ย้อนกลับไปเมื่อปี 2565 ซัมซุงได้ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ลงนามความร่วมมือในการจัดทำคอร์สฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานช่างเครื่องปรับอากาศ พัฒนาศักยภาพพร้อมยกระดับทักษะฝีมือให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลเพื่อผลิตแรงงานฝีมือที่มีศักยภาพและทักษะในการปฏิบัติงานสู่ตลาดแรงงาน ตลอดจนส่งเสริมให้ช่างมีใบรับรองตามกฎหมาย โดยมีผู้สำเร็จการอบรมทั้งสิ้น 80 คน สำหรับในปีนี้ซัมซุงต่อยอดความสำเร็จในการสร้างแรงงานฝีมือที่มีความรู้ความสามารถให้แก่สังคมไทยโดยขยายการจัดคอร์สฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานไปยังสาขาการซ่อมบำรุงโทรศัพท์เคลื่อนที่ และในปี 2567 และ 2568 มีแผนที่จะขยายไปยังธุรกิจอื่น ๆ รวมไปถึงเทคโนโลยี นวัตกรรมอย่าง Internet of Things (IoT) อีกด้วย

ในปีนี้ซัมซุง (Samsung) ร่วมกับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน นำโดย นายมาร์ค คิม ประธานองค์กร ธุรกิจโมบายล์ เอ็กซ์พีเรียนซ์ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด และ นายพิเชษฐ์ ทองพันธ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เดินหน้าส่งต่อองค์ความรู้ทั่วประเทศกับ “Samsung Tech Skill” จัดงานประกาศความสำเร็จโครงการพร้อมมอบใบประกาศนียบัตรให้กับผู้สำเร็จการฝึกอบรม หลักสูตรการซ่อมบำรุงโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวน 46 คน ย้ำแนวทางการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนของซัมซุง “Everyday Sustainability”

นายมาร์ค คิม ประธานองค์กร ธุรกิจโมบายล์ เอ็กซ์พีเรียนซ์ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด ได้เน้นย้ำถึงความมุ่นมั่นในการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนของซัมซุง “Everyday Sustainability” ทั้งสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยในด้านสังคม ซัมซุงพร้อมส่งเสริมวัฒนธรรมที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย และความร่วมมือเพื่อสร้างพรุ่งนี้ที่ดีกว่าเดิมเพื่อลูกค้า พันธมิตร และชุมชนในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยี ซัมซุงมองเห็นโอกาสในการส่งต่อความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะให้เทียบเท่าระดับสากลและเป็นพื้นฐานต่อยอดความสำเร็จในสายอาชีพ โดยปีนี้ได้ก้าวสู่เป็นปีที่ 3 แล้ว

ตลอดหลักสูตรทั้งการเรียนภาคทฤษฎี และปฏิบัติ รวมถึงการสอบวัดผลเป็นไปอย่างเข้มข้นเพื่อยกระดับและพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ เท่าทันต่อเทคโนโลยี พร้อมส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดการใช้สินค้าและบริการให้แก่ผู้บริโภค  โดยในหลักสูตรประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี และซอฟท์แวร์ระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์ และการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับซอฟท์แวร์ โดยในรุ่นที่ 1 มีช่างเทคนิคประจำศูนย์บริการซัมซุง สำเร็จหลักสูตร  26 ท่าน จากเป้าหมายการฝึกอบรมในปี 2566 ทั้งหมด 120 ท่าน

นอกจากนี้ซัมซุงยังส่งต่อความรู้และทักษะการซ่อมบำรุงเบื้องต้นโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยจัดฝึกอบรมให้กับอาจารย์ ผู้ฝึกสอน  กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจำนวน 20 คน เพื่อเปิดหลักสูตรและนำความรู้ส่งต่อไปยังประชาชนทั่วไปที่สนใจ พร้อมทั้งมอบโทรศัพท์มือถือจำนวน 40 เครื่อง มูลค่า 160,000 บาท เพื่อใช้ในกิจกรรมการเรียนการฝึกสอน  โดยกรมพัฒนาฝืมือแรงงานคาดดว่าจะพร้อมเปิดหลักสูตรให้กับประชาชนทั่วไปที่สนใจได้ภายในเดือนพฤษภาคมโดยมีเป้าหมายจัดการฝึกอบรมให้กับประชาชนผู้ที่ให้ความสนใจกว่า 250 คน

และซัมซุงยังมีเป้าหมายในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานไทยเพื่อรองรับต่อความต้องการและทิศทางการเติบโตของผลิตภัณฑ์ และ Smart IoT อีกด้วย

เจริญศักดิ์ เจริญศิลป์, จีรศีกดิ์ เตียวตระกูล และ จิรวุฒิ กิจวรรณ อาจารย์ผู้ฝึกสอนจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

เจริญศักดิ์ เจริญศิลป์, จีรศีกดิ์ เตียวตระกูล และ จิรวุฒิ กิจวรรณ อาจารย์ผู้ฝึกสอนจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เผยเกี่ยวกับความร่วมมือว่า ณ ปัจจุบัน ทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมในประเทศมีแนวโน้มเติมโตในอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีและดิจิตทัล การเตรียมพร้อมแรงงานเพื่อรองรับต่ออุตสาหกรรมดิจิทัลและพัฒนากำลังแรงงานเข้าสู่อุตสาหกรรมดิจิทัลเพื่อสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการของตลาดแรงงานเป็นสิ่งที่ทางอาจารย์ ครูฝึกสอนตระหนักอยู่เสมอ  โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนที่นับเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญกับผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยทางอาจารย์มีความเชื่อว่าองค์ความรู้ที่มีมาตราฐานการบริการลูกค้าในระดับสากลจากซัมซุงจะช่วยยกระดับความสามารถ  เพิ่มศักยภาพของแรงงาน สามารถต่อยอดในสายงาน สามารถแข่งขันและทัดเทียมต่อมาตรฐานฝีมือนานาชาติ แรงงานสามารถสร้างอาชีพ และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่มั่นคงให้แก่ประเทศในลำดับต่อไป

วีรยุทธ วัฒนวงษ์, ทศพร ราชบาศรี และ เพ็ญนภา ฮงสวัสดิ์ ตัวแทนจากช่างเทคนิคประจำศูนย์บริการซัมซุง

วีรยุทธ วัฒนวงษ์, ทศพร ราชบาศรี และ เพ็ญนภา ฮงสวัสดิ์ ตัวแทนจากช่างเทคนิคประจำศูนย์บริการซัมซุง แสดงความเห็นว่า หลังจากได้ผ่านหลักสูตรนี้ นอกจากการได้ทบทวนขั้นตอนการทำงานและองค์ความรู้เดิมเพื่อให้ได้มาตราฐานเดียวกัน ยังได้เพิ่มเติมความรู้ที่ขาด และอัพเดตความรู้ใหม่ให้ทันเท่ายุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทั้งผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี โดยการสอนเป็นไปอย่างละเอียดทีละขั้นตอน ทำให้ช่างมีความเข้าใจมากขึ้น สามารถนำไปปรับใช้ได้เมื่ออยู่ในสถานการณ์จริงและพัฒนาตัวเองไปด้วย สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับอาชีพนี้คือความละเอียดและและต้องมีความระมัดระวังสูง หากมีการวิเคราะห์อาการและแนวทางการแก้ไขปัญหาผิดตั้งแต่ต้น จะทำให้กระบวนการทั้งหมดผิด ซึ่งหลักสูตรนี้ทำให้มีกระบวนการวิเคราะห์และหาแนวทางการทำงานได้ง่ายขึ้น