สรุปเหตุการณ์โดยละเอียดความรุนแรงของสงครามกลางเมือง “ประเทศนิวแคลิโดเนีย” หนึ่งในประเทศที่มีคนไทยอาศัยอยู่หลายร้อยคน แต่คนไทยดันแทบไม่รู้จัก ซึ่งช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2024 เกิดความขัดแย้งโดยกลุ่มหัวรุนแรงที่ต้องการแยกประเทศออกจากการปกครองของฝรั่งเศส จนรัฐบาลฝรั่งเศสต้องส่งกองกำลังเข้ามาควบคุมสถานการณ์

ย้อนประวัติประเทศนิวแคลิโดเนีย

New Caledonia Barrier Reef – Horizon ภาพโดย Eustaquio Santimano

New Caledonia ซึ่งคนไทยอ่านว่า นิวแคลิโดเนีย เป็นประเทศที่เป็นหนึ่งในลากูนที่ใหญ่ที่สุดในโลก สภาพภูมิประเทศคือเป็นเกาะทรงขนมปังบาแก็ต ล้อมรอบด้วยแนวปะการังขนาดยักษ์ ทำให้สีสันของน้ำทะเลสวยงามไล่สีกราเดียนต์ตั้งแต่น้ำเงินเข้มมาจนเขียวอ่อน สวยแบบส๊วยยยยย

นอกจากนั้นด้วยธรรมชาติที่งดงาม แนวปะการังยังได้รับการอนุรักษ์เป็นมรดกโลกของยูเนสโกอีกด้วย พิกัดที่ตั้งอยู่คือทวีปซีแลนเดีย บางครั้งดูแผนที่โลกก็หาไม่ค่อยเจอ เพราะมันหลุดออกมา อยู่เยื้องไปทางตะวันออกของออสเตรเลีย และทางเหนือของนิวซีแลนด์ ใกล้ประเทศวานูอูตู

ตำแหน่งของประเทศนิวแคลิโดเนีย ซึ่งมีเพื่อนบ้านเป็นออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์

ยุคล่าอาณานิคม

ในปี 1774 ในยุคของเจมส์ คุก ประเทศถูกค้นพบและตั้งชื่อว่านิวแคลิโดเนีย แต่ถูกล่าอาณานิคมในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส สร้างความโกรธแค้นให้คนพื้นเมืองที่เรียกตนเองว่าคะนักกี้

ภาพโดย Ted McGrath

มีการปะทะกันเรื่อยมา แต่ประเทศก็ถูกหล่อหลอมด้วยประวัติศาสตร์ใหม่ร้อยกว่าปี ด้วยผู้คนจากหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวเกาะเองจำนวนแสนกว่าคน ชาวฝรั่งเศส คนเวียดนาม คนเมลานีเชียน วอลลานีเชียน ทะฮิเชียน คนอินโด คนไทย รวมมากกว่าสองแสนหกหมื่นคน

Kanaky

โดยปกติคนพื้นเมืองที่นี่มีราว ๆ 30 กลุ่ม และใช้ภาษาที่แตกต่างกันราว 30 ภาษา โดยใช้ภาษากลางคือฝรั่งเศส โดยพื้นฐานคนที่นี่ใจดี รักสงบ อยู่ร่วมกันกับต่างชาติเป็นอย่างดี แต่ก็มีกลุ่มที่ชอบใช้ความรุนแรงและต้องการแบ่งแยกดินแดนอยู่จำนวนหนึ่ง ที่สร้างปัญหาให้กับประเทศในรอบนี้

ภาพโดย Sentinel Hub

การโหวตเพื่อเป็นเอกราช

นิวแคลิโดเนียมีการโหวต ในวันที่ครบรอบการเป็นเมืองขึ้นอันไกลโพ้นของประเทศฝรั่งเศส เรียกว่า “Referendum” โดยข้อตกลงคือโหวตถึงสามครั้ง ว่าประเทศจะเป็นอิสรภาพไหม ถ้ามีครั้งใดครั้งหนึ่ง ที่ผลโหวตคือออกจากการปกครองของฝรั่งเศส เรื่องคือจบ ประเทศเป็นอิสรภาพทันที แต่ผลคือ แพ้ถึง 3 รอบ เพราะประชากรส่วนมากในประเทศยังอยากเป็นฝรั่งเศสอยู่ สร้างความโกรธแค้นและชิงชังให้คนพื้นเมืองเป็นอย่างมาก

คืนนองเลือดพฤษภาทมิฬ

เหตุการณ์ทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในวันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม หลังจะมีการโหวตชื่อ “Corps Electoral” ที่จะอนุญาตให้คนที่อาศัยที่นี่ตั้งแต่ปี 2014 สามารถใช้สิทธิในการเลือกตั้งเหมือนกับคนเกิดที่นี่ จากสมัยก่อนต้องอยู่ที่นี่ตั้งแต่ก่อนปี 1998 ถึงจะมีสิทธิโหวต ซึ่งขนาดใช้กติกาเดิม ฝั่งอยากเป็นฝรั่งเศสต่อก็ชนะขาดลอยอยู่แล้ว เลยทำให้กลุ่มคนพื้นเมืองที่หัวรุนแรงไม่พอใจเป็นอย่างมาก

กลุ่มต้องการเป็นอิสรภาพก็เลยเข้ามาในเมืองหลวงที่อยู่ในฝั่งใต้ มีการปิดถนน บุกเข้ามาในเมือง วางเพลิงสถานที่สำคัญต่าง ๆ ทั้งห้างร้าน โรงงาน ร้านค้า สถานที่ราชการ โรงเรียน และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยที่ประเทศไม่มีกองกำลังเพียงพอในการปกป้องประเทศ ผู้คนเต็มไปด้วยความสิ้นหวังที่ประเทศที่เรารักถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง ผู้คนไม่มีอาหารกิน อยู่บ้านด้วยความหวาดกลัวว่าเมื่อไหร่จะถึงคิวของตนเอง คืนวันนั้นเต็มไปด้วยเสียงปืน เสียงกรีดร้อง เสียงเพลิงปะทุจากการก่อวินาศกรรม

ประกาศเคอร์ฟิวในคืนที่สอง

รัฐประกาศห้ามคนออกนอกบ้านในวันที่ 14 พฤษภาคม ผู้คนโศกเศร้าและหวาดกลัว เพราะไม่มีทหารหรือตำรวจเพียงพอ การห้ามคนออกนอกบ้าน ยิ่งทำให้การวางเพลิงเป็นไปได้ง่ายขึ้น และมีการออกปล้นสะดมร้านค้าจำนวนมาก แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ก่อการร้าย บางคนก็ยากจนและฉวยโอกาส ค่าครองชีพที่นี่แพงมากจริง ๆ แพงกว่ายุโรปอีกนะ

สื่อหลักแทบไม่รายงานอะไร ผู้คนต้องติดตามข่าวผ่านกลุ่ม Facebook Whatsapp Telegram และ TikTok ซึ่งแอปฯ หลังถูกบล็อกจากทางราชการเรียบร้อย เพราะถูกใช้ในการปั่นป่วนจากกลุ่มวัยรุ่นในการสร้างเฟกนิวส์และปลุกปั่น

15 พฤษภาคม วันที่ชาวบ้านจับปืนสู้

โดยปกติ คนที่นี่ค่อนข้างรักสงบ ถ้าเหตุการณ์รุนแรงอย่างก่อม็อบ ปิดถนน หรืออะไรเล็กน้อย เขาอดทนอยู่นิ่ง ๆ กันมากเลย ไม่มีคนมาเก็บขยะหลายสัปดาห์ยังทน ถ้าเป็นไทยคงด่ากันเปิง เพราะได้รับความเดือดร้อน

แต่รอบนี้เมื่อสถานที่สำคัญถูกทำลาย บ้านคนเริ่มกลายเป็นเป้าหมายการโจมตี ผู้คนก็เริ่มไม่ไหว ตั้งกลุ่ม “Milice” เพื่อช่วยป้องกันพื้นที่ของตนเอง มีการตั้งบังเกอร์ ตะปูเรือใบ สิ่งกีดขวางในตอนกลางคืน ไม่ให้ใครเข้าออกพื้นที่ เลยทำให้คนแก่และเด็กนอนหลับกันอย่างสบายใจ แค่ใครแปลก ๆ เข้ามา บีบแตรกันสนั่น เที่ยงคืนยังวิ่งกันตาแตกออกมาพร้อมอาวุธครบมือเพื่อป้องกันตัวเอง เลยทำให้ผ่านคืนนี้มาได้อย่างอย่างลำบากแต่อบอุ่น ส่วนโรงเรียนและคลินิกยังถูกลอบวางเพลิงอยู่เป็นระยะ เริ่มมีคนเสียชีวิต ทั้งผู้ก่อการร้ายและตำรวจ

ประธานาธิบดีฝรั่งเศสประกาศ “State of Emergency”

หลังเหตุการณ์ทวีความรุนแรงอย่างบ้าคลั่ง ในที่สุดช่วงวันที่ 15 เข้าวันที่ 16 พฤษภาคม ประเทศก็เข้าสู่ภาวะฉุกเฉิน เมื่อ Emmanuel Macron ประธานาธิบดีฝรั่งเศสประกาศ “L’état d’urgence” มีการส่งกองกำลัง GIGN ที่เป็นทหารคุมฝูงชนและถูกฝึกมาโดยเฉพาะเกือบหนึ่งพันคนเข้ามาควบคุม แต่กลุ่มผู้ไม่พอใจมีมากถึง 8,000 คนก็ไม่รู้ว่าจะต้านกันได้นานแค่ไหน และสูญเสียกันอีกเท่าไหร่ ยังไม่รวมผู้คนฝั่งฝรั่งเศสที่นานวันจะไม่เหลืออาหารให้กินอีกด้วย

ถึงแม้วันที่ 17 พฤษภาคม จะมีข่าวจากรัฐบาลฝรั่งเศสว่าได้ส่งกองกำลังรวมทหารและตำรวจกว่า 2,000 นาย แต่ผู้คนในนิวแคลิโดเนียต่างตั้งคำถามว่า ทหารอยู่ไหน เรามีแต่ช่วยคุ้มกันปกป้องดูแลกันเอง ไม่เห็นทหารสักราย และเริ่มมีการปล่อยข่าวลือให้คนในประเทศเกลียดกัน เช่น คนในเมืองอยู่ดี กินดี เที่ยวทะเล เข้าบาร์ ทั้งที่ความเป็นจริงแทบไม่ต่างจากเมืองร้าง การขาดแคลนสื่อหลัก ที่รายงานข่าวด้วยความเป็นจริง เลยทำให้ผู้คนขาดการคัดกรองแหล่งข่าวสารที่ดี และทำให้ปลุกปั่นกันได้ง่ายเพราะต่างคนต่างเครียดไปด้วยความสิ้นหวัง

ซึ่งเรื่องราวนี้ยังไม่จบ เรายังคงติดตามการรายงานจากคุณสรปุก จากนิวแคลิโดเนียต่อไป