หลายคนมักตื่นมาพร้อมกับความเหนื่อยล้า แต่นี่จะเป็นวิธีที่ทำให้คุณไม่รู้สึกเหนื่อยล้าหลังจากตื่นนอน

บางทีการนอนหลับเพื่อให้ตื่นมาสดชื่นก็เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากกว่าที่เราคิด งานวิจัยล่าสุดจะมาอธิบายอาการนี้ให้เราฟัง และ สิ่งที่สัคัญที่สุดสำหรับเรื่องนี้เลยคือ วงจรการนอน

blinds.com ระบุว่าการนอนเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ เมื่อคุณรู้สึกเหนื่อยไม่ได้ช่วยให้อาการเหนื่อยล้าของคุณลดลง คุณควรจะปรับตัวให้เข้ากับวงจรการนอนของคุณแทน และหากคุณตื่นขึ้นมาก่อนที่จะครบวงจรของคุณ มันจะทำให้คุณเกิดอาการเหนื่อยล้า ถึงแม้คุณจะใช้เวลาในการนอนไปมากก็ตาม

เราใช้เวลาในการนอนประมาน 90 นาทีในการเข้าสู่ลำดับ 5 ขั้นของการนอน 4 ใน 5 ขั้นของการนอนนั้นคือ non-rapid eye movement (NREM) และอีก 1 ขั้นนั้นคือ rapid eye movement (REM) โดยเราจะหลับลึกขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละขั้น และในขั้นที่ 5 (REM) นี้เอง เป็นขั้นที่ทำให้เราเกิดความฝัน และ ถ้าคุณตื่นในระหว่างการนอนขั้นที่ 4 คุณจะมีอาการหงุดหงิด และอ่อนเพลีย

ดังนั้น ถ้าคุณต้องการตื่นในเวลา 7 โมงเช้า คุณก็จะต้องเข้านอนเวลา 21.46 น. หรือ 23.16 น. แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด ก็เข้านอนก่อน 00.46 น. และ 2.16 น. การคาดคะเนเวลานอนเหล่านี้นับรวม 14 นาทีก่อนที่คนจะเข้าสู่วงจรการนอนแล้วด้วย หากคุณต้องการตื่นตอน 6 โมงเข้า เวลาเข้านอนที่ดีที่สุดของคุณคือ 20.46 น. 22.16 น. 23.46 น. และ 1.16 น. และก็เช่นเดียวกัน ถ้าคุณต้องการตื่นตอน 8 โมงเช้า คุณควรเข้านอนเวลา 22.46 น. 00.16 น. 01.46 น. และ 03.46 น.

The Sleep Calculator กล่าวว่า การนอนหลับที่ดีมันมีอะไรมากกว่าการเข้านอนแต่หัวค่ำ มันเกี่ยวกับเวลาตื่นนอนที่เหมาะสมด้วย
การคำนวนเวลานอนแบบนี้เป็นการใช้ธรรมชาติของร่างกายเป็นพื้นฐานในการคำนวนเวลาเข้านอน และ เวลาตื่นนอน เพื่อการพักผ่อนที่ดีที่สุดของคุณ

อ้างอิง