โรคแพนิก (Panic Disorder) คือ ความกังวลในระดับขั้นกว่า ส่งผลทำให้ “ตื่นตระหนก” ทั้งกายและใจ ถ้าเป็นหนักอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน โรคนี้เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ (Automatic Nervous System) ทำงานผิดปกติ ซึ่งเจ้าระบบประสาทในส่วนนี้ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายหลายส่วน ถ้าระบบการทำงานรวน ก็จะส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติหลายอย่างร่วมกัน 

สัญญาณของโรคแพนิก

สัญญาณเตือนภัย! ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้อยู่บ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณเตือนของการเกิดโรคแพนิก

  • ใจสั่น 
  • รู้สึกแน่นหน้าอก
  • หัวใจเต้นแรง  
  • หายใจหอบ-ถี่
  • เหงื่อแตกทั่วร่างกาย
  • ตัวสั่น
  • รู้สึกในท้องปั่นป่วน
  • วิงเวียน คล้ายจะเป็นลม
  • หวาดกลัว รู้สึกกลัวแบบไม่มีสาเหตุ
  • มือสั่น เท้าสั่น
  • ตัวชา และควบคุมตัวเองไม่ได้

ปัจจัยกระตุ้น ที่ทำให้เกิดโรคแพนิก

โรค และอาการแพนิกเกิดได้จากหลายสาเหตุ และปัจจัย ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน เช่น 

  • สมองส่วนควบคุมความกลัวที่ Amygdala ทำงานผิดปกติ
  • กรรมพันธุ์  
  • การใช้สารเสพติด
  • ฮอร์โมนผิดปกติ จนทำให้สารเคมีในสมองเสียสมดุล 
  • เคยเจอเหตุการณ์ร้าย ๆ และรุนแรงในชีวิต
  • มีการใช้ชีวิตอยู่ในสภาวะที่เร่งรีบอยู่บ่อยครั้ง
  • เครียดสะสม  

นอกจากนี้ การเกิดอาการแพนิกสามารถเกิดขึ้นได้แบบฉับพลัน แม้จะไม่มีสาเหตุของการทำให้เกิดการตื่นตระหนกตกใจก็ตาม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ทำให้ไม่กล้าออกไปไหน มีความวิตกจริตอยู่เสมอ 

อย่างไรก็ตามโรคแพนิกนี้เป็นโรคที่รักษาให้หายได้ ด้วยการฝึกการหายใจเพื่อควบคุมสติ หรือในกรณีที่คุณมีอาการหนัก ก็สามารถขอความช่วยเหลือจากคุณหมอ หรือนักจิตวิทยาเพิ่มเติม ซึ่งก็จะสามารถเยียวยาหัวใจของคุณให้กลับมาแข็งแรงได้ดังเดิม และกลับมาใช้ชีวิตได้แบบเต็มที่