เมื่อปีก่อนทีมงานเว็บแบไต๋ได้มีโอกาสสัมภาษณ์คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งแบบใหม่ถอดด้ามของไมโครซอฟท์ ก็ได้เห็นวิสัยทัศน์และย่างก้าวที่ไมโครซอฟท์ประเทศไทยที่จะรุกตลาด Cloud หนักขึ้น แต่ผลิตภัณฑ์ในส่วนของคอนซูเมอร์ก็ยังไม่ทิ้ง จากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็ผ่านมาแล้ว 1 ปี คุณธนวัฒน์กลับมาพบกับเราอีกครั้ง พร้อมเล่าให้ฟังว่า 1 ปีในไมโครซอฟท์ได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ มากมายจากลูกค้า

Accelerate Together ธีมสำคัญของไมโครซอฟท์ในปี 2019

บรรยากาศในงานสัมภาษณ์

คุณธนวัฒน์เล่าให้ฟังว่า ภารกิจหลักของไมโครซอฟท์ยังเหมือนเดิมคือสนับสนุนผู้ใช้ให้มีพลังมากขึ้น แต่เทคโนโลยีใหม่ก็ยังอยู่ในทางแยกที่อาจจะเริ่มต้นช้า เพราะคนไม่รู้ว่ามันช่วยอะไร สนับสนุนอะไร แล้วองค์กรก็ไม่สามารถรอให้ทุกอย่างสมบูรณ์ 100% แล้วค่อยทำ ก็ต้องทำไปแก้ไปเลย ไมโครซอฟท์จึงเน้นเข้าไปสนับสนุนประสบการณ์กับบุคคล รวมถึงด้าน AI แล้วก็ Ubiquitous computing ที่เป็น 3 เป้าหมายสำคัญของไมโครซอฟท์ในโลกยุค “Intelligent Cloud, Intelligent Edge” ที่เทคโนโลยีคลาวด์ทำให้ทุกอย่างเชื่อมโยงกัน

  • People-centered experiences: การสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ยึดความต้องการของผู้ใช้เป็นสำคัญ โดยที่สามารถใช้งานได้อย่างราบรื่นบนทุกดีไวซ์ และคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับบุคคลที่ต้องติดต่อสื่อสารหรือทำงานด้วยในแต่ละวัน
  • AI: การพัฒนานวัตกรรมที่ผลักดันให้มนุษย์มีศักยภาพสูงขึ้น ทั้งในการทำงานและในชีวิตประจำวัน และยังเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้าถึงศักยภาพนี้อย่างเท่าเทียมกัน
  • Ubiquitous computing: การขยายศักยภาพอัจฉริยะของเทคโนโลยีให้สามารถใช้งานได้จากทุกที่อย่างแท้จริง ด้วยคุณสมบัติในการคิดวิเคราะห์จากข้อมูล ที่ทำได้ทั้งบนคลาวด์และในอุปกรณ์ปลายทาง

ก้าวสำคัญของ AI ไมโครซอฟท์ สู่การรับรู้โลกรอบตัวเทียบเท่ามนุษย์

คุณธนวัฒน์ลงรายละเอียดเรื่อง AI ของไมโครซอฟท์มากขึ้นว่า บริษัทมุ่งพัฒนา AI ให้มีศักยภาพในหลากหลายด้าน โดยนอกจากการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลแล้ว ยังรวมถึงความสามารถในการรับรู้โลกภายนอกในระดับที่ทัดเทียมกับมนุษย์ ซึ่งที่ผ่านมามีความสำเร็จด้าน AI จากไมโครซอฟท์ที่สำคัญคือ

  • ศักยภาพด้านการมองเห็นและรับรู้วัตถุ เทียบเท่ากับมนุษย์ในปี 2559
  • การรับฟังเสียงพูดของมนุษย์ เทียบเท่ากับมนุษย์ในปี 2560
  • การอ่านจับใจความ เทียบเท่ากับมนุษย์เมื่อเดือนมกราคม ปี 2561
  • การแปลภาษา (จีน-อังกฤษ) เทียบเท่ากับมนุษย์เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2561

ซึ่งนอกจากงานพัฒนาในห้องวิจัยแล้ว ไมโครซอฟท์ก็ยังร่วมมือกับพาร์ทเนอร์มากมายเพื่อนำเทคโนโลยี AI และMachine Learning ของไมโครซอฟท์มาใช้ในโลกจริงบนแพลทฟอร์มของไมโครซอฟท์

Play video

  • BMW ConnectedDrive: แพลตฟอร์มบริการและแอปพลิเคชันเพื่อการเชื่อมต่อระหว่างผู้ขับขี่ ยานยนต์ และโลกภายนอก โดยครอบคลุมทั้งด้านความสะดวกสบายและความปลอดภัย
  • Seeing AI: จากโปรเจกต์แนวคิดของวิศวกรไมโครซอฟท์ สู่แอปพลิเคชันฟรีบน iOS ที่สามารถอ่านและบรรยายสิ่งต่างๆ ในโลกรอบตัวให้ผู้พิการทางสายตาได้รับรู้และเข้าใจ ใช้ AI เพื่อบอกได้ว่าสิ่งต่างๆ ตรงหน้านั้นคืออะไร บอกมาเป็นคำพูด หรือเอาเงินมาวางตรงหน้าก็จะบอกว่าได้เป็นแบงค์อะไร มีเสียงบอกความสว่าง (เข้าไปโหลดมาลองใช้ฟรีได้เลย)
  • FarmBeats: เพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนให้เกษตรกร ด้วยโซลูชั่นที่ผสมผสานอุปกรณ์เซ็นเซอร์ โดรน กล้อง และระบบ Machine Learning ที่สามารถเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากภาคสนามได้อย่างรวดเร็ว
  • DJI: สานต่อแนวคิด “Intelligent Cloud, Intelligent Edge” ด้วยการเติมศักยภาพอัจฉริยะจาก AI และ Machine Learning ให้โดรนรับรู้โลกภายนอกได้อย่างชาญฉลาด เอา AI เข้าไปช่วยเอามาวิเคราะห์ภาพถ่ายหรือภาพวิเคราะห์จากโดรน เพื่อวิเคราะห์ดินหรือเรื่องอื่นๆ ในฟาร์ม โดยเฉพาะฟาร์มขนาดใหญ่
  • Conservation Metrics: สนับสนุนการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ด้วยระบบ AI ที่สามารถแยกแยะเสียงสัตว์ออกจากเสียงอื่นๆ ในสภาพแวดล้อมรอบข้าง ก่อนจะนำไปวิเคราะห์เพื่อบันทึกเป็นข้อมูลในการติดตามประชากรสัตว์ป่า
  • และยังมีโปรเจก AI ของนักเรียนม.ต้นจากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ ที่สามารถทำถังขยะอัจฉริยะที่บอกว่าได้ขยะในถังนั้นมีเยอะแค่ไหน หรือทีม D connect จากบางมด เอาเทคโนโลยีเสียงไปจับเรื่องผึ้ง วิเคราะห์พฤติกรรม เพราะเชื่อว่าผึ้งสามารถบอกสภาพสิ่งแวดล้อมได้

ความเติบโตของไมโครซอฟท์ประเทศไทย

คุณธนวัฒน์เล่าภาพรวมความเติบโตของไมโครซอฟท์ประเทศไทยให้เราฟังว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาในช่วงปีการเงินของไมโครซอฟท์ (ก.ค. 2017 – มิ.ย. 2018) ไมโครซอฟท์ประเทศไทยโตขึ้นหลายด้าน

  • Cloud – 48%
  • Azure – 124%
  • Modern Workplace – 31%
  • Dynamics 365 – 535%
  • Surface – 40%

ซึ่ง Azure หรือระบบคลาวด์ของไมโครซอฟท์ถือเป็นดาวเด่น ทั้งความใหญ่โตครอบคลุมของมัน ซึ่ง Azure มี 54 เขตทั่วโลก เป็นระบบคลาวด์ทึ่ใหญ่ที่สุดในโลก ใหญ่กว่า Google หรือ AWS อีก ซึ่ง Azure ก็เป็นอินฟราพื้นฐานของหลายๆ อย่าง เช่น Chatbot ภาษาไทย อย่าง Nong Aree หรือ fah ของการบินไทย หรือ Speak to Text ภาษาไทย ที่อยู่ใน Azure Service ให้นักพัฒนาดึงไปใช้พัฒนาได้เลย แต่ก็ยังรองรับ Google AI หรือ AWS AI บน Azure ด้วย เปิดกว้างครบทุกค่ายจริงๆ

นอกจากนี้ไมโครซอฟท์ยังแปลภาษาไทยใน code.org เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมในไทยอีกด้วย

GDPR ไมโครซอฟท์ก็ช่วยได้ ปรึกษาไมโครซอฟท์สิ