‘Silver Sparrow’ ชื่อของเจ้ามัลแวร์ตัวร้ายถูกพบในเครื่องแมคเกือบ 30,000 เครื่องทั่วโลก สร้างความปั่นป่วนอย่างหนักในแวดวงด้านความปลอดภัย ส่งผลให้ตอนนี้นักวิจัยด้านความปลอดภัยทำการตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อเสาะหาถึงจุดประสงค์ และความอันตรายของเจ้ามัลแวร์นี้

ตามรายงานระบุว่า มัลแวร์ตัวนี้มีการตรวจสอบเซิร์ฟเวอร์ควบคุมชั่วโมงละครั้งเพื่อรับคำสั่งเพื่อทำงาน แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่พบว่ามีการส่งข้อมูลใดๆ จาก Control Center ทำให้ยังเรายังไม่รู้ว่าเจ้า Silver Sparrow มีวัตถุประสงค์อะไรกันแน่

นอกจากนี้ Silver Sparrow ยังมีความสามารถในการลบตัวเองทิ้งเพื่อทำลายหลักฐาน ซึ่งโดยทั่วไปมักจะพบในการลอบเร้นขั้นสูง แต่ดูเหมือนว่าตอนนี้ยังไม่มีคำสั่งให้มัลแวร์ลบตัวเอง จึงน่าสงสัยว่าทำไมมัลแวร์ถึงมีความสามารถระดับสูงแบบนี้ด้วย

มากไปกว่านั้นเจ้ามัลแวร์ตัวนี้ก็สร้างความฮือฮาเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นมัลแวร์ตัวที่ 2 ที่รันในชิป M1 ของ Apple ที่พึ่งเปิดตัวเมื่อเดือน พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้ามีการตรวจพบ Pirrit มัลแวร์แบบ Native ตัวแรกที่แฝงตัวไปยังระบบ MacOS

Red Canary เป็นบริษัทเจ้าแรกที่ทำการตรวจจับ และพบมัลแวร์ในเครื่อง Mac ของผู้ใช้งานท่านหนึ่ง พร้อมกับการตั้งชื่อมัลแวร์ตัวนี้ว่า Silver Sparrow

แต่อย่างไรก็ดี Silver Sparrow ก็ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงพอสมควร เพราะมีการคาดการณ์ว่ามัลแวร์นี้จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง และทำให้มีอัตราการติดมัลแวร์ที่สูงขึ้นทั่วโลก ถึงแม้ว่าตอนนี้จะยังไม่มีรายงานการส่งข้อมูลเพื่อทำอันตราย

ซึ่งตอนนี้เราสามารถใช้ Malware Bytes เพื่อตรวจสอบและกำจัด Silver Sparrow ได้

อ้างอิง: Yahoo, Arstechnica

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส