น้องกล้า หรือ นายพัชรพง ศิลปปรีชา (Patcharapong Sinlapaprechar) อายุ 17 ปี กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์ กรุงเทพ (Harrow International School Bangkok) เด็กชายที่เรียนดีทำคะแนนเกรดเฉลี่ยได้ดีในทุกวิชา และเป็นผู้โดดเด่นทั้งด้านกีฬา เป็นตัวแทนนักกีฬาว่ายน้ำ ซึ่งในเวลาว่างก็จะเล่นดนตรี อาทิ เปียโน แซ็กโซโฟน ไวโอลิน และกีฬา เป็นนักดนตรีประจำการวงออคอร์สตาร์ของโรงเรียน และมีประสบการณ์เป็นครูสอนดนตรี ให้กับสถาบันดนตรีกองทัพอากาศ

อีกทั้งตอนนี้ยังผันตัวมาศึกษาด้านการลงทุนอย่างจริงจังจนเข้าใจแตกฉาน สามารถนำความรู้ออกมาถ่ายทอดเป็นหนังสือเล่มแรกของชีวิตด้วยวัยแค่ 17 ปีซึ่งบทสัมภาษณ์นี้จะเผยถึงแง่มุมด้านการลงทุน การเขียนหนังสือ ไปจนถึงการทำประโยชน์ต่อสังคมของน้องกล้า

มุมมองการลงทุนของเด็กชายวัย 17 ปี

อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้เริ่มสนใจด้านการลงทุน

‘แท่งเทียนของพ่อ’ คงเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักในหุ้นครั้งแรกของผมได้ดีที่สุด ความรู้สึกนี้มันเกิดขึ้นตั้งแต่ตัวผมนั้นอายุยังน้อย เพราะผมมักจะเห็นรายงานข่าวตลาดหุ้นจากโทรทัศน์อยู่เสมอ กราฟราคาสีเขียวและสีแดงที่ผันผวน และศัพท์เฉพาะดูเหมือนเป็นภาษาที่ลึกลับ แปลกใหม่ ทำให้ผมพบว่าตัวเองถูกดึงดูดด้วยความตื่นเต้นและความไม่แน่นอนของตลาดหุ้นตั้งแต่นั้นมา

ผมมักจะสอบถามพ่อด้วยคำถามต่างๆ เกี่ยวกับการลงทุนอยู่เสมอ แต่กลับได้รับการปฏิเสธมาทุกครั้ง พ่อคอยบอกว่า “ผมนั้นเด็กเกินไป และจะสอนให้เมื่อผมโตขึ้น” คำพูดเหล่านี้แทนที่จะปิดกั้นให้ผมเลิกสงสัยในการลงทุน แต่ในทางกลับกัน มันปลุกพลังแห่งอยากรู้อยากเห็นของผมให้มากขึ้นอีกต่างหาก

หลังจากนั้นผมก็เริ่มศึกษาความรู้ด้วยตัวเอง เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับความมหัศจรรย์ของหุ้นและการลงทุน ยิ่งค้นคว้ามากเท่าไร ก็ยิ่งสนใจมากขึ้นเท่านั้น ในช่วงเวลานั้นเองทำให้ผมอ่านหนังสือและงานวิจัยเกี่ยวกับหุ้น พันธบัตรและสกุลเงินดิจิทัล และประวัติความเป็นมาของสินทรัพย์ต่าง ๆ เหล่านี้

ไอดอลการลงทุนคนแรก 

น้องกล้าตอบอย่างไม่ลังเลว่าคนนั้นคือ ‘เบนจามิน เกรแฮม’ (Benjamin Graham) ชายผู้เป็นดั่งบิดาแห่งการลงทุนเน้นคุณค่า (Value ​Investment) ซึ่งเขียนหนังสือลงทุนในตำนานอย่าง The Intelligent Investor และยังเป็นอาจารย์ของวอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่อีกด้วย

Benjamin Graham

แต่น้องก็กล่าวติดตลกว่า แม้จะชื่นชอบเบนจามิน เกรแฮม แต่หนังสือที่เขาเขียนนั้นอ่านยาก เนื่องจากคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยแม้แต่น้อย ด้วยความรู้ในช่วงเริ่มต้น ทำให้ผมหันไปอ่านหนังสืออีกเล่มที่มีชื่อว่า The Little Book That Still Beats the Market โดย Joel Greenblatt ที่มุ่งเน้นการนำเสนอแนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่าในรูปแบบที่เข้าใจง่าย แม้สำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานด้านการเงินมาก่อน

แนวคิดหลักของหนังสือ การซื้อขายหุ้นเหมือนการซื้อขายธุรกิจ และมีการใช้ Magic Formula ซึ่ง Greenblatt เสนอสูตรคัดกรองหุ้นแบบง่าย ๆ โดยพิจารณาผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity – ROE) ซึ่งผมนั้นชอบเนื้อหา การนำเสนอจนนำมาเป็นต้นแบบการเขียนหนังสือของตัวเองในเวลาต่อมา

พื้นฐานแห่งนักลงทุน

ผมถามน้องกล้าด้วย 2 คำถามเบื้องต้นเกี่ยวกับความเข้าใจในตลาดการลงทุน ความเสี่ยง คำถามแรก เริ่มด้วยการจัดการพอร์ตและมายเซ็ตที่ดีในการลงทุน น้องเคยลงทุนแล้วผิดพลาดหรือขาดทุนหรือเปล่า มีวิธีจัดการความรู้สึกยังไง? น้องเผยว่าช่วงแรก ๆ ในตอนเริ่มลงทุนก็มีตกใจบ้างแหละครับ แต่เมื่อเริ่มศึกษาแต่สินทรัพย์จนเข้าใจตลาดการลงทุนมากขึ้นก็รู้สึกเฉย ๆ จนชินหล่ะครับ ในช่วงที่ผมลงทุนคริปโทฯ มีวันหนึ่งซื้อไว้แล้วราคามันลงเกือบ 90% ตอนนั้นผมเองก็กังวลมากเลยครับ แต่ก็ยังเชื่อมั่นว่าคริปโทฯ นี่แหละคือสินทรัพย์แห่งโลกอนาคต ทำให้กล้าลงทุนและถือมาจนถึงทุกวันนี้

และอีกคำถามถ้าให้เลือกแนะนำการลงทุนกับเพื่อน ๆ รุ่นเดียวกันหรือวัยรุ่นเอง จะเลือกสินทรัพย์ไหน เพราะอะไร? น้องตอบว่าคงจะตามความเสี่ยงและครับ ถ้าอยากเน้นถือยาวก็เลือกหุ้นที่บริษัทดี ถ้ารับความเสี่ยงได้น้อยหน่อยก็ซื้อพันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้คุณภาพดี รอรับดอกเบี้ย หรือถ้าเป็นสายเทรดเก็งกำไรที่รับความเสี่ยงได้สูง ก็เลือกคริปโทฯ และแชร์ประสบการณ์เลือกสินทรัพย์ต่าง ๆ ไว้ดังนี้

  • Bond สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ต่ำที่สุด ต้องการดอกเบี้ยจากพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่สม่ำเสมอ
  • Stock มองหาหุ้นจากธุรกิจที่มั่นคง เติบโตในระยะยาว 
  • Crypto Currency เลือกเหรียญโดยเทียบการขึ้นลงของบิตคอยน์ ดูประโยชน์การนำมาใช้งาน และมองหาเหรียญที่มีความเชื่อมั่นสูง มีโครงข่ายผู้ใช้เยอะ

ก่อนจะมาเป็น Beating the Market หนังสือเล่มแรก

Beating the Market แบ่งเป็น 3 พาร์ทหลัก ๆ เชื่อมโยงถึง 3 สินทรัพย์ที่เรียงจากความเสี่ยงต่ำไปยังสูง ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล, หุ้น และคริปโท เคอร์เรนซี

เริ่มต้นเรียนการเขียนหนังสือจากไหน 

ไม่มีเคยเรียนการเขียนหนังสือจากที่ไหนเลยครับ มีแค่ศึกษาการลงทุนเพิ่มเติมจากคอร์สออนไลน์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในช่วงฤดูร้อน นอกนี้พวกวิชาการเขียนหนังสือ หรือการเขียนวางโครงสร้างก็ศึกษาด้วยตัวเองจากหนังสือการเงินการลงทุนที่ชอบอ่าน

หลังจากการค้นคว้าและเรียนรู้เป็นเวลา 4 เดือน ก็มีความคิดแปลกๆ เกิดขึ้นว่า ถ้าตอนนี้ฉันมีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับพันธบัตร หุ้น และสกุลเงินดิจิทัล ทำไมเราไม่ลองเปลี่ยนเนื้อหาทั้งหมดนี้ให้เป็นหนังสือและตีพิมพ์ได้ล่ะ

ข้อจำกัดชั่วคราวของเด็กชายวัย 16 ปี และหนังสือเล่มแรก

อุปสรรคแรกของผมเลยก็คือ กระบวนการเขียนหนังสือไม่ใช่เรื่องง่าย พึ่งพบว่าตัวเองนั้นเขียนใหม่ และลบทั้งบทของหนังสือ จะทำให้ผมเริ่มตระหนักถึงสิ่งสำคัญคือหนังสือเล่มนี้มีทั้งความน่าสนใจเพียงพอสำหรับผู้อ่านทั่วไป แต่ก็กระชับพอที่จะไม่ทำให้ผู้อ่านเบื่อหน่าย หลังจากใช้เวลาเขียนหนังสืออย่างเหน็ดเหนื่อยมา 7 เดือน การแก้ไขและจัดรูปแบบหนังสือของผมก็พร้อมที่จะตีพิมพ์ในที่สุด

อุปสรรคต่อมาคงจะเป็นการค้นหาผู้จัดพิมพ์ ซึ่งถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ เนื่องจากไม่มีผู้จัดพิมพ์คนใดยินดีรับต้นฉบับที่เขียนโดยเด็กอายุ 16 ปี ทำให้ทางเลือกเดียวที่ฉันมีคือจัดพิมพ์หนังสือด้วยตนเอง

ขณะที่ผมค้นหาการพิมพ์หนังสือด้วยตนเอง ก็สะดุดกับโปรแกรม KDP ของบริษัท Amazon ยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ช และในที่สุดผมเจรจา จนทำข้อตกลงกับพวกเขาได้ ผมคิดว่าในประเทศอเมริกา พวกเขาพยายามผลักดันและส่งเสริมเยาวชน และในที่สุดหนังสือ Beating the Market : An Introduction to Investing in: Bonds, Stocks and Cryptocurrency ของผมก็ได้รับการตีพิมพ์

ผลตอบรับของการตีพิมพ์หนังสือ

ในช่วงสองสามสัปดาห์แรก ยอดขายชะลอตัว หนังสือเล่มนี้ทำได้ไม่ดีเลย แต่หลังจากมีโฆษณาและโปรโมชันบางอย่าง หนังสือเล่มนี้ก็เริ่มได้รับความสนใจในไม่ช้า ผมเห็นถึงยอดขายจากทั่วทุกมุมโลกในขณะที่หนังสือเล่มนี้สามารถติดอันดับ 1 ที่ขายดีที่สุดในหมวดหมู่การลงทุนใน Amazon USA และ Amazon Australia

‘Beating the Market’ ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยด้วย และขณะนี้มีอยู่ในห้องสมุดมากกว่า 20 แห่งทั่วกรุงเทพฯ หนังสือดังกล่าวมียอดจำหน่ายอย่างเป็นทางการแล้วกว่า 2,000 เล่มใน 10 ประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย เยอรมนี อินเดีย แคนาดา บราซิล สเปน ฝรั่งเศส และไทย

แล้วทำอย่างไรกับรายได้จากการขายหนังสือ และผลตอบแทนการลงทุน

น้องกล้าบอกว่า แบ่งเงินกองนี้เป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกก็นำมาเปิดมูลนิธิ ‘None Left Behind’ ที่นำรายได้จากการลงทุนและการขายหนังสือมาแปรเปลี่ยนเป็นเสื้อผ้าอาหาร สำหรับช่วยเหลือชุมชนใกล้ ๆ กับโรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์ กรุงเทพ ซึ่งประสานงานโดยตรงผ่านผู้นำเขตชุมชน เพื่อแจกจ่ายอาหารและเสื้อผ้าแก่ผู้อาศัยในชุนชน

และรายได้จากหนังสืออีกส่วนก็นำมาใช้ในการเปิดร้านค้าขายหลอดข้าวสาลี Eco Delights เป็นบริษัทที่ผลิตผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ 100% เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อนและสอดคล้องกับ UN sustainability goal 13: Climate Action ซึ่งมีร้านค้าวางอยู่บนแพลตฟอร์ม Shopee Thailand

ประสบการ์ณที่ได้เรียนรู้จากการเขียนหนังสือ

คำถามที่ดีมากเลยครับ สำหรับผมการเขียนหนังสือทำให้ผมได้เข้าใจถึงกระบวนตั้งแต่ต้นจนจบของการเขียน จนกระทั่งการพิมพ์ออกมาเป็นเล่มเลยครับ ได้ทักษะการเรียนรู้เกี่ยวกับการหาข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ต่อว่าข้อมูลไหนเชื่อถือได้ หรือข้อมูลส่วนไหนเชื่อไม่ได้

อีกทั้งยังได้ฝึกฝนหาประเด็นจากข้อมูลที่เราการอ่าน และกว่าจะออกมาเป็นหนังสือหนึ่งเล่มไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับ ต้องมีเนื้อหาบริบทที่ดี คำโปรยที่จูงใจนักอ่าน ต้องมีความอดทนที่พร้อมจะแก้ไขทุกบท ทุกหน้า ทุกสิ่งเกี่ยวกับการเขียนที่ผมเล่ามาทำให้เข้าใจนักเขียนอาชีพมากขึ้นเลยครับ

กว่าจะออกมาเป็นหนังสือหนึ่งเล่มไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับ ต้องมีทั้งเนื้อหาบริบทที่ดี คำโปรยที่จูงใจนักอ่าน และมีความอดทนที่พร้อมจะแก้ไขทุกบท ทุกหน้า ทุกสิ่งเกี่ยวกับการเขียนที่ผมเล่ามาทำให้เข้าใจนักเขียนอาชีพมากขึ้นเลยครับ

ก้าวต่อไปในอนาคตอันกว้างใหญ่

ตอนนี้กำลังวางแผนที่จะไปศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยชั้นนำที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ และประสบการณ์ทางการเงินการลงทุนเชิงลึก เผื่อในวันข้างหน้ามีเป้าหมายไว้ว่าจะเป็น ‘ผู้จัดกองทุน’ ที่บริหารเงินของคนไทยให้มีความมั่งคั่งยิ่งขึ้น