องค์การสหประชาชาติ หรือ UN เผยข้อมูลที่น่าสนใจว่า อินเดียกำลังจะแซงหน้าจีนขึ้นเป็นประเทศมีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกในช่วงกลางปีนี้ คาดว่าจำนวนประชากรในอินเดียจะมีมากถึง 1,428 ล้านคน ส่วนจีนจะอยู่ที่ราว ๆ 1,425 ล้านคน อินเดียจะมากกว่าประมาณ 2.9 ล้านคน กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) กล่าวว่า ตัวเลขจำนวนประชากรในอินเดียนั้น มาจากการคาดการณ์ เพราะไม่มีการสำรวจสำมะโนประชากรอินเดียมาตั้งแต่ปี 2011 แล้ว

ปัจจุบันสัดส่วนประชากรโลกนั้น ทวีปเอเซียจะมีจำนวนประชากรมากกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนประชากรโลกมานานกว่า 70 ปีแล้ว จนกระทั่งในปี 1961 ที่ประชาจีนเริ่มมีอัตราการเกิดลดลง

รัฐบาลจีนเร่งผลักดัน ให้แต่ละครอบครัวมีบุตรมากกว่า 1 คน

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ได้ทำการสำรวจสำมะโนประชากรในอินเดียทุก ๆ 10 ปีต่อเนื่องมาตลอด 140 ปี เพิ่งจะมาหยุดสำรวจไปในปี 2021 เพราะสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด ทำให้ต้องเลื่อนออกไปเป็นปี 2022 แล้วก็เลื่อนอีกครั้ง จะมีการสำรวจครั้งต่อไปในปี 2024 ทำให้ตัวเลขจำนวนประชากรของอินเดียที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นไปโดยคาดการณ์ไม่ใช่ตัวเลขจากการสำรวจสำมะโนประชากรจริง

UN ยังเสริมด้วยว่า ข้อมูลจำนวนประชากรดังกล่าวนั้น ยังไม่ได้รวมประชากรจาก 2 เขตปกครองพิเศษของจีน คือ ฮ่องกง และ มาเก๊า ไว้ด้วย ซึ่งจะมีจำนวนรวมแล้วมากกว่า 8 ล้านคน และยังไม่รวมจำนวนประชากรบนเกาะไต้หวัน ที่วันนี้ยังมองตัวเองว่าเป็นเอกเทศจากแผ่นดินใหญ่ มีรัฐธรรมนูญและมีผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยของตนเอง

ในเดือนพฤศจิกายน 2023 นี้ ประชากรโลกจะทะลุหลัก 8,000 ล้านคน ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า อัตราการเพิ่มจำนวนประชากรโลกนั้นลดลงกว่าแต่ก่อน และในช่วงนี้จัดว่าอัตราการเพิ่มจำนวนประชากรช้าที่สุดนับตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา
เมื่อตัวเลขจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งจำนวนประชากรในอินเดีย และจำนวนประชากรทั้งโลก นั้นส่งผลต่อเนื่องให้มีหลาย ๆ ปัญหาที่น่ากังวลตามมา กล่าวคือ

  • เมื่อจำนวนประชากรอินเดียมากกว่าจีน จะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง ?
  • จีนควรกังวลต่ออัตราการเพิ่มจำนวนประชากรที่ลดลงหรือไม่ ?
  • จำนวนประชากรจีนที่ลดลงจะมีผลกระทบต่อโลกหรือไม่ ?

แม้ว่าจำนวนประชากรในอินเดียกำลังจะมากกว่าประชากรจีน แต่ในปัจจุบันอัตราเจริญพันธุ์ของทั้งสองประเทศต่างก็ลดลง โดยเฉพาะในจีน ที่ปีหน้านี้จะนวนประชากรจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ แม้ว่าทางการจีนจะประกาศยกเลิกนโยบายให้ครอบครัวมีลูกคนเดียวมาตั้งแต่ปี 2016 แล้วก็ตาม แล้วออกมาตรการจูงใจต่าง ๆ ให้แต่ละครอบครัวมีลูก 2 คนหรือมากกว่านั้น


อีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้จำนวนประชากรจีนลดน้อยลงก็เพราะ ปัญหาค่าครองชีพที่ถีบตัวสูงขึ้น เป็นเหตุให้สตรีเพศต้องออกมาทำงานนอกบ้านเพื่อหาเลี้ยงครอบครัวมากขึ้น
ส่วนในอินเดียนั้น อัตราการเจริญพันธุ์ก็นับว่าลดลงอย่างมาก ในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา จากเดิมต่อผู้หญิงหนึ่งคนจะมีอัตราการเกิดอยู่ที่ 5.7 คน ก็ลดลงมาที่ 2.2 คน ในปัจจุบัน

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ได้ทำการออกแบบสอบถามกับชาวอินเดียเพื่อสำรวจความคิดเห็นว่าเหตุใด อัตราการเจริญพันธุ์ในอินเดียจึงลดลง ชาวอินเดียส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ประชากรในประเทศมีจำนวนมากเกินไปแล้ว และอัตราการเจริญพันธุ์สูงเกินไป สองในสามของผู้ตอบแบบสอบถามให้ความเห็นว่ายิ่งจำนวนประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้น ก็ยิ่งน่ากังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ

ในขณะเดียวกัน นักประชากรศาสตร์กลับให้ความเห็นว่า กรณีที่จำนวนประชากรของอินเดียเพิ่มขึ้นจนแซงหน้าจีนนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลแต่อย่างใด
“เราควรมองว่าการเพิ่มจำนวนของประชากรนั้นคือสัญลักษณ์ของความก้าวหน้า การพัฒนา และเป็นแรงผลักดันให้สิทธิส่วนบุคคลและทางเลือกได้รับการปกป้อง”

ที่มา : BBC