งานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์จาก University of California ใน San Francisco ได้พบว่า Apple Watch ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้นั้นเมื่อทำงานร่วมกับแอปจาก Cardiogram Inc. แล้วจะช่วยดูสภาวะของหัวใจของเราได้ เพียงแต่ว่าความแม่นยำนั้นยังคงมีปัญหาเล็กน้อย ร่างกายต้องอยู่ในภาวะพักเท่านั้นจึงจะสามารถวัดได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะเมื่อวัดจากหลังข้อมือ

งานวิจัยนี้กล่าวว่าจะใช้ตัวนับก้าว และเซ็นเซอร์ตรวจจับชีพจรของ Apple Watch ในการดูสภาวะของ atrial fibrillation ของหัวใจ ซึ่ง atrial fibrillation จะเป็นอาการที่จังหวะการเต้นของชีพจรไม่สม่ำเสมอ และสามารถที่จะทำให้เลือดจับตัวเป็นลิ่มก้อน และเกิดภาวะ stroke ได้

จากข้อมูลใน Apple Watch จำนวน 6,680 เรือน พบว่า 50 เรือนมีการตรวจพบภาวะ atrial fibrillation ผ่านแอปของ Cardiogram Inc. ซึ่งตอนนี้ทางบริษัทก็ได้ลงเงินทุนสนับสนุนงานวิจัยนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผลการตรวจพบครั้งนี้จะนำไปตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้งโดยเครื่องมือพิเศษ ซึ่งผลที่ได้ออกมานั้นเรียกได้ว่าน่าประทับใจเลยทีเดียว

อย่างแรก ผลการวิเคราะห์จาก Apple Watch กับภาวะ atrial fibrillation นั้นมีความแม่นยำสูงถึง 97% เลยทีเดียวเมื่อเปรียบเทียบกับการวัด cardiograms วิธีที่ใช้ในปัจจุบัน ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะพัก ร่างกายไม่ได้มีกิจกรรมในการเคลื่อนไหว และสำหรับการใช้ชีวิตประจำวันความแม่นยำจะตกลงมาเหลือ 72% ความต่างที่ห่างขนาดนี้นั้นเป็นเพราะสภาวะของร่างกายที่ไม่ได้หยุดนิ่งตลอดเวลาจึงมีโอกาสที่การเต้นของชีพจรจะเร็วขึ้น

ภาวะ atrial fibrillation นั้นเกิดขึ้นอย่างได้อย่างแพร่หลาย มีผู้ที่มีอาการนี้ 2,700,000 ในสหรัฐฯ และอีก 34,000,000 คนทั่วโลก ซึ่งคนทั่วไปอาจไม่ทราบว่าตนเองมีอาการนี้หรือไม่ ภาวะ atrial fibrillation นั้นจะมีอาการดังนี้ เจ็บหน้าอก, ชีพจรไม่สม่ำเสมอ, เป็นลมเมื่อออกกำลังกาย และหายใจไม่เต็มปอด ซึ่งผู้ป่วยจะไม่ค่อยได้สังเกตในส่วนนี้ จึงอันตรายมากที่จะปล่อยให้มีภาวะนี้ไปเรื่อยโดยที่ไม่ทำการรักษา

งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ eHealth Heart ที่เริ่มตั้งแต่ปี 2013 โดยโครงการนี้มีหลักสำคัญที่ใช้เทคโนโลยีจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ในการป้องกันโรคหัวใจ ซึ่งจนถึงตอนนี้ก็ได้มีผู้ร่วมโครงการกว่า 160,000 คนแล้ว และคาดว่าจะถึง 1,000,000 ภายในสิ้นปีนี้ เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ผู้ใช้ยังไม่ได้ใช้แอปจาก Cardiogram Inc. มากเท่าไหร่นัก แต่เชื่อว่าจะต้องมีคนหันมาใช้กันเยอะขึ้นแน่นอนครับ

อ้างอิง