โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคสมองเสื่อมที่พบได้ทั่วไป ในอเมริกาถึง 6 ล้านคน และยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 6 ในอเมริกาอีกด้วย อ้างอิงจากกรมควบคุมโรค (CDC) อาการอัลไซเมอร์ยังไม่มียารักษา หรือชะลออาการดังกล่าว ส่วนยาแอสไพรินเป็นที่รู้จักกันดี และ มีประวัติการใช้ยาที่ยาวนานกว่าศตวรรษ แอสไพรินเป็นยาที่ปลอดภัยเมื่อใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ยาตัวนี้มีผลข้างเคียงในการทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร และอาจทำให้เกิดการเลือดออกภายในเล็กน้อย แต่ผู้คนส่วนมากรับประทานแอสไพรินทุกวันเพื่อใช้เป็นยาละลายลิ่มเลือด ในการป้องกันอาการหัวใจวาย

งานวิจัยชิ้นใหม่ได้เสนอว่าการรับประทานแอสไพรินในปริมาณที่เหมาะสมสามารถช่วยรักษาอาการอัลไซเมอร์ได้ นักวิทยาศาสตร์พบว่าแอสไพริน จะออกฤทธิ์ร่วมกับเม็ดเลือดขาวบางชนิดในสมองเพื่อป้องกันการเกิด amyloid plaque โปรตีนที่มีลักษณะเหนียวรอบๆ สมอง ที่เป็นสาเหตุหลักของอาการอัลไซเมอร์ อ้างอิงจากงานวิจัยที่ทดสอบในหนูพบว่า แอสไพรินช่วยเพิ่มการทำงานของ Lysosome (เซลล์ที่ทำหน้าที่ในการย่อยสลายเซลล์) ที่เขามาย่อยสลายการก่อตัวของ amyloid plaque ในขั้นตอนแรก แต่อย่างไรก็ตามแอสไพรินก็ยังออกฤทธิ์เช่นเดิมในกรณีของผู้ที่เป็นอัลไซเมอร์ด้วย

ในความเป็นจริงมีงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับสุขภาพและแอสไพริน พบว่าแอสไพรินอาจช่วยลดความเสี่ยงของอาการอัลไซเมอร์ได้ การวิเคราะห์ meta-analysis ที่นักวิจัยจีนตีพิมพ์ในเดือนมีนาคม 2018 ในวารสาร Frontier in Aging Neuroscience ได้ทำการศึกษากับประชากรจำนวน 18 ราย และพบว่าการใช้ยาต้านการอักเสบแบบไม่มี steroidal (NSAIDs) ซึ่งรวมถึงแอสไพริน มีส่วนถึง 20% ในการลดความเสี่ยงโดยเฉลี่ยในการพัฒนาโรคอัลไซเมอร์

แอสไพรินและอัลไซเมอร์

นักวิจัยจากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัย Rush ในเมือง Chicago ได้ทำการหาความเชื่อมโยงที่น่าจะเป็นไปได้ของแอสไพรินกับการป้องกันอัลไซเมอร์ โดยการให้แอสไพรินกับหนูที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ และ ให้แอสไพรินโดยตรงกับเซลล์สมองของหนูที่โตในห้องแลป ผลพบว่าวิธีการทั้งสองสามารถป้องกัน และ ลดอาการทางชีววิทยาของอัลไซเมอร์ได้ แอสไพริสจะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของ Lysosome มันช่วยล้างเซลล์ที่กำลังจะก่อตัวเป็น amyloid plaque และเราคาดว่าจะเห็นการที่ทำงานที่คล้ายกันในเซลล์สมองของมนุษย์ Kalipada Pahan ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ระบบประสาทที่มหาวิทยาลัย Rush กล่าว จริงๆแล้วก็มียาตัวอื่นที่ออกฤทธิ์คล้ายแอสไพริน แต่แอสไพรินเป็นยาที่ปลอดภัย และ มีผลข้างเคียงที่น้อยกว่าเมื่อใช้ยาแบบไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์

แต่ทางด้าน Rajini Rao ศาสตราจารย์ด้านสรีรวิทยาของโรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัย Johns Hopkins ใน Baltimore กล่าวว่างานวิจัยนี้นำเสนอกลไกการทำงานของแอสไพรินได้อย่างดีในการทดลองต้นแบบในสัตว์ แต่อย่างไรก็ตามเธอมองว่าการกำจัด amyloid plaque ไม่ได้ช่วยให้การทำงานของสมองดีขึ้น ถึงแม้ผลการศึกษาเกี่ยวกับการใช้แอสไพรินและภาวะสมองเสื่อม จะมีข้อบ่งชี้บางอย่างเกี่ยวกับการป้องกันอัลไซเมอร์ แต่การศึกษาเหล่านี้ก็ยังไม่ได้รับการยืนยันทางคลีนิค มากกว่า 99% ในการทดลองทางคลีนิคล้มเหลว จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการวิจัยของอัลไซเมอร์จึงเป็นเรื่องที่ท้าทาย

แม้แอสไพรินจะมีความปลอดภัย แต่ก็ไม่ควรใช้ทุกวันอยู่ดี และในกรณีที่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์บางคนที่ขาด Receptor ที่ช่วยในการกระตุ้นการทำงานของ Lysosome ก็จะไม่ได้รับผลประโยชน์จากการรับประทานยาแอสไพริน ดังนั้นเราจึงควรได้รับการยืนยันว่าแอสไพรินสามารถป้องกันอาการอัลไซเมอร์ในมนุษย์ได้จริงๆ ก่อนค่อยรับประทาน

อ้างอิง