Beartai ได้เคยนำเสนอข่าวเกี่ยวกับความน่ายินดีในการฟื้นตัวของธรรมชาติจากกรณีรูโหว่ของโอโซนบริเวณขั้วโลกใต้ลดขนาดลงอย่างมากในรอบ 30 ปีที่เกิดในช่วงไม่กี่เดือนของปี 2020 นี้ ตามความเห็นของฝ่ายที่เชื่อว่า เกิดจากความร่วมมือปล่อยก๊าซเรือนกระจกกันมาอย่างยาวนานของมนุษย์ (แม้ว่าจะมีมนุษย์กลุ่มที่ร่วมมือทำลายโลกอยู่ด้วยเช่นกัน) หรือจะเป็นเพราะช่วงนี้โลก “ชัตดาวน์” กิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ เพราะสถานการณ์ Covid-19 ก็ตาม

ล่าสุดมีรายงานเปิดเผยเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2020 ที่ผ่านมาว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์จากองค์กร Copernicus’ Atmospheric Monitoring Service (CAMS) ซึ่งทำหน้าที่ติดตามและตรวจสอบช่องโหว่ในชั้นโอโซนของของโลกได้พบว่ารูโหว่โอโซนบริเวณขั้วโลกเหนือได้ปิดลงโดยสมบูรณ์แล้ว ทั้งที่ก่อนหน้านี้เคยมีรายงานข่าวว่า รูโหว่รูนี้ได้เพิ่มขนาดขึ้นอย่างน่ากังวล (รูโหว่นี่ก็ผันผวนเล็กใหญ่พอสมควรเหมือนกัน) ซึ่งถือว่าเป็นผลดีต่อระบบภูมิอากาศของโลกอย่างมาก ทั้งในด้านทิศทางลมและการป้องกันรังสีรังสีอัลตราไวโอเล็ต (UV) โดยรูของชั้นโอโซนที่ขั้วโลกเหนือปิดตัวลงอย่างครบทั้งวงเมื่อวันที่ 23 เมษายน

รูโหว่ในชั้นโอโซนรูใหม่แถบอาร์กติกทางฝั่งขั้วโลกเหนือเพิ่มขนาดขึ้นอย่างน่ากังวล

เดือนที่แล้ว รูโหว่ในชั้นโอโซนฝั่งขั้วโลกเหนือ  เพิ่งจะเพิ่มขนาดขึ้นอย่างน่ากังวล

 

รูโหว่โอโซนบริเวณขั้วโลกใต้ได้ปิดสนิทลงแล้ว

รูโหว่โอโซนบริเวณขั้วโลกใต้ได้ปิดสนิทลงแล้ว

อย่างไรก็ตาม CAMS ก็ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า รูโหว่ของโอโซนที่ปิดไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการหยุดกิจกรรมของมนุษย์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้มลพิษทางอากาศลดลงแต่อย่างใด แต่เกิดขึ้นเพราะกระแสลมวนอาร์กติก (Polar Vortex) ที่แข็งแรงขึ้นจนประสานรูโหว่ให้ปิดสนิทต่างหาก (ไม่ว่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลอะไร ก็ถือเป็นเรื่องดี ๆ ของธรรมชาติที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้)

CAMS เผยว่า การปิดตัวของรูโหว่ขนาดใหญ่ในชั้นโอโซนครั้งล่าสุดคือเมื่อเกือบ 10 ที่แล้ว กระแสลมวนขั้วโลก หมายถึง บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ และกระแสลมวนขั้วโลกสามารถเกิดได้ตลอดเวลา แต่มักจะเกิดได้น้อยในช่วงฤดูร้อนและรุนแรงได้ในฤดูหนาว โดยปกติแล้วกระแสลมวนบริเวณอาร์กติกหรือขั้วโลกเหนือจะอ่อนแอกว่า เนื่องจากมีพื้นทวีปและภูเขาอยู่รอบข้างที่รบกวนการเกิดขึ้นมากกว่าบริเวณขั้วโลกใต้ อีกทั้งยังมีอากาศที่อุ่นกว่ากระแสลมวนในขั้วโลกใต้ แต่รูโหว่ในบริเวณแอนตาร์กติกหรือขั้วโลกใต้ มักเกิดจากสารเคมีอย่างคลอรีนและโบรมีนที่อยู่ในชั้นสตราโทสเฟียร์ สารเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดรูโหว่ในชั้นโอโซนในแอนตาร์กติกมาตลอดช่วง 35 ปีที่ผ่านมา

ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์พบว่าโอโซนในชั้นบรรยากาศทั้งสองขั้วโลกถูกทำลายจนเป็นรูโหว่ขนาดใหญ่ ซึ่งอย่างที่เราเคยเรียนกันมาในวิชาวิทยาศาสตร์ตอนเด็ก ๆ ว่า โอโซนซึ่งเป็นก๊าซที่ป้องกันสิ่งมีชีวิตบนโลกจากรังสี UV จะถูกทำลายเมื่อมนุษย์ใช้สารที่เรียกว่า CFCs (Chlorofluorocarbons) เช่น ในการผลิตโฟมหรือที่โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยของเสียออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งจะไปส่งผลต่อชั้นโอโซนนี่เอง เมื่อปัญหาโอโซนหนักหน่วงขึ้นในอดีต ประเทศชั้นนำได้ร่วมลงนามงดการใช้และปลดปล่อยก๊าซ CFCs ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศในพิธีสารมอนทรีออลมาตั้งแต่ปี 1987

แม้ว่าช่องโหว่ของชั้นโอโซนที่ใหญ่ที่สุดจะปิดตัวลงไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าช่องโหว่ของชั้นโอโซนทั้งหมดในโลกได้กลับมาอยู่ในภาวะปกติ  เพราะโลกไม่ได้มีรูโหว่ของชั้นโอโซนแค่ช่องเดียวเท่านั้น ในปัจจุบันช่องโหว่ของชั้นโอโซนที่ทวีปแอนตาร์ติกหรือขั้วโลกใต้เองที่แม้จะลดขนาดรูโหว่ลงในรอบ 30 ปี แต่ก็ยังคงสภาพเปิดค้างอยู่ต่อไปจนนักวิทยาศาสตร์คาดการณ์กันว่า รูโหว่ของโอโซนในบริเวณดังกล่าวอาจจะต้องใช้เวลาจนถึงปี 2050 กว่าที่มันจะกลับสู่สภาพปิดสนิท

ภาพถ่ายดาวเทียมขององค์กรนาซา เผยให้เห็นว่ารูโหว่โอโซนของโลกหดขนาดเล็กลงที่สุดในรอบ 32 ปี

ภาพถ่ายดาวเทียมขององค์กรนาซา เผยให้เห็นว่ารูโหว่โอโซนบริเวณขั้วโลกใต้ของโลกหดขนาดเล็กลงที่สุดในรอบ 32 ปี