ช่วงเดือนที่ผ่านมานี้คงมีหลาย ๆ คนที่เคยได้ยินถึง ‘Chat Bot’ หรือ AI ที่ชื่อ ‘ChatGPT’ กันแล้วแน่ ๆ และหลายคนก็คงได้ยินว่ามันสามารถตอบคำถามเราได้แบบนั้น แนะนำเราได้ขนาดนี้ แล้วมันจะมาแทนงานเราได้หรือเปล่า ก่อนหน้านี้ในแบไต๋เราได้เล่าในบทความบนเว็บไซต์ว่า เราควรปรับตัวให้ทำงานร่วมกันกับ AI จะดีกว่า บทความนี้แบไต๋ขอต่อยอดประเด็นด้วยการแนะนำ 5 ทิปการใช้ ChatGPT ยังไงให้เวิร์ค !

ChatGPT คืออะไร

ChatGPT คือ ‘โมเดลภาษา’ หรือการใช้สถิติและความน่าจะเป็น เพื่อวิเคราะห์ความน่าจะเป็นของคำที่จะใส่ต่อไปในประโยค โดยวิเคราะห์จากเนื้อความของบริบทเพื่อจะทำนายคำถัดไป ที่จะต้องผ่านการฝึกด้วยข้อมูลในรูปแบบ ข้อความ จำนวนมหาศาลที่มีอยู่บนโลกนี้ เพื่อโต้ตอบคำพูดออกมาในแบบของตัวเอง

ซึ่ง ChatGPT เป็นโปรเจคภายใต้การดูแลของ OpenAI องค์กรที่พัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับด้านปัญญาประดิษฐ์ที่เป็นมิตร หรือ AI ที่เป็นประโยชน์ และไม่คุกคามมนุษย์แบบเรา ๆ ก่อตั้งขึ้นมาจากเงินลงทุนของ Elon Musk, Sam Altman และผู้ร่วมทุนรายอื่น ๆ ด้วยเงินลงทุนกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผลงานที่ออกมา ได้เป็นสมบัติของมนุษย์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยทั่วไป (ตามนิยามคำว่า Open ของ OpenAI นั่นเอง)

หลักการทำงานของ ChatGPT จะอยู่ในรูปแบบของการถาม – ตอบ ที่ให้อารมณ์เหมือนการพูดคุย (แชต สมชื่อ ChatGPT นี่แหละ) และ ChatGPT จะค้นหาข้อมูลตามที่ฝึกมา และเรียบเรียงเป็นคำตอบในเชิงการพูดคุยกันนั่นเอง

คำตอบที่ให้มาได้นั้นสามารถเป็นได้หลายอย่างมาก ตั้งแต่การสอบถามคำตอบสั้น ๆ ให้คำตอบยาวจนเหมือนบทความ ไปจนถึงการเขียนโค้ดให้เราดูได้เลย ซึ่งใครที่สนใจสามารถเข้าไปลองเล่นได้ที่ https://chat.openai.com/chat ได้เลย อย่าลืมล็อกอินก่อนด้วยน้า

5 ทิป ใช้ ChatGPT ช่วยทำงานยังไงให้เซียน

ก่อนที่เราจะไปชมทิปทั้ง 5 นี้ ต้องขอแจ้งไว้ก่อนว่าเวอร์ชันที่เราใช้ทดสอบและแนะนำทิปเหล่านี้คือ ChatGPT เวอร์ชัน 9 มกราคม ที่ผ่านมานี้ และเป็นตัวอย่างผลการวิจัยแบบฟรีเท่านั้น แปลว่าในอนาคต ChatGPT อาจจะเก่งกว่านี้ได้อีก และมีความสามารถมากกว่าในคลิปนี้ ทิปเหล่านี้จึงเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นสำหรับผู้ที่อยากใช้ ChatGPT เพื่อช่วยในการทำงานต่อไป

Tips ที่ 1 อยากแนะนำคนที่เพิ่งเริ่มต้นใช้งาน ChatGPT ก็คือ ChatGPT จดจำสิ่งที่ตอบและเพิ่มเติมตามความต้องการเราได้

เมื่อเราเข้ามาในหน้าแชท เราสามารถพิมพ์ขอให้ ChatGPT เขียนเรื่องที่เราต้องการ และให้ AI ปรับแก้คำตอบเพิ่มเติมได้ อย่างตอนนี้ออมจะขอให้ ChatGPT เขียนอธิบายความแตกต่างระหว่างไวท์ช็อกโกแลต และดาร์กช็อกโกแลต แบบนี้ (พิมพ์ : What’s the difference between White Chocolate and Dark Chocolate ?) ChatGPT ก็จะบอกว่าช็อกโกแลตทั้ง 2 ประเภทนี้แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ทีนี้เราสามารถถามเพิ่มเติมได้ หรือให้สรุปสั้น ๆ ให้เราอ่านอีกรอบก็ได้น้า ด้วยการพิมพ์เพิ่มเติมว่า (พิมพ์ : Can you sums it up in simple terms1 paragraph ?) ทีนี้ ChatGPT ก็จะสรุปคำตอบทั้งหมดก่อนหน้าแบบเข้าใจง่าย ๆ มาให้เหลือเพียงแค่ 1 ย่อหน้าเท่านั้น หรือถ้าเราอยากรู้ว่าแบบไหนดีต่อสุขภาพมากกว่ากัน เราก็พิมพ์ถามเพิ่มเติมว่า (พิมพ์ : Which one is better for your health ?) ChatGPT ก็จะช่วยบอกได้ว่าช็อกโกแลตแบบไหนดีต่อสุขภาพมากกว่ากัน แบบนี้เลย (อ่านสดเพิ่มเติม)

ดังนั้นเวลาเราคุยกับ ChatGPT ขอให้เราถามแบบที่เราโต้ตอบกับมนุษย์ปกติเลยนะ เขาเข้าใจแน่นอน แต่อย่าลืมว่าเราอย่าเพิ่งเชื่อ AI ทั้งหมดนะ ข้อมูลที่ได้มาอาจจะไม่ได้ถูกต้องทั้งหมด ต้องผ่านการตรวจสอบอีกครั้งก่อนเพื่อความแน่ใจด้วย

ทิปที่ 2 นอกจากจะให้ ChatGPT ตอบคำถามเราแบบต่อเนื่องได้แล้ว เรายังให้ ChatGPT ออกไอเดียเบื้องต้น หรือวางแผนเบื้องต้นให้เราก็ทำได้ !

อย่างเช่นถ้าเราขอให้ ChatGPT ออกไอเดียการท่องเที่ยวในกรุงเทพ ChatGPT ก็จะออกไอเดียการท่องเที่ยวในกรุงเทพมาให้แบบคร่าว ๆ ว่าเราควรไปทำอะไรที่ไหนบ้าง (พิมพ์ : Can you give ideas for a trip in Bangkok ?) ทีนี้เราก็ใช้ทิปข้อที่แล้วในการให้ ChatGPT ตอบคำถามต่อเนื่องว่า (พิมพ์ : What about the nearby lesser known city ?) ChatGPT ก็จะแนะนำเมืองที่นิยมน้อยกว่ามาให้เช่น (อ่านสด) และสุดท้าย เราก็ขอให้ ChatGPT ออกแผนการเดินทางแบบง่าย ๆ สมมติว่าเราขอให้ ChatGPT ออกแบบทริปเดินทางไปกรุงเทพ 4 วัน 3 คืนด้วยเครื่องบิน (พิมพ์ : Can you make me a trip plan for 4 days trip to Bangkok via Plane ? including visiting bangkok and some lesser known city as you have told me.) ก็จะออกมาเป็นแพลนการเที่ยวเบื้องต้นแบบนี้เลย เหลือแค่ให้

ต้องบอกว่าไอเดียที่ออกมาน่าสนใจจริง ๆ ครับ ไม่แน่เราอาจจะให้ ChatGPT ช่วยวางแผนไปเที่ยวรอบหน้าก็ได้นะเนี่ย !

ทิปที่ 3 ChatGPT สามารถแบ่ง Chat ตามหัวข้อที่คุยได้ด้วยนะ

ซึ่ง ChatGPT จะตั้่งชื่อหัวข้อให้เราแบบอัตโนมัติ อย่างถ้าออมกดตรงคำว่า New Chat ด้านบนซ้ายนี้ ก็จะขึ้นแชตใหม่หมดได้ ซึ่งเราก็สามารถถามเรื่องใหม่ได้เลย เช่นถ้าออมถามว่าอยากดูหนัง Netflix ดี ๆ ซักเรื่อง จะดูเรื่องไหนดี (พิมพ์ : What Netflix Movie should I watch ? I like a story-rich movie.) ChatGPT ก็จะให้คำตอบมา พร้อมกับใส่หัวข้อของบทสนทนาให้แบบอัตโนมัติเลย

และด้วยความที่เราจะใช้งาน ChatGPT ได้ เราต้องล็อกอินก่อน แปลว่าหัวข้อการสนทนาที่เราคุยเอาไว้ จะบันทึกไว้ในบัญชีของเราด้วย ทีนี้เวลาเราเอา ChatGPT ไปเปิดที่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ขอแค่เราใช้บัญชีเดิมในการเข้า ประวัติการสนทนาทั้งหมดก็จะถูกบันทึกไว้ด้วยนั่นเอง

ทิปที่ 4 เราสามารถคุยเล่นกับ ChatGPT ได้ด้วย

ก่อนหน้านี้ที่เราถาม ChatGPT มาตลอดมีแต่เรื่องเกี่ยวกับข้อมูลเท่านั้น แต่รู้หรือไม่ครับว่าเราสามารถพูดคุยกับ ChatGPT เพื่อเป็นคนคุยด้วยเฉย ๆ ก็ได้นะ เพราะ ChatGPT เป็นโมเดลภาษาที่จะต้องตอบคำถามที่เราถามไปให้ได้ ดังนั้นถ้าเราคุยเล่นกับ ChatGPT อย่างให้เขาเล่ามุขตลก ก็ทำได้เหมือนกัน (พิมพ์ : Can you tell me a joke ?) (อ่านและแปล อาจจะแซวมุขที่ AI เขียนมาก็ได้) ถ้าเรายังไม่จุใจพอ หรืออยากได้มุขแนวไหนเป็นพิเศษก็ขอเขาได้นะ (พิมพ์ : Can you tell me a health joke ?) (อ่านและแปล และแซวมุขที่ AI เขียนมา)

หรือเราจะเป็นฝ่ายคุยเล่นกับ AI ก็ได้ อารมณ์หาเพื่อนคุยก็ได้เลย พูดถึงการคุยกับ AI แบบนี้แล้วก็ชวนนึกถึงสมัยก่อนที่เราสามารถคุยกับ Simsimi หรือ น้องฟ้าใสเลยนะ (ลองพิมพ์คุยกับ ChatGPT อารมณ์ Simsimi)

ทิปที่ 5 รู้ข้อจำกัดของ ChatGPT

ข้อสุดท้ายที่เราจะมาแนะนำก็คือ อยากให้ทุกคนรู้จักลิมิตของการใช้ ChatGPT ดังนี้เลย

  • อย่างแรกคือ ChatGPT เป็นโมเดลภาษาที่มีข้อมูลถึงแค่ปี 2021 เท่านั้น และ ChatGPT ไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไว้ กล่าวคือ ChatGPT จะตอบคำถามตามข้อมูลที่มีถึงแค่ปี 2021 เท่านั้น ถามใหม่กว่านี้ หรือทำนายอนาคต เช่น ให้พยากรณ์อากาศ แบบนี้ก็ทำไม่ได้นะ
  • ChatGPT ไม่สามารถเลือกข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้เราได้ เช่นถ้าเราถามว่า Android หรือ iOS ดีกว่ากัน ChatGPT จะให้ข้อมูลมาคร่าว ๆ และให้เราเป็นคนสรุปว่าสิ่งไหนดีกว่ากัน เพราะเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลนั่นเอง
  • และ ChatGPT ไม่สามารถจำลองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงได้ เพราะ ChatGPT แม้จะมีความรู้มาก แต่ก็เป็นเหมือนกับคนที่มีหนังสือเล่มหนาอยู่ในมือ และสามารถเล่าสิ่งที่อยู่ในหนังสือออกมาได้เท่านั้น ChatGPT ยังไม่สามารถคิดและโต้ตอบด้วยตัวเองได้นะ

เมื่อเรารู้ข้อจำกัดเหล่านี้ การโต้ตอบกับ ChatGPT ก็จะสนุกขึ้นและได้ผลจริงมากขึ้นอย่างแน่นอนเลย

ทั้งหมดนี้ถือเป็นทิปเล็กน้อยสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มใช้งาน ChatGPT แบบเบื้องต้น สำหรับใครที่สนใจอยากใช้งาน ก็ตามไปลองเล่นกันได้ที่เว็บไซต์ของ OpenAI ได้เลย คลิก สุดท้ายนี้ขอฝากไว้ว่า ใครที่ตามไปเล่น ChatGPT นี้เพื่อหาข้อมูลไปใช้งานต่อ อย่าลืมนะว่าข้อมูลที่ได้อาจจะไม่ได้ถูก 100% ดังนั้นอย่าเพิ่งเชื่อทุกอย่างที่ AI ตอบเรามา ตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนเชื่อนะ