ตลอดช่วงที่เขามีชีวิตอยู่ โทมัส เอดิสัน (Thomas Edison) ถือครองสิทธิบัตรไอเดียมากกว่า 1,000 ชิ้น และมีส่วน (ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง) ในการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมมากมายตั้งแต่กล้องวีดีโอ เครื่องเล่นแผ่นเสียง หลอดไฟ แบตเตอรี่อัลคาไลน์ โทรเลข และอีกมากมาย ซึ่งมันชัดเจนอยู่ว่าแล้วเขาเป็นคนหนึ่งที่มีมักมีไอเดียที่ยิ่งใหญ่และต้องคอยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างอยู่เสมอ

การเป็นคนที่ชาญฉลาดและการทำงานหนักถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ แต่ข้อมูลใหม่ที่ถูกตีพิมพ์ในบทความจากเว็บไซต์ Scientifiv American บอกว่าเอดิสันมีเทคนิคการ ‘งีบหลับ’ ที่ช่วยทำให้เขาสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมันก็ไม่ใช่การง่วงแล้วงีบหลับช่วงบ่ายทั่ว ๆ ไปด้วย

‘งีบหลับ’ ช่วยให้เราเจอทางแก้ปัญหาได้จริง ๆ เหรอ?

เบรต สเตทกา (Bret Stetka) นักข่าวด้านสุขภาพและวิทยาศาสตร์อิสระรายงานเอาไว้ว่า “มีคนบอกว่านักประดิษฐ์คนนี้ [เอดิสัน] จะถือลูกบอลไว้ในมือทั้งสองข้าง และตอนที่เขากำลังจะเคลิ้มจะงีบหลับ ลูกบอลก็จะหล่นลงบนพื้นและทำให้เขาสะดุ้งตื่น มันจะช่วยทำให้เขาจำความคิดที่ไหลเข้ามาในหัวก่อนที่จะงีบหลับ ซึ่งเป็นช่วงที่เรามักจะจำไม่ได้” 

การใช้เทคนิคแปลก ๆ นี้เอดิสันเชื่อว่าเขาสามารถดึงไอเดียและความคิดที่มีประโยชน์จากช่วงเวลาครึ่งหลับครึ่งตื่นกลับมาใช้ได้ ซึ่งถ้าเราลองดูหลักฐานจากสิ่งที่เขาทำตลอดช่วงที่เขายังมีชีวิตอยู่ เทคนิคนี้อาจจะไม่ได้ดูแปลกประหลาดมากขนาดนั้น และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ก็มีการยืนยันตรงนี้ด้วย สเตทกา อธิบายต่อไปว่าในงานศึกษาชิ้นใหม่ที่ตีพิมพ์ในเว็บไซต์ Science Advances บอกว่า

“เรามีช่วงเวลาสั้นๆ ของความคิดสร้างสรรค์และความเข้าใจที่ลึกซึ้งที่เกิดขึ้นในสภาวะกึ่งรู้ตัว (semilucid) เมื่อเราเริ่มง่วงนอน” เขากล่าวต่อว่า “การค้นพบนี้บอกเป็นนัยว่าหากเราสามารถเก็บเกี่ยวความคิดที่เลือนลาง เบลอ ๆ ระหว่างการนอนหลับและความตื่นตัว (ซึ่งเรียกว่าภาวะสะกดจิต) ได้แล้วละกัน เราอาจจะสามารถดึงเอาไอเดียดี ๆ กลับมาใช้ได้ง่ายขึ้นด้วย”

โดยนักวิจัยได้ขอให้อาสาสมัครผู้เข้าร่วมการทดลอง 103 คนให้แก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังจากลองใช้เทคนิคการงีบหลับของเอดิสัน โดยโจทย์คณิตศาสตร์นี้จะมีกฎที่ซ่อนอยู่และช่วยให้แก้ไขปริศนานี้ได้ง่ายขึ้น ในรอบแรกถ้ามีใครตอบถูกก็จะถูกแยกออกแล้วให้กลับบ้านไป ส่วนที่เหลือจะถูกให้ไปพัก นอนลงบนเตียงแล้วถือบอลไว้ในมือ โดยจะติดเครื่องตรวจจับภาวะการสภาวะการทำงานของสมอง ดวงตา และกล้ามเนื้อ เพื่อดูว่าอาสาสมัครนั้นนอนหลับลึกมากน้อยแค่ไหนหรือไม่หลับเลย

ถ้าลูกบอลหล่น ก็จะถูกถามทันทีว่ากำลังคิดเรื่องอะไรอยู่

ผลที่ออกมาคือว่าคนที่กำลังอยู่ในช่วงกำลังจะเคลิ้มหลับแล้วลูกบอลตกมีโอกาสที่จะแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์นั้นได้มากกว่า 3 เท่าของคนที่ไม่หลับ และมากกว่า 6 เท่าของคนที่หลับลึกไปกว่านั้นแล้ว

เอามาปรับใช้ยังไงดี?

ถึงตอนนี้คุณอาจจะรู้สึกอยากวิ่งออกไปซื้อลูกบอลและรีบหาโซฟาเพื่อลองงีบหลับ เผื่อไอเดีย ‘ยูเรก้า’ (Eureka Moment) จะปรากฏขึ้นมากบ้าง แต่มันมีวิธีที่ง่ายกว่านั้น เพราะในงานศึกษาชิ้นนี้ก็บอกว่าบางทีมือของอาสาสมัครก็ไม่ได้คลายจนกระทั่งหลับลึกไปแล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งที่คุณทำได้เพื่อจะคว้าไอเดียบรรเจิดในระหว่างภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่นที่ง่ายที่สุดคือการตั้งนาฬิกาปลุกไว้ 20 นาที แล้วเอาสมุดจดวางไว้ข้าง ๆ ตัว แล้วหลับตาลง

ซึ่งถ้าคุณหลับลึกไปเลยภายใน 20 นาทีมันก็อาจจะหมายถึงคุณควรจะนอนพัก แต่ถ้าภายใน 20 นาทีกำลังเคลิ้ม ๆ ใกล้หลับแล้วจู่ ๆ เสียงนาฬิกาปลุกก็ดังขึ้น ก็เด้งตัวขึ้นมาจดไอเดียที่อยู่ในหัวเมื่อกี้ใส่สมุดเอาไว้เลย มันอาจจะดูแปลก ๆ แต่มันก็ได้ผลกับนักประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ (จากบทความของ inc.com บอกว่าไอน์สไตน์และ ซัลบาโด ดาลี (จิตรกรที่มีชื่อเสียงชาวสเปน) ก็ต่างใช้เทคนี้ของเอดิสันเช่นกัน) เพราะฉะนั้นถ้าจะลองก็คงไม่ได้เสียหายอะไร

แต่แนะนำว่าอย่าทดลองสิ่งนี้ในเวลาทำงานก็แล้วกัน

อ้างอิง 1 อ้างอิง 2 อ้างอิง 3
อ้างอิง 4 อ้างอิง 5