที่เปิดกว้างทางความคิดเช่นนี้เอง ทำให้เราได้เห็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นจากปัญหาในระดับโลกมากมาย โดยผู้ชนะในปีที่ผ่าน ๆ มาได้นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ที่แก้ไขปัญหาที่น่าทึ่ง ตั้งแต่แก้ไขปัญหาการเข้าถึงการรีไซเคิลพลาสติก, แก้ปัญหาเลือดออกจากแผลมีดบาด และพัฒนาการตรวจโรคต่าง ๆ ได้เองที่บ้าน โดยรางวัลในระดับนานาชาตินั้นจะถูกคัดเลือกโดย James Dyson โดยตรง ผู้ชนะการประกวดครั้งนี้จะได้รางวัลเป็นเงินทุนและยังได้รับโอกาสการประชาสัมพันธ์ผลงานในระดับโลก ซึ่งถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการนำไอเดียไปต่อยอดทางธุรกิจ

มาดูรางวัลสำหรับผู้ชนะ James Dyson Award กันดีกว่า

  1. เงินรางวัล: ผู้ชนะระดับชาติจะได้รับเงินรางวัลจำนวน 222,000 บาท และผู้ชนะรางวัลระดับนานาชาติจะได้รับเงินรางวัลจำนวน 1,330,000 บาท เพื่อใช้เป็นทุนในการสานต่อและต่อยอดสิ่งประดิษฐ์ต่อไปในอนาคต
  2. ได้รับการประชาสัมพันธ์ผลงาน: การชนะรางวัล James Dyson Award จะทำให้ผลงานเป็นที่สนใจของสื่อมวลชน สาธารณะชน และผู้เชี่ยวชาญในแวดวงวิศวกรรมและการออกแบบ ที่จะช่วยเปิดโอกาสในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ในอนาคต
  3. ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนนักประดิษฐ์: ในปีนี้ James Dyson Award ได้เปิดตัวเครือข่ายผู้ชนะการประกวดขึ้น โดยจะจัดกิจกรรมและโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการนำสิ่งประดิษฐไปต่อยอดทางธุรกิจหรือคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ

โอกาสที่ได้จาก James Dyson Award

การแข่งขันได้มอบโอกาสในการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อนานาชาติแก่นักประดิษฐ์ ซึ่งเปิดโอกาสให้เกิดการลงทุนเพื่อต่อยอดและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์

mOm incubators จากผู้ชนะระดับนานาชาติปี 2014 ผลงานที่เพิ่มตัวเลือกในการดูแลเด็กแรกเกิด หลังจากทดสอบการใช้งานเสร็จสิ้น ขณะนี้ mOm ได้ใช้งานในองค์กร UK NHS trust สามแห่งและได้ช่วยชีวิตทารกกว่า 20 ชีวิต โดยมีแผนการพัฒนา mOm ไปสู่การใช้งานในระดับโลกเพื่อช่วยอัตรการเข้าถึกการดูแลทารกทั่วโลก และในปี 2017 ผู้ชนะรางวัลรองชนะเลิศจากสหรัฐอเมริกา

SoaPen สบู่ในรูปแบบปากกาสีสันสดใสที่กระตุ้นการล้างมือได้พัฒนาผลงานสู่การดำเนินธุรกิจและติดอันดับ Forbes 30 Under 30 Lists และได้จำหน่ายสินค้าทั่วทวีปอเมริกาและล่าสุดได้ผลิตเจลล้างมือเพื่อตอบรับความต้องการของตลาดในช่วงการระบาดของโรค COVID-19

Rabbit Ray ผู้ชนะรางวัลรองชนะเลิศระดับชาติ จากสิงคโปร์ เครื่องมือสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ช่วยอธิบายขั้นตอนทางการแพทย์แก่เด็ก โดยเจ้าของสิ่งประดิษฐ์ Esther Wang ได้ก่อตั้งบริษัทด้านสุขภาพและการศึกษาที่ชนะรางวัลอย่างบริษัท Joytingle โดยสิ่งประดิษฐ์ของเธอสามารถช่วยอธิบายได้ตั้งแต่การฉีดวัคซีนจนไปถึงการรักษาด้วยคีโม

รายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งขันเพิ่มเติม

James Dyson Award เป็นการสานต่อเจตนารมย์ของ James Dyson ในการแสดงถึงอิทธิพลของศาสตร์แห่งวิศวกรรมที่สามารถเปลี่ยนโลกได้  โดยที่ผ่านมา James Dyson Award ได้สนับสนุนสิ่งประดิษฐ์กว่า 258 ชิ้นด้วยเงินรางวัล โดยการแข่งขันนี้จัดขึ้นและดำเนินการโดย James Dyson Foundation มูลนิธิด้านการศึกษาและวิศวกรรมที่สนับสนุนโดย Dyson

สถาบันวิศวกรรมและเทคโนโลยี Dyson ร่วมกับ James Dyson Foundation ทำงานเพื่อสนับสนุนวิศวกรและนักแก้ปัญหาในการนำความรู้ความสามารถในการค้นคว้าหนทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านเทคโนโลยี จนถึงวันนี้ James Dyson Foundation ได้ลงทุนจำนวน 140 ล้านปอนด์ในการสนับสนุนด้านการศึกษาและงานการกุศล

สามารถติดตามข่าวสารเกี่ยวกับมูลนิธิได้ทาง website, Instagram, Twitter และ YouTube

โจทย์การแข่งขัน

“ออกแบบอะไรก็ได้ที่แก้ไขปัญหา” โดยปัญหาเหล่านั้นอาจเป็นแค่ปัญหาที่รบกวนจิตใจในชีวิตประจำวันหรือจะเป็นปัญหาในระดับโลกก็ได้ สิ่งสำคัญคือสิ่งประดิษฐ์นั้นจะต้องสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะท้อนแนวคิดในการออกแบบที่มีเหตุผล

การตัดสิน

ผู้เข้าประกวดจะถูกตัดสินในระดับชาติที่ประกอบด้วยวิศวกรจาก Dyson และผู้เชียวชาญจากภายนอก ในแต่ละประเทศจะมีการคัดเลือกผู้ชนะระดับชาติ และรองชนะเลิศ 2 รางวัล โดยผู้ชนะของแต่ละประเทศจะถูกตัดสินโดยคณะกรรมการวิศวกรของ Dyson ในการเลือกผู้เข้าชิง 20 ทีมเพื่อลงแข่งขันในระดับนานาชาติ และท้ายที่สุด James Dyson จะเป็นคนเลือกรางวัลชนะเลิศด้วยตัวเอง

รางวัล

  • รางวัลชนะเลิศระดับนานาชาติ ที่เลือกโดย James Dyson, เงินรางวัลจำนาน 1,330,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศระดับนานาชาติ เงินรางวัลมูลค่า 220,000 บาท
  • รางวัลชนะเลิศระดับชาติ เงินรางวัลมูลค่า 220,000 บาท

หมดเขตรับสมัคร: วันที่ 6 กรกฎาคม 2565

ขั้นตอนการสมัคร

ผู้เข้าแข่งขันสมัครประกวดแข่งขันผ่านแบบฟอร์มออนไลน์ภายในเว็บไซต์ James Dyson Award

โดยผู้เข้าแข่งขันต้องอธิบายว่าสิ่งประดิษฐ์นั้นคืออะไร วิธีการทำงานเป็นอย่างไร และกระบวนการพัฒนาสิงประดิษฐ์นั้นๆ โดยสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการตอบรับดีจะต้องแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ได้จริง และต้องสามารถอธิบายถึงที่มาที่ไปได้อย่างชัดเจน พร้อมแสดงกระบวนการทดลองและพัฒนา และแสดงหลักฐานในการพัฒนาต้นแบบในรูปแบบภาพและวิดีโอ

*กรรมการจะพิจารณาข้อจำกัดในการสร้างต้นแบบสิ่งประดิษฐ์อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19*

เกณฑ์ผู้เข้าแข่งขัน

ผู้เข้าแข่งขันต้องกำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการแข่งขัน James Dyson Award หรือจบการศึกษาเป็นระยะเวลาไม่เกิน 4 ปีในคณะวิศวกรรม หรือคณะด้านการออกแบบ  

ในกรณีที่เข้าแข่งเป็นทีม สมาชิกในทีมทุกคนจะต้องศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมแข่งขัน James Dyson Award หรือจบการศึกษาไม่เกิน 4 ปี โดยต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 1 คนที่ศึกษาหรือจบการศึกษาไม่เกิน 4 ปีจากคณะวิศวกรรมหรือคณะด้านการออกแบบ

ผู้ชนะในปีที่ผ่านมา

เครื่องมือตรวจแรงดันในลูกตาที่สามารถช่วยตรวจโรคต้อหินที่สามารถทำได้ที่บ้านและไม่เจ็บปวด, ผลงานโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS)

เครื่องมือราคาย่อมเยา ที่สามารถตรวจสอบชนิดของพลาสติกเพื่อการรีไซเคิล, ผลงานโดย Jerry de Vos จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี Delft (TU Delft)

เครื่องมือที่ช่วยหยุดการไหลของเลือดเพื่อช่วยเหยื่อจากการถูกแทง, ผลงานโดย Joseph Bentley จากมหาวิทยาลัยลัฟบะระ (Loughborough university)

ผลงานโดย Judit Giró Benet อายุ 23 ปี, Blue Box คือวิธีตรวจสอบมะเร็งเต้านมแบบใหม่ที่ทำได้ที่บ้าน โดยใช้ตัวอย่างปัสสาวะและ AI algorithm

ผลงานโดย Carvey Ehren Maigue อายุ 27 ปี, AuREUS คือวัสดุชนิดใหม่ที่ทำจากขยะทางเกษตรกรรมที่สามารถเปลี่ยนแสง UV ให้กลายเป็นพลังงานได้

คุณผู้อ่านสามารถค้นคว้าข้อมูลการแข่งขันเพิ่มเติมได้ในช่องทางของ James Dyson Award ดังต่อไปนี้

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส