ธุรกิจไทยกำลังเปิดรับ Digital Transformation หรือการเปลี่ยนโฉมด้วยดิจิทัล ในความเป็นจริงมีการคาดการณ์ว่า ในปีนี้จะมีองค์กรถึง 92% หันมาใช้บริการคลาวด์เพิ่มขึ้น แต่การนำโซลูชันดังกล่าวไปใช้อาจเป็นเรื่องยาก องค์กรใหญ่ ๆ จึงมักจ้างที่ปรึกษาด้านการจัดการเปลี่ยนโฉมองค์กรด้วยดิจิทัล แม้ว่าบริษัทที่ปรึกษาจะให้บริการด้านการเปลี่ยนโฉมด้วยดิจิทัลเป็นหลัก แต่คุณ YiLun Miao กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและประเทศญี่ปุ่นแห่ง CloudBlue ได้ให้ความเห็นไว้ว่าการเปลี่ยนโฉมเป็นงานที่มีความซับซ้อน

คุณ YiLun กล่าวว่า “เป้าหมายสูงสุดสำหรับการให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการก็คือ การสร้างเทมเพลตหรือโปรแกรมสำเร็จรูปที่สมบูรณ์แบบสำหรับการเปลี่ยนโฉมด้วยดิจิทัลให้แก่ลูกค้าเพื่อให้ดำเนินการได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ” 

สิ่งที่บริษัทที่ให้คำปรึกษาจะทำให้เป็นหลักก็คือ การทำ ‘Data Fabric’ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมระบบที่มาพร้อมการให้บริการข้อมูลที่สามารถเข้าถึงและใช้งานข้อมูลและบริการแบบไม่หยุดชะงักโดยไม่ต้องไปเปลี่ยนโครงสร้างระบบคลาวด์ขององค์กร แม้ว่าผลลัพธ์อาจจะดีก็ตาม แต่ก็ยังดูห่างไกลจากความสำเร็จอยู่มาก 

“ขั้นตอนแรกคือ การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ขาย (Vendor) และผู้ให้บริการคลาวด์ระดับไฮเปอร์สเกล (Hyper-scalers) ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถผสานรวมเทคโนโลยีมากมายไว้ในโซลูชันเดียวให้แก่ลูกค้าโดยไม่ต้องคำนึงถึงการตั้งค่าเดิม นับเป็นความท้าทายทางเทคโนโลยีและการพาณิชย์ที่ซับซ้อน เนื่องจาก ประการแรก ต้องใช้เวลาและความเชี่ยวชาญในการผสานรวมกลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดเข้ากับเทคโนโลยีต่างๆ ของบริษัทที่ปรึกษาเพื่อขายต่อให้ลูกค้า ประการที่สอง การจัดทำข้อตกลงทางกฎหมายและกลยุทธ์การกำหนดราคามีความซับซ้อนและใช้เวลานานพอๆ กัน”

แทบไม่ต้องสงสัยเลยว่าการเปลี่ยนโฉมด้วยดิจิทัลนั้นมีประโยชน์อย่างมาก อีกทั้งยังช่วยเปิดโมเดลธุรกิจ  สร้างแหล่งรายได้เพิ่มเติม ยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน และเอื้อให้การทำงานมีความยืดหยุ่น แต่ก็ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานบางอย่าง เมื่อบริษัทได้ใช้ระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบหรือใช้ Data fabric แล้ว พวกเขาต้องพึ่งพาระบบคลาวด์เสียส่วนใหญ่ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนพุ่งสูงขึ้น 

คุณ YiLun อธิบายว่า “การใช้ระบบคลาวด์มีประโยชน์ทางการเงิน เพราะคุณไม่ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่มีราคาแพงอีกต่อไป โดยจ่ายแค่สิ่งที่คุณใช้เป็นรายเดือนแทน อีกทั้งเมื่อทุกอย่างถูกเก็บไว้ในระบบคลาวด์ ทั้งยังมีผู้ใช้หลายร้อยหรือหลายพันคน ประกอบกับมีการเพิ่มบริการบนคลาวด์ใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ การใช้งานของคุณจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย คุณอาจจะรู้สึกประหลาดใจกับค่าบริการช่วง 2-3 เดือนแรกบ้าง แต่หากมองโดยรวมก็ยังถือว่าคุ้มค่ากว่าแบบเดิมอยู่มาก” 

มีบริษัทหลายแห่งที่ต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายของระบบคลาวด์อย่างไม่คาดคิด Gartner ระบุว่าองค์กรทั่วโลก 45% มียอดค่าใช้จ่ายบนคลาวด์เกินกว่าปี 2565 ไปแล้ว ส่งผลให้แผนกการเงินมักจับตามองการใช้จ่ายบนคลาวด์เป็นพิเศษ หรือถึงกับต้องสร้างทีมเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานคลาวด์ขึ้นมา 

การใช้งานที่พุ่งสูงขึ้นอาจสร้างความปวดหัวให้แก่บริษัทที่ปรึกษาก็เป็นได้ เนื่องจากแอปพลิเคชันและโซลูชันด้านการเปลี่ยนโฉมด้วยดิจิทัลที่พวกเขาสร้างขึ้นให้ลูกค้านั้นต้องพึ่งพาระบบคลาวด์  โดยคุณ YiLun ได้อธิบายว่า อาจเกิดความยากลำบากในการเรียกเก็บเงินลูกค้าที่ใช้โซลูชันที่บริษัทที่ปรึกษาสร้างขึ้น รวมถึงปัญหาด้านการใช้งานจากผู้ขายในระบบคลาวด์

“ในแต่ละเดือน บริษัทที่ปรึกษาอาจได้รับใบแจ้งหนี้มูลค่ารวมหลายหมื่นล้านดอลลาร์สำหรับบริการคลาวด์ที่เกิดขึ้นในนามของลูกค้าทั่วโลก อันที่จริง พวกเขาได้รับใบแจ้งหนี้มูลค่าหลายล้านดอลลาร์ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ขายที่พวกเขาทำงานด้วยต่างหาก โดยผู้ขายส่วนใหญ่ไม่มีระบบที่จะกระทบยอดใบแจ้งหนี้ต่างๆ กับการใช้งานของลูกค้าได้อย่างง่ายดายซึ่งอาจกระจายไปยังผู้ให้บริการหลายราย วิธีเดียวที่พวกเขาสามารถระบุได้ว่าใครใช้อะไรและเรียกเก็บเงินจากลูกค้าก็คือการตรวจสอบสเปรดชีตแต่ละบรรทัดจากผู้ขายด้วยตนเอง ซึ่งมีเป็นแสนๆ แถว เราเคยเห็นบางองค์กรต้องจ้างพนักงานเต็มเวลาตั้งแต่ 5 คนจนถึง 30 คนเพื่อมาทำงานนี้ในแต่ละเดือน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายมหาศาล”

แต่ปัญหายังไม่จบแค่ความไม่สะดวกที่ต้องมาตรวจทานสเปรดชีตด้วยตนเอง หากบริษัทที่ปรึกษาไม่สามารถกระทบยอดใบแจ้งหนี้ได้เร็วพอ อาจทำให้พลาดรอบการชำระเงินหรือต้องเสียค่าธรรมเนียมล่าช้า ด้วยใบแจ้งหนี้มหาศาลขนาดนี้อาจมีราคาเป็นหลายแสนดอลลาร์ นอกจากนี้การใช้งานใดๆ ที่ไม่สามารถหาที่มาได้มักจะถูกตัดออก ซึ่งอาจส่งผลให้รายได้รั่วไหลมหาศาล

คุณ YiLun กล่าวว่าหากมองถึงการแก้ปัญหาในระยะยาวสำหรับบริษัทที่ปรึกษาก็คือ บริษัทต้องเริ่มต้นเส้นทางการเปลี่ยนโฉมด้วยดิจิทัล “ผู้ที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนโฉมด้วยดิจิทัลและสร้าง Data fabric มักจะไม่ใช้กระบวนการและระบบแบบเดียวกับที่ขายให้ลูกค้า โดยมักใช้แนวทางเหมือนกับผู้ผสานรวมระบบที่เรียกเก็บเงินเพื่อสร้างและนำโซลูชันไปใช้งานซึ่งเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นๆ แต่ถ้าใช้การเปลี่ยนโฉมด้วยดิจิทัลเพื่อจัดทำรายการโซลูชันทั้งหมดซึ่งบริษัทที่ปรึกษาสร้างขึ้นสำหรับลูกค้า พวกเขาจะสามารถสร้างMarketplace แบบบริการตนเองเพื่อสร้างต้นแบบที่มีความสอดคล้องสำหรับการเริ่มใช้การเปลี่ยนโฉมด้วยดิจิทัล อีกทั้งยังทำให้การขายง่ายขึ้นมาก และจะเป็นการเปิดประตูสู่การเรียกเก็บเงินแบบประจำหรือการสมัครสมาชิกอีกด้วย”

การเปลี่ยนโฉมด้วยดิจิทัลจะช่วยแก้ปัญหาการผสานรวมเทคโนโลยีและรายได้รั่วไหลได้ ทั้งยังสามารถจับมือกับพันธมิตรบน Marketplace ในคลาวด์ได้ เช่น CloudBlue ซึ่งมีระบบนิเวศที่รวมผู้ขายและไฮเปอร์สเกลเลอร์หลายพันรายไว้แล้ว รวมถึงโซลูชันที่ต้องทำสัญญา พร้อมทั้งความเชี่ยวชาญด้านบุคลากรและกระบวนการ เมื่อรวมผู้ขายทั้งหมดไว้ในแพลตฟอร์มเดียวได้อย่างไร้รอยต่อ พวกเขาสามารถกระทบยอดการใช้งานของลูกค้าในระบบคลาวด์ได้อัตโนมัติแบบเรียลไทม์ แม้ลูกค้าจะใช้บริการจากผู้ขายที่อยู่ในภูมิภาคต่างๆ ก็ตาม”

ท้ายที่สุด บริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านการจัดการไม่ควรพลาดโอกาสในการนำแนวคิด Data fabric มาใช้จริง เนื่องด้วยมีการคาดการณ์ว่าตลาดจะมีมูลค่ามากกว่า 9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 การสร้างแพลตฟอร์มแบบผสานรวมพร้อมมุมมองการใช้งานที่มีผู้ขายจากหลายแห่งแบบเรียลไทม์ถือเป็นกุญแจสำคัญในการให้คำปรึกษาด้านการจัดการ หากไม่มีสิ่งนี้ พวกเขาก็อาจไม่สามารถสร้างเทมเพลตที่สมบูรณ์แบบสำหรับการเปลี่ยนโฉมด้วยดิจิทัลหรือขายแนวคิด Data fabric ได้ นอกจากนี้ ยังมีข้อได้เปรียบอย่างอื่นอีก เพราะสามารถทำงานเชิงรุกได้มากขึ้นเพื่อช่วยให้ลูกค้ายกระดับประสิทธิภาพการใช้งานระบบคลาวด์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความพึงพอใจและการรักษาลูกค้า พร้อมทั้งเพิ่มโอกาสในการขายและความสามารถในการสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ รวมถึงผลิตภัณฑ์แบบ ‘As-a-service’ ของตนเองอีกด้วย

บทสัมภาษณ์ คุณ YiLun Miao กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและประเทศญี่ปุ่นแห่ง CloudBlue